ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เทศน์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tmd (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Tmd (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 3:
'''เทศน์''' แปลว่า การแสดง การชี้แจง การชี้ให้เห็นแจ้ง ใช้ว่า '''เทศนา''' (อ่านว่า เทสะนา เทดสะหนา) ก็ได้
 
'''เทศน์''' หมายถึงการถ่ายทอดธรรมอันเป็นคำสั่งสอนทางศาสนาด้วยการแสดงชี้แจงให้ฟัง เป็นการเผยแผ่ศาสนาแบบหนึ่งที่ใช้กันมาแต่สมัย[[พุทธกาล]] การเทศน์ในสมัยพุทธกาลไม่มีพิธีการแต่อย่างใด เพียงผู้แสดงนั่งอยู่ในสถานที่สมควรและผู้ฟังมีลักษณะตั้งใจฟังก็สามารถแสดงได้ ในขณะที่การเทศนานั้น อาจมีลักษณะลีลาต่างกันไปบ้างตามแต่อุปนิสัยของแต่ละบุคคล สำหรับพระพุทธเจ้าแล้วบางครั้งพระพุทธเจ้าจะทรงใช้คาถาประพันธ์หรือร้อยแก้วธรรมดา ปรากฏในพระไตรปิฎกว่า อนุบุพพิกถา เป็นหลักธรรมสำคัญที่พระพุทธเจ้ามักแสดงให้ผู้คน เพราะเป็นธรรมะที่เหมาะสมแก่ทุกเพศวัยและมีความลุ่มลึกไปเป็นลำดับ
 
ในประเทศไทย การเทศน์กลายเป็นส่วนประกอบสำคัญในพิธีกรรมต่าง ๆ ของชาวไทยมาช้านาน เช่น วันขึ้นบ้านใหม่ วันแต่งงาน ไปจนถึงงานศพ และมีข้อปลีกย่อยในการประกอบพิธีกรรมมากมาย เช่น ต้องมีการอาราธนาศีลอาราธนาธรรม การจุดเทียนส่องธรรม เป็นต้น พระสงฆ์ไทยแต่โบราณก็มีการดัดแปลงโดยเพิ่มทำนองให้น่าสนใจ เรียกว่า เทศน์แหล่ ปัจจุบันอาจแบ่งการเทศน์พิธีกรรมของพระสงฆ์ในประเทศไทยได้เป็น เทศเดี่ยว (เทศน์รูปเดียว) และเทศน์สองธรรมมาสน์ขึ้นไป (ปุจฉา-วิสัชนา)
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/เทศน์"