ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภาธร ศรีกรานนท์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
NongBot (คุย | ส่วนร่วม)
แก้คำด้วยบอต
บรรทัด 109:
 
== '''ประวัติวงดนตรี อ.ส.วันศุกร์ วงดนตรีส่วนพระองค์''' ==
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นศิลปินผู้เพียบพร้อมด้วยพระปรีชาสามารถในการสร้างสรรค์ดนตรี เมื่อเสด็จนิวัตประเทศไทยใน พ.ศ. ๒๔๙๔ แล้วประทับที่พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต เพราะระหว่างนั้นมีการก่อสร้างเพิ่มเติมพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ได้ทรงรวบรวมพระประยูรญาติบางองค์และคนสนิทมาเล่นดนตรีกันและพระราชทานชื่อวงนี้ว่า “วงลายคราม” ขึ้นเป็นวงดนตรีส่วนพระองค์วงแรก มีสมาชิกของวงหลายท่าน เช่นหม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์, หม่อมเจ้าวิมวาทิตย์ รพีพัฒน์, หม่อมเจ้าแววจักร จักรพันธ์, หม่อมเจ้า กัมปลีสาน ชุมพล, หม่อมเจ้าชมปกบุตร ชุมพล, หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช, หม่อมราชวงศ์พงษ์อมร กฤดากร, หม่อมหลวงอุดม สนิทวงศ์, หม่อมหลวงประพันธ์ สนิทวงศ์, นายสุรเทิน บุนนาค และนายแมนรัตน์ ศรีกรานนท์ ตามลำดับ มาร่วมเล่นดนตรี ณ พระที่นั่งอัมพรสถานทุกเย็นวันศุกร์ นักร้องประจำวงมี หม่อมเจ้ามูรธาภิเศก โสณกุล และ หม่อมเจ้าขจรจบกิติคุณ กิติยากร ใน พ.ศ. ๒๔๙๕ กรมประชาสัมพันธ์ได้น้อมเกล้าฯ ถวายเครื่องส่งวิทยุกำลังส่ง ๑๐๐ วัตต์ ซึ่งมีทั้งคลื่นสั้นและคลื่นยาว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงตั้ง “สถานีวิทยุ อ.ส.” ขึ้นที่พระที่นั่งอัมพรสถาน (ตัวอักษรย่อ อ.ส. ทรงนำมาจากคำว่า พระที่นั่งอัมพรสถาน) เพื่อใช้เป็นสื่อกลางให้ความบันเทิงและสาระประโยชน์ ตลอดจนข่าวสารต่าง ๆ แก่ประชาชน ปัจจุบันสถานีวิทยุ อ.ส. ได้ย้ายมาตั้งในบริเวณสวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต ต่อมา มีการปรับปรุงวงดนตรีลายคราม เนื่องจากนักดนตรีกิตติมศักดิ์เหล่านั้นเริ่มทรงพระชรามากขึ้น ไม่สามารถมาร่วมเล่นดนตรีได้อย่างเต็มที่ จนเหลือแค่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ,หม่อมเจ้าชมปกบุตร ชุมพล, หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช, หม่อมราชวงศ์พงษ์อมร กฤดากร, หม่อมหลวงประพันธ์ สนิทวงศ์ และนายแมนรัตน์ ศรีกรานนท์ เท่านั้น นายแมนรัตน์ ศรีกรานนท์ จึงได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตหานักดนตรีเข้ามาถวายงานเพิ่มเติมจนครบวงให้สามารถเล่นต่อไปได้ ต่อมาจึงได้รับพระราชทานชื่อวงใหม่นี้ว่า “วงดนตรี อ.ส.วันศุกร์” พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงดนตรีกับ วง อ.ส.วันศุกร์ บรรเลงออกอากาศทางสถานีวิทยุ อ.ส.เป็นประจำทุกวันศุกร์ ทรงจัดรายการเพลง และทรงเลือกแผ่นเสียงเอง บางครั้งโปรดเกล้าฯ ให้ผู้ฟังโทรศัพท์ขอเพลงจากวงดนตรีที่กำลังบรรเลงได้ด้วย ปัจจุบันนี้ วงดนตรี อ.ส. วันศุกร์ มีอายุ ๕๐ ปีเต็มย่างเข้า ๕๑ ปีแล้ว
 
