ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ศิวนาฏราช"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Malakoa (คุย | ส่วนร่วม)
Malakoa (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 20:
==== นาฏศิลป์ ====
ภาพการร่ายรำของพระศิวะนับว่ามีบทบาทสำคัญในคติความเชื่อของผู้ที่นับถือศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย ตามตำนานระบุว่าการร่ายรำของพระศิวะเป็นที่เลื่องลือและยกย่องของเหล่าเทพทั้งมวลถึงความสวยงามและน่ายำเกรงในที ในจังหวะลีลาอันเป็นสัญลักษณ์แห่งการเนรมิตสร้างสรรค์ ( Symbolizing Rhythm of Creation )
การร่ายรำนี้ภายหลัง[[พระภรตมุนี]]ได้ทราบ จึงขอร้องให้พระพิฆคเณศไปกราบบังคมทูลให้พระศิวะซึ่งเป็นพระราชบิดาร่ายรำอีกครั้งเพื่อจะได้จารึกท่าการร่ายรำนี้เป็นบทนาฎยศาสตร์สืบไป พระศิวะท่านจึงได้ร่ายรำให้ชมอีกและได้เรียกเหล่าเทพเทวดาทั้งปวงมาชมพระองค์ร่ายรำอีกครั้ง<br />
บางตำนานกล่าวว่า[[พระยาอนันตนาคราช]]ได้ชมการร่ายรำนี้เมื่อองค์พระอิศวรท่านร่ายรำหลังจากปราบฤาษีผู้ฝ่าฝืนเทวบัญญ้ติ และปราถนาจะได้ชมอีก อองค์พระนารายณ์ได้ประทานคำแนะนำให้ไปบำเพ็ญตบะที่เชิงเขาไกรลาสเพื่อบูชาองค์พระศิวะ ด้วยอำนาจแห่งการบูชานี้ องค์พระศิวะจึงโปรดประทานพรให้ และถามในสิ่งที่พระยานันตนาคราชปราถนา พระยานาคราชจึงกราบทูลว่าอยากจะได้เห็นองค์พระศิวะร่ายรำอีกสักครั้ง พระศิวะก็โปรดประทานดังปราถนา และได้เสด็จลงมาร่ายรำยังมนุษยโลก ซึ่งเชื่อกันว่าสถานที่นั้นคือ วิหาร จิทัมพรัม ในรัฐทมฬนาดูทมิฬนาดู ประเทศอินเดีย<br />
ท่าฟ้อนรำทั้ง 108 ท่าขององค์พระศิวะนี้เป็นท่าพื้นฐานสำหรับวิชานาฎยศาสตร์ อันเป็นท่ารำต้นแบบของชาวอินเดีย และแพร่หลายมาถึงเขมร และไทย ผู้รับอิทธิพลด้านวัฒนธรรมของอินเดียสืบต่อมา
ผู้ที่นับถือศาสนาฮินดูนั้นเชื่อว่าจังหวะการร่ายรำของพระศิวะอาจบันดาลให้เกิดผลดีและผลร้ายแก่โลกได้ ฉะนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องอ้อนวอนให้พระองค์ฟ้อนรำในจังหวะที่พอดี โลกจึงจะร่มเย็นเป็นสุข หากพระองค์โกรธกริ้วด้วยการร่ายรำในจังหวะที่รุนแรงแล้วก็ย่อมจะนำมาซึ่งภัยพิบัติแก่โลกนานัปการ
 
==== ดุริยางคศิลป์ ====
กลองในพระหัตถ์ของพระศิวะในปางศิวะนาฏราชนี้ เป็นกลองสองหน้า เอวตรงกลางคอด มีลูกตุ้มยึดกับสายสำหรับใช้กระทบหน้ากลองทั้ง 2 ข้าง กลองนี้เรียกว่ากลอง ทมรุ ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีเพียงชิ้นเดียวที่องค์พระอิศวรท่านเลือกใช้ประกอบการร่ายรำอันยิ่งใหญ่นี้