ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วาทกรรม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
JAnDbot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: hr:Diskurs
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 21:
 
อย่างไรก็ดีคำว่าวาทกรรมนั้นก็ได้ปรากฏตัวอย่างเต็มรูปแบบในบทความ "ฟุ้งวาทกรรมว่าด้วยอูฐวิทยา" ในจดหมายข่าวสังคมศาสตร์ Vol.11 No.1 1998<ref>[[ธเนศ วงศ์ยานนาวา|Thanes Wongyannava]], "Postmodernization as the Anglo-Americanization of Contemporary French Thought and the Re-Modernization of Postmodern Thai Studies: A Historical Trajectory of Thai Intellectuals", Paper presented at International Conference on Postmodern and Thai Stuides, December 13-14, 2003, Surasammanakan Convention Center, Suranaree University of Technology, Nakhon Ratchasima, Thailand</ref> ซึ่งหลังจากนั้นคำว่าวาทกรรมก็ได้มีการใช้ในวงวิชาการอย่างกว้างขวางขึ้นเรื่อย ๆ และขยายมานอกวงวิชาการในเวลาต่อมา
 
แนวคิดเรื่องชนชายขอบในแวดวงมานุษยวิทยาได้
ให้ความสนใจมากเพราะกลุ่มชนชายขอบมีลักษณาการ
ทางวัฒนธรรมที่แตกต่างไปจากวัฒนธรรมหลัก
เราจะพบว่าปัจจุบันจะมีชนชายขอบที่มีความแตกต่าง
หลากหลายกลุ่ม ไปจนก่อเกิดพหุทางวัฒนธรรมในหลายๆสังคม
บางครั้งคนชายขอบอาจเป็นสิ่งที่ต้องห้าม
หรือมีการเคลื่อนไหวต่อสู้เพื่อเรียกร้องที่จะได้มาซึ่ง สิทธิ
ศักดิ์ศรีที่มีตัวตนในพื้นที่ทางสังคม กรณีเกย์ เลสเบี้ยน
กลุ่มรักร่วมเพศออกมาเคลื่อนไหวให้สังคมยอมรับ บทบาท
และสถานภาพรวมไปถึงสิทธิ หน้าที่
เช่นเดียวกับคนในชาติในฐานะพลเมืองกลุ่มหนึ่งของรัฐ
เพราะกลุ่มคนเหล่านี้ถูกเลือกปฏิบัติในฐานะชนชายขอบนั่นเอง
ฟูโกต์ หรือที่รู้จักในนาม มิเชล ฟูโกต์
เป็นนักปรัชญาประวัติศาสตร์ฝรั่งเศษ
ที่มีความคิดสุดโต่งแยบยลที่สุดในต้นศรรตวรรษที่ 20
แนวคิดของเขาได้เผยให้เห็นถึงโครงสร้างทางประวัติศาสตร์ที่บิดเบือน
จากข้อเท็จจริงผ่านรูป "วาทกรรม" และที่สำคัญวาทกรรมนั้นจะทรงพลานุภาพ
จะต้องเข้าสู่กระบวนการสถาปนา อำนาจ ในการสร้างชุดความรู้ขึ้นมา
สิ่งเหล่านี้คือ สัจจะ ในปริบททางสังคม
กรณีคนบ้ามิได้เกิดขึ้นเพียงเพราะเขาเหล่านั้นบ้า
แต่เกิดขึ้นมีกลุ่มบุคคลที่อ้างชุดความรู้หนึ่งในการจัดนิยาม ความบ้า
และสถาปนาชุดความรู้เหล่านั้นโดยแบ่งแยก คนบ้า และคนปรกติ
ซึ่งมีลักษณาการที่ต่างกัน
เราจึงมิได้บ้าโดยธรรมชาติ แต่กระบวนการทำให้กลายเป็น คนบ้า
ขึ้นอยู่กับอำนาจวินิจฉัยของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเช่นเดียวกับเกย์ เลสเบี้ยน กระเทย
ที่ถูกสร้างนิยามจากกลุ่มคนที่จัดประเภทเพื่อแบ่งแยกระหว่างผู้ที่มีรสนิยมทางเพศต่างเพศ
กับผู้มีรสนิยทางเพศเดียวกัน
การนิยามเหล่านี้จึงต้องอ้างอิงชุดความรู้ทั้งวิทยาศาสตร์
ทั้งในการจำแนกแบบสัตว์สองเพศ หรือผู้มีจิตใจเบี่ยงเบนจากบรรทัดฐาน
ทางสังคมหรือแนวคิดอื่นๆที่เป็นประโยชน์ต่อการจัดจำแนกนิยาม
และสร้างการยอมรับผ่านมิติทางประวัติศาสตร์ บุคคล ผู้มีอำนาจ
ในการสร้างชุดความรู้ จึงสามารถสร้างชุดวาทกรรม ต่างๆเพื่อสร้างอำนาจ
มากดทับ ผู้ที่อยู่ภายใต้อำนาจ สร้างวัฒนรรมหลัก
เพื่อผลักกระแสวัฒนธรรมชายขอบออกไป
จึงพบเห็นคำว่า วัฒนธรรมราษฎ์ กับวัฒนธรรมหลวง
หรือวัฒนธรรมหลักและวัฒนธรรมรอง
โลกทัศน์แบบจัดจำแนกประเภทจากการสร้างชุดวาทกรรมขึ้นมา
