ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เทศน์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tmd (คุย | ส่วนร่วม)
ปรับแก้ +เนื้อหา
Tmd (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 5:
'''เทศน์''' หมายถึงการถ่ายทอดธรรมอันเป็นคำสั่งสอนทางศาสนาด้วยการแสดงชี้แจงให้ฟัง เป็นการ[[เผยแผ่ศาสนา]]แบบหนึ่งที่ใช้กันมาแต่สมัย[[พุทธกาล]] การเทศน์ในสมัยพุทธกาลไม่มีพิธีการแต่อย่างใด เพียงผู้แสดงนั่งอยู่ในสถานที่สมควรและผู้ฟังมีลักษณะตั้งใจฟังก็สามารถแสดงได้ ในขณะที่การเทศนานั้น อาจมีลักษณะลีลาต่างกันไปบ้างตามแต่อุปนิสัยของแต่ละบุคคล สำหรับพระพุทธเจ้าแล้วบางครั้งพระพุทธเจ้าจะใช้คาถาประพันธ์หรือร้อยแก้วธรรมดา ปรากฏในพระไตรปิฎกว่า อนุบุพพิกถา เป็นหลักธรรมสำคัญที่พระพุทธเจ้ามักแสดงให้ผู้คน เพราะเป็นธรรมะที่เหมาะสมแก่ทุกเพศวัยและมีความลุ่มลึกไปเป็นลำดับ
 
ปัจจุบัน ในประเทศไทย การเทศน์กลายเป็นส่วนประกอบสำคัญในพิธีกรรมต่าง ๆ ของชาวไทยมาช้านาน เช่น วันขึ้นบ้านใหม่ วันแต่งงาน ไปจนถึงงานศพ และมีข้อปลีกย่อยในการประกอบพิธีกรรมมากมาย เช่น ต้องมีการอาราธนาศีลอาราธนาธรรม การจุดเทียนส่องธรรม เป็นต้น พระสงฆ์ไทยแต่โบราณก็มีการดัดแปลงโดยเพิ่มทำนองให้น่าสนใจ เรียกว่า เทศน์แหล่ ปัจจุบันอาจแบ่งการเทศน์พิธีกรรมของพระสงฆ์ในประเทศไทยได้เป็น เทศเดี่ยว (เทศน์รูปเดียว) และเทศน์สองธรรมมาสน์ขึ้นไป (ปุจฉา-วิสัชนา)
 
นอกจากนี้ ในปัจจุบันพระสงฆ์ได้ปรับเปลี่ยนวิธีการเทศน์หรือเผยแผ่พระพุทธศาสนานอกจากการจาริกไปสอนตามที่ต่าง ๆ ด้วยวิธีอื่น ๆ เพื่อให้เข้ากับยุคสมัยที่เปลี่ยนไปเช่น การเทศน์หรือสอนธรรมะทางสื่อต่าง ๆ การแต่งหนังสือ การแต่งเพลงธรรมะ เป็นต้น ซึ่งการเทศนาด้วยวิธีหลังจะสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายมากกว่า เพราะส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้ทำนองแบบเทศนา และอาจมีมุกสอดแทรกลงไปทำให้น่าสนใจมากขึ้น
บรรทัด 25:
...ขดานหีนนี้ ชื่อมนังคศีลาบาตร สถาบกไว้นี่ จี่งทังหลายเห็น...|คำอ่านศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ด้านที่ ๓<ref>จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดทำเนื่องในโอกาส ๗๐๐ ปี ลายสือไทย กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.๒๕๒๗</ref><ref>[http://scitech.rmutsv.ac.th/majorSci/generalstudy/sila.doc คุณค่าและภาษาในศิลาจารึกหลักที่ ๑ - อลิสา เลี้ยงรื่นรมย์ ]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช. เรียกข้อมูลเมื่อ 17-6-52</ref>}}
 
จากหลักฐานดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า การเทศนาธรรมบนอาสนะสูงใหญ่ของพระสงฆ์ได้มีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย<ref>[http://www.sukhothai.go.th/history/hist_08.htm ศิลาจารึก]. กลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานจังหวัดสุโขทัย. 5-7-52</ref> โดยนิยมมีพิธีเทศนาในวันธรรมสวนะ ซึ่งประเพณีเทศนาธรรมก็ยังคงมีอยู่ตามวัดต่าง ๆ จนในปัจจุบันนี้
 
 
== อ้างอิง ==
{{เริ่มอ้างอิง}}
{{รายการอ้างอิง}}
* [[พระธรรมกิตติวงศ์]] (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ. ๙ [[ราชบัณฑิต]] ''พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด '''คำวัด,''''' [[วัดโอรสาราม]] กรุงเทพฯ พ.ศ. 2548
{{จบอ้างอิง}}
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/เทศน์"