ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิชา มหาคุณ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 4:
 
นายวิชา จบการศึกษาปริญญาตรีและโท จาก[[คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]] เนติบัณฑิตไทย ปริญญาโทรัฐศาสตร์มหาบัณฑิต [[มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]] ปริญญาบัตรการป้องกันราชอาณาจักร[[วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่41]]ประกาศนียบัตรการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยสำหรับนักบริหารระดับสูง รุ่นที่ 11 (สถาบันพระปกเกล้า) นิติศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์พิเศษ แห่ง คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เคยได้รับทุน จากมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ ให้ทำการศึกษาวิจัยเรื่อง "การเผยแพร่ความรู้กฎหมายไปสู่ชนบท"ณ ศูนย์ศึกษาเมืองเบลลาจิโอ ประเทศอิตาลี
กับได้รับทุนจากองค์การอนุเคราะห์เด็กแห่งนอรเวย์ ให้ศึกษาวิจัยเรื่อง "การทารุณกรรมเด็ก" รวมทั้งได้รับทุนฝึกอบรมด้านบำบัดผู้ติดยาเสพติด ณ นครนิวยอร์ก จากองค์การเดท็อป แห่ง สหรัฐอเมริกา และผ่านการศึกษาหลักสูตร Cambridge-Thammasat Executive Education Programme ณ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ
 
นายวิชา เริ่มรับราชการครั้งแรกในตำแหน่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ต่อมาได้โอนไปรับราชการเป็น พนักงานอัยการ ตำแหน่งสุดท้ายก่อนไปเป็นตุลาการ คือ อัยการจังหวัดผู้ช่วยจังหวัดกำแพงเพชร ส่วนตำแหน่งในทางตุลาการเคยดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาศาลจังหวัดแพร่ ผู้พิพากษาประจำกระทรวงช่วยทำงานทำเนียบนายกรัฐมนตรี ทำหน้าที่เลขานุการส่วนตัวนายกรัฐมนตรี(นายธานินทร์ กรัยวิเชียร)ผู้อำนวยการกองพิทักษ์ทรัพย์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลคดีเด็กและเยาวชนจังหวัดอุบลราชธานี ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดอุบลราชธานี เลขานุการศาลฎีกา ขณะดำรงตำแหน่งเลขานุการศาลฎีกาได้ถูกคำสั่งรัฐมนตรีว่าการ[[กระทรวงยุติธรรม]]ให้ออกจากราชการ เมื่อ พ.ศ. 2535 ด้วยข้อหาขัดคำสั่งรัฐมนตรี เมื่อครั้งเกิดกรณี "[[วิกฤตตุลาการ]]" แต่ได้ทูลเกล้าถวายฎีกาคัดค้านคำสั่งดังกล่าว ในที่สุดพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโดยมีพระราชกระแสว่า ไม่สมควรออกจากราชการ รัฐมนตรีจึงมีคำสั่งยกเลิกคำสั่งที่ให้ออกจากราชการ ดังนั้นนายวิชาจึงยังคงดำรงตำแหน่งตุลาการเช่นเดิม ต่อมาจึงได้รับโปรดเกล้า ฯให้ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ รองอธิบดีผู้พิพากษาภาค1 รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัว ผู้พิพากษาศาลฎีกา ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา ประธานศาลอุทธรณ์ภาค2และภาค1ตามลำดับ กับได้รับเลือกตั้งให้เป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ผู้ทรงคุณวุฒิ สองสมัย ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์มหาวชิรมงกุฎ และมหาปรมาภรณ์ช้างเผือก [กรณีวิกฤตตุลาการ นายวิชาได้บันทึกไว้ในหนังสือชื่อ บันทึกประวัติศาสตร์ 100ปี กระทรวงยุติธรรม"การต่อสู้เพื่อความเป็นอิสระแห่งอำนาจตุลาการ กรกฎาคม 2534-มีนาคม 2535"]