จึงมีสารัตถะสำคัญที่ว่าใครพูด มากกว่าที่จะบอกว่า เขาพูดอะไร
เราจึงเลือกที่จะเชื่อวาทกรรม จากบุคคลที่มีอำนาจของการสถาปนา
ชุดความรู้มากกว่าที่จะเข้าใจว่า
ความหมายที่แท้จริงคืออะไรนั่นเอง
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในสังคมไทยคือการเรียกชื่อกล่มชาติพันธุ์ต่างๆ
ล้วนแล้วแต่มีอคติทางวัฒนธรรมแทบทั้งสิ้น
คนหลายคนเรียกกลุ่มมราบริ หรือยุมบริในจังหวัดน่านว่าเป็นผีตองเหลือง
แสดงว่าเราจัดประเภทให้พวกเขาเหล่านั้นไม่ใช่คน
หรือเป็นผู้ที่มีพฤติกรรมประหลาด
การนิยามเหล่านี้ถือเป็นการเหยียดทางวัฒนธรรม
และสร้างให้พวกกลุ่มชนเหล่านั้นเป็นชายขอบ หรือเงาะ้ซาไก
ก็ยังมีความหมายที่ไม่ดี เพราะเราจะหมายถึงคนป่า
หรือคนป่าเถื่อนนั่นเองแสดงว่าเราจำแนกให้พวกเขามีวัฒนธรรมที่ด้อยกว่า
วัฒนธรรมหลัก ในขณะที่กลุ่มของพวกเขาคือเจ้าป่า
คนของแผ่นดินที่เชี่ยวชาญสมุนไพร ในนาม นิกริโต เซมัง
การสร้างวาทกรรมจึงเป็นการต่อสู้ระหว่างอำนาจของกลุ่มที่มีอำนาจ
และกลุ่มผู้อยู่ภายใต้อำนาจ
และประวัติวัติศาสตร์ก็เผยให้เห็นความพ่ายแพ้ของกลุ่มชนเล็กๆ
ที่ถูกผลักให้เป็นชนชายขอบการสถาปนาชุดความรู้ที่เรียกว่า วาทกรรม
จึงเอื้อประโยชน์การสร้างความชอบธรรมในสังคมเพื่อประโยชน์
ต่อการกดขี่ปกครอง หรือระเบียบไว้ควบคุม
ผู้ไร้อำนาจจึงมิอาจต้านทานพลานุภาพเพราะเป็นเสียงจากชนกลุ่มเล็ก
เช่นชนกลุ่มน้อยไร้สิทธิในที่ทำกิน เพราะไม่ใช้เจ้าของมาตุภูมิเพียง
แต่เป็นผู้อบยพมาอาศัยแผ่นดินเพียงเท่านั้น ซึ่งไม่เป็นธรรมอย่างยิ่ง
และยังได้สิทธิความเป็นพลเมืองชั้นสอง
เพียงเพราะพวกเขามีอำนาจที่จะต่อสู้เรียกร้องที่เบาบางกว่ากลุ่มชนหลัก
พวกเขาจึงถูกเอารัดเอาเปรียบในหลายด้าน
และยังขาดโอกาสที่จะได้รับความเสมอภาคและความเท่าเทียมในสังคม
________________________________________________
มิเชล ฟูโกต์ ( Michel Foucault) ได้ให้ความหมายของ
วาทกรรม หมายถึง กระบวนการสร้างความหมายโดยภาษาและสัญลักษณ์ต่างๆ
ที่ดำรงอยู่ในสังคม ประกอบกันเป็นความรู้ ความเข้าใจในเรื่องหนึ่งๆ
ซึ่งส่งผลต่อการกำหนดว่าอะไรคือความรู้ ความจริง และอะไรไม่ใช่
วาทกรรมเป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นโดยสังคมทั้งโดยกลุ่มที่ครองอำนาจ
และกลุ่มที่ต่อต้านอำนาจ จัดเป็นเทคโนโลยีทางอำนาจที่ถูกใช้ทั้งการเก็บกดปิดกั้น
และจัดระเบียบวิถีชีวิตของคนในสังคม แต่ในอีกด้านหนึ่งก็ถูกใช้เพื่อต่อต้านอำนาจ
(Counter discourse) ต่อต้านระเบียบที่วาทกรรมหลักครอบงำอยู่
การวิเคราะห์วาทกรรมทำให้เห็นแง่มุมของอำนาจ
โดยเฉพาะในแง่มุมของความรู้ได้ละเอียดอ่อนยิ่งขึ้น
เมื่อวาทกรรมเป็นสิ่งที่ไม่สามารถอ้างได้ว่ามีผู้ผลิต
ผู้ควบคุมวาทกรรมอย่างชัดเจน อำนาจในแง่มุมของวาทกรรม
เป็นอำนาจที่กระจายตัว แทรกซึมในแนวระนาบ
เชื่อมต่ออย่างหลากหลาย ยากที่จะหาจุดกำเนิด จุดศูนย์กลางของการผลิต
ดังนั้นไม่ว่าผู้กระทำการใดๆ ล้วนตกอยู่ภายใต้วาทกรรมหรือความสัมพันธ์อำนาจ
ในเรื่องความรู้และความจริงด้วยกันทั้งสิ้น
ประเด็นของการวิเคราะห์วาทกรรม ไม่ได้อยู่ที่คำพูดนั้นๆ
เป็นจริงหรือเท็จ แต่อยู่ที่กฎเกณฑ์ชุดหนึ่งที่เป็นตัวกำกับให้การพูดนั้นๆ
เป็นไปได้มากกว่าจะเป็นเรื่องของข้อเท็จจริง
วาทกรรมจึงไม่ใช่เป็นเพียงผลลัพธ์ซึ่งเกิดจากการต่อสู้
เพื่อเปลี่ยนแปลงระบบของการครอบงำ แต่วาทกรรมในตัวของมันเองนั้น
คือการต่อสู้และการครอบงำ ที่มีต่อรูปแบบและวิถีชีวิตของผู้คนในสังคม
 
 
==อ้างอิง==