ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ศาลเจ้าจุ้ยตุ่ย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Surasit.khunsong (คุย | ส่วนร่วม)
Surasit.khunsong (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 11:
ต่อมาคณะงิ้วดังกล่าวได้เดินทางมาถึงจังหวัดภูเก็ต ก็ได้เริ่มทำการแสดงที่ซอยรมณีย์ทางด้านวัดมงคลนิมิต (ซึ่งคนพื้นเมืองของจังหวัดภูเก็ตเรียกซอยรมณีย์ว่า อ่างอ่าหล่าย) คณะงิ้วได้มาอยู่ที่จังหวัดภูเก็ตนานพอประมาณ ระหว่างที่คณะงิ้วอยู่ภูเก็ตนั้นจัดได้ว่าให้มีพิธีกินผัก(กินเจ) กัน ซึ่งพวกงิ้วได้ถือปฏิบัติสืบอายุเป็นตอน ๆ มา พิธีการกินเจ คือ เริ่มขึ้นในเดือน 11 ขึ้น 1 ค่ำ (เก้าโง้ยโช่ยอีด) ก่อนถึงวันกินเจพวกงิ้วจะปัดกวาด ล้างชำระสถานที่เครื่องใช้ หม้อข้าว ถ้วยชาม และสิ่งของที่จะประกอบในพิธีให้สะอาด ผู้ที่จะเข้าร่วมในพิธีจะต้องแต่งตัว นุ่งขาว ในพิธีการกินเจมีทั้งหมด 9 วัน 9 คืน
 
ในสมัยนั้นก็มีพี่น้องชาวภูเก็ต ทั้งคนจีน และคนไทย ก็ได้เข้าร่วมในพิธีการถือศีลกินเจกับคณะงิ้วด้วย พี่น้องชาวภูเก็ตของเราก็ได้ศึกษา ปฏิบัติ พิธีการต่าง ๆ ตั้งแต่วันเริ่มงานกินเจจนเสร็จพิธี ในพิธีการกินเจนี้ เขาจะมีพิธีขึ้นเสาโกเต้ง มีตะเกียงน้ำมัน 9 ดวงซึ่งเป็นสัญญาลักษณ์สัญลักษณ์ของพิธีการกินเจได้เริ่มขึ้นแล้วในพิธีการกินเจก็มีการประทับทรงพระทำพิธี ลุยไฟ สงเดาะสะเดาะเคราะห์อาบน้ำมันซึ่งกำลังเดือด พิธีไหว้เทวดา มีการแห่ขบวนไปตามถนนสายต่าง ๆ พอครบกำหนด 9 วัน 9 คืน ก็เป็นอันเสร็จพิธีการกินเจ
 
เมื่อพวกงิ้วหมดธุรการแสดงงิ้ว ต่างก็เก็บข้าวของเตรียมจะเดินทางกลับภูมิลำเนาของตน หัวหน้าคณะของงิ้วได้พิจารณาเห็นว่าพี่น้องชาวภูเก็ตทั้งคนจีนและคนไทยมีความเลื่อมใสศรัทธาในพิธีการถือศีล กินเจ เขาก็ได้อัญเชิญเชิญ'''เฮี้ยวโห้ย''' ( ไฟศักดิ์สิทธิ์ ) และสิ่งของต่าง ๆ ซึ่งจะในพิธีการกินเจ ให้ไว้กับพี่น้องชาวภูเก็ตไว้ดำเนินพิธีการกินเจต่อไปพี่น้องชาวภูเก็ตต่างพร้อมใจกันจัดตั้งเป็นศาลเจ้าขึ้นที่อ่างอ่าหล่าย (ซอยรมณีย์)
 
ต่อมาได้เกิดไฟไหม้จากบริเวณบ้านเรือนจึงลามมายังบริเวณศาลเจ้า ชาวบ้านจึงได้อันเชิญ'''เฮี้ยวโห้ย''' ( ไฟศักดิ์สิทธิ์ ) มาฝากไว้ยังศาลเจ้าปุดจ้อ และเมื่อถึงเวลากินผักก็จะอันเชิญมายังศาลเจ้าชั่วคราวที่ชาวบ้านช่วยกัยสร้างขึ้น ณ สวนพูข้างศาลเจ้าปุดจ้อ ต่อมาเจ้าของสวนพูได้ถวายที่ดินแปลงนี้ให้ '''"กิวอ๋องไต่เต่"''' สร้างเป็นศาลเจ้าจุ้ยตุ่ย ซึ่งหลังแรกได้สร้างด้วยเป็นหลังคามุงจาก ในปี พ.ศ. 2454 ต่อมาเมื่อในปี พ.ศ. 2525 ชาวบ้านเข้าร่วมพิธีถือศีลกินผักมากขึ้น จึงได้ร่วมใจกันบริจาคทรัพย์เพื่อพัฒนาศาลเจ้ามาตราบจนปัจจุบัน และเปลี่ยนมาเป็น '''มูลนิธิ จุ้ยตุ่ย เต้าโบ้เก้ง'''