ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เชียงลาบ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
'''เมืองเชียงลาบ''' (Kenglarp) หรือ "เวียงแคว้นสา" เป็นเมืองเก่าแก่ของ[[ชาวไทลื้อ]]บางครั้งจะเรียกชื่อเมืองโขง หรือ เมืองโขงโค้ง หรือ เวียงแคว้นสา ตั้งอยู่ใน[[แขวงท่าขี้เหล็ก]] [[รัฐฉาน]] [[ประเทศพม่า]] ตรงข้ามกับเมือง[[เชียงกก]] [[ประเทศลาว]] และตั้งอยู่ครึ่งทางระหว่างเมือง[[เชียงแสน]] [[ประเทศไทย]] และ[[เมืองเชียงรุ่ง]] [[สิบสองปันนา]] [[มณฑลยูนนาน]] [[ประเทศจีน]] ตัวเมืองตั้งอยู่ตรงแหลมเชียงลาบ มีเจ้าผู้ครองเมืองตามนามเมืองว่า "เจ้าหลวงเชียงลาบ" ผู้สืบเชื้อสายมาจาก[[ท้าวอ้ายปุง]] (สมเด็จพระเจ้าหอคำเชียงรุ่งที่ 3)ก่อตั้งเมืองโดย'''พญาคำแดง''' ราชบุตรของ[[สมเด็จพระเจ้าหอคำเชียงรุ่งที่ 1]] (พญาเจื๋อง) แห่งราชวงค์อาฬโวสวนตาน เมืองเชียงรุ่ง
 
เชียงลาบซึ่งเป็นบริเวณที่[[แม่น้ำโขง]]ไหลเชี่ยวที่สุด หรือที่เรียกว่า "โขงโค้ง" เป็นแนวบริเวณที่อันตรายที่สุดในการเดินเรือ เนื่องจากเป็นบริเวณที่แม่น้ำโขงไหลลงมาตรงแล้วกระทบกับโขดหินและไหลย้อยกลับขึ้นไปข้างบน จึงทำให้แม่น้ำโขงในบริเวณนี้ไหลแรงและเชี่ยวที่สุดและต้องใช้ความชำนาญสูงในการเดินเรือสินค้า หากมองด้านจุดยุทธศาสตร์การเมือง การคมนาคม และการค้าขายในอดีต เมื่อสองร้อยกว่าปีที่ผ่านมา หากต้องเดินทางเดินทางจากเชียงแสนไปเชียงรุ่ง ต้องหยุดพักตรงนี้ เมื่อมีการหยุดพักแล้วจึงมีคารวานต่าง ๆ มาแลกเปลี่ยนสินค้าในบริเวณดังกล่าว จึงทำให้เชียงลาบกลายเป็นเมืองหน้าด่านสู่ประตูสู่เชียงรุ่งโดยปริยาย
บรรทัด 11:
 
 
อีกความหมายหนึ่งของนามเมือง ซึ่งปรากฏภายหลังในตำนานพญามังรายตามกวางคำ ไปจนถึงเมืองเชียงลาบ แล้วกวางคำนั้นหายไป แล้วหลังจากนั้นพญามังรายได้พาผู้คนบางส่วนมาตั้งบ้านเรือนที่เชียงลาบ และปรากฏหลักฐานว่าสมัยพญามังรายตั้งเชียงแสน เป็นราชธานีนั้น เมืองเชียงลาบเป็นเมืองขึ้นของเชียงแสน
 
 
บรรทัด 18:
หากมองในประวัติศาสตร์ของสยาม นั้นเชียงลาบ ไม่ค่อยคุ้นหู แต่หากพูดถึงเชียงแขง นั้นอาจจะคุ้น เพราะ สมัยเจ้ามหาขนาดดวงแสง นั้นได้ครอบครองดินแดนเมืองเชียงแขง ซึ่งรวมถึงเมืองเชียงลาบด้วย
 