'''สมาชิกวงดนตรี อ.ส.วันศุกร์ สมัยแรก ๆ '''นั้น ได้แก่ หม่อมเจ้าชุมชมปกบุตร ชุมพล,หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช, หม่อมราชวงศ์พงษ์อมร กฤษดากร, หม่อมหลวงประพันธ์ สนิทวงศ์, พลเรือตรีหม่อมหลวงอัศนี ปราโมช (องคมนตรี) , เรืออากาศตรี ศาสตราจารย์พิเศษ ดร. แมนรัตน์ ศรีกรานนท์ (ศิลปินแห่งชาติ) , หม่อมหลวงเสรี ปราโมช, เรือตรี อวบ เหมะรัชต์, นายเดช ทิวทอง, นายดำเกิง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา,นายไพบูลย์ ลีสุวัฒน์, นายเสนอ ศุขะบุตร, นายนนท์ บูรณสมภพ, นายกวี อังศวานนท์, นายสุวิทย์ อังศวานนท์, นายถาวร เยาวขันธ์, พลโท ทพ.ทวีศักดิ์ ทวีศรี, นายสันทัด ตัณฑนันทน์, นายอุทิตต์ ทินกร ณ อยุธยา, นายเกษม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา, นายพัลลภ สุววรณมาลิก และที่เข้ามาภายหลังได้แก่ นายธรรมรักษ์ ทินกร ณ อยุธยา, นายอนิรุธ ทินกร ณ อยุธยา , ดร. ภาธร ศรีกรานนท์ และ พลตำรวจเอก เสริม จารุรัตน์ ตามลำดับ
 
'''ส่วนนักร้องที่เคยร้องอยู่ในวง''' ได้แก่ ท่านผู้หญิงสาวิตรี ศรีวิศารวาจา, คุณหญิงจามรี สนิทวงศ์ ณ อยุธยา, ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร. คุณกัญดา ธรรมมงคล, ท่านผู้หญิงสุวรี เทพาคำ, นางจีรนันท์ เศวตนันท์, นาวาอากาศเอกอภิจิต ศุกระจันทร , นางสารา เกษมศรี, นางพรศรี สนิทวงศ์, คุณหญิงทองทิพย์ รัตนะรัตน์ เป็นต้น ( ปัจจุบันไม่มีนักร้องแล้ว )
บรรทัด 118:
'''นักดนตรี อ.ส.วันศุกร์ ณ ปัจจุบัน''' ได้แก่ พลเรือตรีหม่อมหลวงอัศนี ปราโมช (ศิลปินแห่งชาติ และ องคมนตรี) (ทรัมเป็ต) ,เรืออากาศตรี ศาสตราจารย์พิเศษ ดร. แมนรัตน์ ศรีกรานนท์ (ศิลปินแห่งชาติ) (เปียโน) , พลโท ทันตแพทย์ ทวีศักดิ์ ทวีศรี (ทรัมเป็ต) ,นายนนท์ บูรณสมภพ (บาริโทนแซกโซโฟน) ,นายถาวร เยาวขันธ์ (กลอง) ,นายกวี อังศวานนท์ (เทเนอร์แซกโซโฟน) ,นายสุวิทย์ อังศวานนท์(ทรอมโบน), นายพัลลภ สุววรณมาลิก(ทรอมโบน),นายสันทัด ตัณฑนันทน์ (ทรอมโบน) ,นายอนิรุธ ทินกร ณ อยุธยา (เบส) และ ดร. ภาธร ศรีกรานนท์ (อัลโตแซกโซโฟน )
 
<!-- ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด กรกฏาคมสิงหาคม 2549 โดย น.ส. ปฤณ สุภัควณิช -->
 
==ลิงก์ภายนอก==