ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Drboon (คุย | ส่วนร่วม)
Drboon (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 2:
[[ไฟล์:Magellan GPS Blazer12.jpg|thumb|250px|เครื่องรับสัญญาณจีพีเอส แมเกลลัน เบลเซอร์]]
 
'''ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลกหรือจีพีเอส''' (Global Positioning System - GPS) หมายถึง ระบบบอกตำแหน่งบนพื้นผิวโลก โดยอาศัยการคำนวณ[[พิกัด ยูทีเอ็ม (UTM)]] จากสัญญาณนาฬิกาที่ส่งมาจาก[[ดาวเทียม]]ที่โคจรอยู่รอบโลก ซึ่งมีทราบตำแหน่งที่แน่นอน ทำให้ ระบบนี้สามารถบอกตำแหน่ง ณ จุดที่สามารถรับสัญญาณได้ทั่วโลก โดยเครื่องรับสัญญาณจีพีเอส รุ่นใหม่ๆ จะสามารถคำนวณ[[ความเร็ว]]และ[[ทิศทาง]]นำมาใช้ร่วมกับ[[โปรแกรม]][[แผนที่]] เพื่อใช้ในการนำทางได้
 
แนวคิดในการพัฒนาระบบจีพีเอส เริ่มต้นตั้งแต่ปี [[ค.ศ. 1957]] เมื่อนักวิทยาศาสตร์ของ[[สหรัฐอเมริกา]] นำโดย Dr. Richard B. Kershner ได้ติดตามการส่ง[[ดาวเทียมสปุตนิก]]ของ[[โซเวียต]] และพบ[[ปรากฏการณ์ดอปเปลอร์]]ของ[[คลื่นวิทยุ]]ที่ส่งมาจากดาวเทียม พวกเขาพบว่าหากทราบตำแหน่งที่แน่นอนบนพื้นผิวโลก ก็สามารถระบุตำแหน่งของดาวเทียมได้จากการตรวจวัดดอปเปลอร์ และหากทราบตำแหน่งที่แน่นอนของดาวเทียม ก็สามารถระบุตำแหน่งบนพื้นโลกได้ ในทางกลับกัน
บรรทัด 10:
เมื่อ [[ค.ศ. 1983]] หลังจากเกิดเหตุการณ์[[โคเรียนแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 007]] ของ[[เกาหลีใต้]] บินพลัดหลงเข้าไปในน่านฟ้าของ[[สหภาพโซเวียต]] และถูกยิงตก ผู้โดยสาร 269 คนเสียชีวิตทั้งหมด [[ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา|ประธานาธิบดี]][[โรนัลด์ เรแกน]]ได้ประกาศว่า เมื่อพัฒนาระบบจีพีเอสแล้วเสร็จ จะอนุญาตให้ประชาชนทั่วไปใช้งานได้
 
ดาวเทียมจีพีเอส เป็นดาวเทียมที่มีวงโคจรต่ำระดับกลาง (Medium Earth Orbit: MEO) ที่ระดับความสูง 20200km (11,000 ไมล์)จากพื้นโลก ใช้การยืนยันตำแหน่งโดยอาศัยพิกัดจากดาวเทียม 3 หรืออย่างน้อย 4 ดวง ดาวเทียมจะโคจรรอบโลกเป็นเวลา 12 ชั่วโมงต่อหนึ่งรอบ ที่ความเร็ว 4 กิโลเมตร/วินาที การโคจรแต่ละรอบนั้นสามารถได้เป็น 6 ระนาบๆ ละ 4 ดวง ทำมุม 55 องศา โดยทั้งระบบจะต้องมีดาวเทียม 24 ดวง หรือมากกว่า เพื่อให้สามารถยืนยันตำแหน่งได้ครอบคลุมทุกจุดบนผิวโลก ปัจจุบัน เป็นดาวเทียม GPS Block-II มีดาวเทียมสำรองประมาณ 4-6 ดวง