==ตำนานเมืองว่าด้วยพญามังรายตามกวางคำ==
 
'''ตำนานเมืองเชียงลาบ ว่าด้วยพญามังรายตามกวางคำ''' พญามังรายไปเห็นยังบ้านเมืองลวะทั้งหลายก่อนแล ท่านไปทางดอยจอมตุงค์นั้นในปีดับเม็ดศักราชได้ ๖๒๓ ตัวท้าวมังรายเจ้าก็เอาหมู่รี้พลไปถึงเหล่าที่หนึ่ง ก็เห็นยังกวางคำตัวหนึ่ง มันเต้นออกมาหาท้าวมังรายเจ้าก็เอาหมู่ไล่ก็บ่เขิ๊ด กวางตัวนั้นก็แล่นขึ้นไปภายหนเหนือ ท้าวมังรายก็ไล่ตามไปถึงดอยแห่งหนึ่งสุมกันอยู่ดั่งหัวคนนั้น จึงเรียกว่าดอยจอมหงส์ ท้าวมังรายเจ้าอยู่ที่นั้นก็ผ่อดูก็เห็นยังเมืองเขิน คือว่าภูมิที่นี้เป็นอันชุ่มเย็นมีร่มไม้อันกว้างขวางเขียวงาม ก็ชวนลวะทั้งหลายอยู่ แลเขินเสียน้อยหนึ่ง ยังพอสร้างบ้านแปงเมืองให้เป็นลูกช้างหางเมืองควรแท้แล ก็ให้เพื่อนต้องรูปเป็นพรานแบกหอกจูงหมาพาไถ้ไว้ปลายดอยลูกนั้น ไว้ให้เป็นสักขีโบราณ ไว้ ต่อเท่ากาลบัดนี้แล ท้าวมังรายเจ้าก็หนีเสียจากที่นั้นก็ติดไต่ไล่ตามรอยกวางคำ แต่ดอยลูกนั้นไปก็ไปแผ้วสันดอยแห่งหนึ่งเป็นป่าไม้รวกเขาก็ตัดเอาไม้รวกแปงเป็นคันหอกแล้ว เขาก็เรียกว่าบ้านรวกแต่นั้นมาแล ก็หนีจากที่นั้นไต่ตามรอยกวางไปถึงที่อีกแห่งหนึ่ง คันหอกเขา ยาวก็ไปค้างเคิงเสียไปบ่ได้ คนทั้งหลายก็เรียกว่าบ้านเคิงแต่นั้นมาแล กวางตัวนั้นก็ไต่ไปตามสันดอยลูกนั้น ก็ไปเกลือกอยู่มวกผาแห่งหนึ่ง คนทั้งหลายเห็นแล้ว เขาก็ไปเกิดทางภายหน้ากวางตัวนั้นก็แล่นไปทางตะวันออก เขาก็ไล่ไปกวางตัวนั้นก็เต้นหกงอบตกห้วยแห่งหนึ่ง คนทั้งหลายก็เรียกว่ากวางงอบดั่งนั้นแล ภายหน้าคนจักมาสร้างให้เป็นบ้านเป็นเมืองแล้วจักแผ่ชื่อไปว่าเมืองงอบนั้นแล
 
กวางตัวนั้นก็พลิกไป ทางตะวันตก เขาก็ไล่ไปคนทั้งหลายก็เรียกว่าห้วยไล่กวางสืบมา ภายหน้าต่อไปคนทั้งหลายจักมาสร้างให้เป็นบ้านเป็นเมืองแล้ว ก็จักเรียกว่าเมืองไล่แล ครั้งนั้นท้าวมังรายเจ้าป่าวให้คนทั้งหลายแปงขวากหลาวไปปักไว้ภายหน้านั้นดีแล้ว คนก็แหลมขวากหลาวไปปักไว้แท้ กวางตัวนั้นก็ขึ้นไปในห้วยอันนั้นแท้ ก็บ่ถูกยังขวากหลาวแต่สักอันแล ห้วยอันนั้นคนทั้งหลายจึ่งเรียกว่าห้วยล่วงทวงหลาวแต่นั้นมาแล