ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แอมโมนอยด์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 135:
หอยงวงช้าง (นอติลอยด์ - ปัจจุบันยังพบมีชีวิตอยู่ 6 ชนิด) และแอมโมไนต์ (แอมโมนอยด์) ซึ่งสูญพันธุ์ไปแล้วเมื่อ 65 ล้านปีก่อน จัดเป็นหอยอยู่ในกลุ่มของเซฟาโรพอดด้วยกันซึ่งรวมถึงหมึกและหมึกยักษ์ด้วย หอยงวงช้างและแอมโมไนต์มีเปลือกกระดองขดม้วนในแนวระนาบแบบเดียวกันซึ่งโดยทั่วไปมีความคล้ายคลึงกันมาก หอยงวงช้างวิวัฒน์ขึ้นมาครั้งแรกในช่วงปลายของยุคแคมเบรียน (ประมาณ 500 ล้านปีมาแล้ว) ขณะที่แอมโมไนต์ได้เริ่มวิวัฒน์ขึ้นมาในยุคดีโวเนียน (ประมาณ 400 ล้านปีมาแล้ว) หอยทั้งสองชนิดนี้มีลักษณะคล้ายคลึงกันมากแต่สามารถแยกแยะความแตกต่างกันได้ที่ตำแหน่งของท่อสูบฉีดน้ำ (siphuncle) ทั้งนี้โพรงด้านในของเปลือกกระดองของหอยทั้งสองชนิดนี้ จะถูกแบ่งออกเป็นห้องย่อยๆด้วยแผ่นผนังกั้นห้อง (septa) โดยหอยงวงช้างจะมีท่อสูบฉีดน้ำเชื่อมต่อระหว่างแผ่นผนังห้องดังกล่าวที่บริเวณตรงกลางของแผ่นผนังกั้น ขณะที่ท่อสูบฉีดน้ำในแอมโมไนต์จะอยู่ชิดไปทางขอบด้านนอกของเปลือกหอย
แผ่นผนังห้องในหอยงวงช้างจะมีความเรียบง่าย โดยระนาบแผ่นผนังจะตัดกับผิวเปลือกหอยเป็นเส้นโค้งหรือเกือบตรง (simple suture) มีความแข็งแรง และสามารถอาศัยอยู่ในที่น้ำลึกๆได้ ขณะที่ลักษณะดังกล่าวในแอมโมไนต์แผ่นผนังกั้นจะบิดเบี้ยวคดโค้งไปมา ทำให้ผนังกั้นไปตัดกับเปลือกหอยเกิดเป็นเส้นคดโค้งไปมา (lobes and saddles suture) ซึ่งเป็นลักษณะที่วิวัฒนาการไปอาศัยอยู่ในที่น้ำตื้นกว่า การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมบนพื้นผิวโลกจึงยังผลให้แอมโมไนต์สูญพันธุ์ไป ขณะที่หอยงวงช้างบางชนิดซึ่งอาศัยอยู่ในน้ำลึกกว่าจึงรอดพ้นจากการสูญพันธุ์มาได้จนถึงปัจจุบัน
 
==แอมโมไนต์ในประเทศไทย==
มีการพบแอมโมไนต์ชนิดใหม่ในประเทศไทย 1 ชนิด คือ ''Tmetoceras dhanarajatai'' Sata in Komalarjun (1964) ซึ่งชื่อชนิดตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของประเทศไทยระหว่างปี พ.ศ. 2502 – 2506 โดยพบในหินยุคจูแรสซิก บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 109 เส้นทางสายจังหวัดตาก-อำเภอแม่สอด บริเวณบ้านห้วยหินฝน ทางทิศตะวันออกของอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก
เป็นแอมโมไนต์ที่มีแพร็กโมโคนเป็นแบบเซอร์เพนติโคน มีปล้องข้อเป็นรูปวงกลมในแนวตัดขวาง ปล้องข้อของวัยแรกเริ่มซึ่งมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางน้อยกว่า 2 มม. จะมีความกว้างมากกว่าความสูง แต่เมื่อโตเต็มวัยแล้วความสูงของปล้องข้อค่อนข้างมากกว่าความกว้าง ระยะห่างระหว่างแผ่นกั้นห้องโดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัยแรกเริ่มคือมี 6 ถึง 8 ปล้องข้อโดยไม่มีรอยต่อระหว่างปล้องข้อให้เห็นชัดเจน ร่องทางด้านบนตื้นแต่เห็นได้ชัดเจนตลอดอายุขัยยกเว้นในช่วงแรกเริ่ม ทั้งนี้ไม่ทราบความยาวของห้องลำตัว (ดูภาพประกอบ – วิฆเนศ ทรงธรรม และคณะ 2549)
 
==หมายเหตุ==
เส้น 149 ⟶ 153:
* [http://www.cretaceousfossils.com/invertebrates/ammonites/ammonites_index.htm Cretaceous Fossils Taxonomic Index for Order Ammonoitida]
* [http://www.nsf.gov/discoveries/disc_summ.jsp?cntn_id=100280&org=NSF Deeply Buried Sediments Tell Story of Sudden Mass Extinction]
* วิฆเนศ ทรงธรรม และคณะ (2549) ''ทำเนียบซากดึกดำบรรพ์ไทย นามยกย่องบุคคล'' กรมทรัพยากรธรณี 99 หน้า
 
[[หมวดหมู่:ซากดึกดำบรรพ์]]