ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รอเบิร์ต พีล"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Dcoetzee (คุย | ส่วนร่วม)
Arthur Wellesley, 1st Duke of Wellington by Robert Home cropped.jpg
Xqbot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: lv:Roberts Pīls; ประทิ่นเปลี่ยนแปลง
บรรทัด 16:
| death_date = [[2 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2393]] (62 ปี)
| death_place = [[กรุงลอนดอน]] [[อังกฤษ]]
| party = [[กลุ่มทอรี]] <br /> [[พรรคอนุรักษ์นิยม]]
| spouse = [[จูเลีย พีล]]
| religion = [[คริสต์]]
บรรทัด 36:
พีลได้รับการเลือกให้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในคณะรัฐมนตรีซึ่งนำโดย[[เอิร์ลแห่งลิเวอร์พูล]]ในปี พ.ศ. 2365 ในระหว่างนี้มีการรณรงค์ในไอร์แลนด์ให้เปิดโอกาสให้ชาวคาทอลิกมาดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้ (Catholic Emancipation) แต่พีลต่อต้านการรณรงค์ครั้งนี้อย่างรุนแรงจนได้รับฉายาว่า''พีลสีส้ม (Orange Peel) '' เมื่อลิเวอร์พูลลาออกนายกรัฐมนตรีคนใหม่คือ[[จอร์จ แคนนิ่ง]]ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้นำการรณรงค์ครั้งนี้ พีลจึงได้ปฏิเสธที่จะรับตำแหน่งนี้ต่อ
 
[[ภาพไฟล์:Arthur Wellesley, 1st Duke of Wellington by Robert Home cropped.jpg|thumb|150pxthumb|150px|left|ดยุคแห่งเวลลิงตัน]]พีลกลับเข้ารับตำแน่งเดิมอีกครั้งในปี 2371 ในรัฐบาลซึ่งนำโดย[[ดยุคแห่งเวลลิงตัน]] ในปีเดียวกันแดเนีล โอคอนเนล ซึ่งเป็นชาวคาทอลิก ได้รับเลือกให้เป็นผู้แทนจากไอร์แลนด์ จึงเป็นการกดดันให้มีการเปลี่ยนแปลงกฎหมายการดำรงตำแหน่งทางการเมืองอย่างหนัก เวลลิงตันจึงยอมเปลี่ยนกฎหมายดังกล่าวโดยการช่วยเหลือในสภาฯโดยพีล พีลรู้สึกอึดอัดใจกับเหตุการณ์ดังกล่าวจึงลาออกจากการเป็นผู้แทนที่ม.อ๊อกซฟอร์ด ย้ายไปเป็นผู้แทนที่เวสต์เบอรี่แทน (ซึ่งหลังจากนั้นสองปี พีลย้ายไปที่แทมเวิร์ธ และเป็นผู้แทนเขตนั้นไปจนเขาถึงแก่อสัญกรรมในปี 2393)
 
ในปี 2372 พีลในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ริเริ่มจัดตั้งสำนักงานตำรวจนครบาลในกรุง[[ลอนดอน]] โดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่[[สก๊อตแลนด์ยาร์ด]] การจัดตั้งครั้งนี้ประสบความสำเร็จอย่างสูงในการลดอาชญากรรมในกรุงลอนดอน และระบบนี้ก็ได้กลายเป็นตัวอย่างสำหรับนำไปใช้กับระบบตำรวจในเมืองอื่นๆในอังกฤษด้วย ปัจจุบันชาวลอนดอนอาจเรียกตำรวจด้วยคำ[[สแลง]]ว่า ''บ๊อบบี้'' หรือ ''พีลเลอร์'' ซึ่งก็หมายถึงชื่อของพีลนั่นเอง
บรรทัด 51:
เนื่องจากพีลมีเสียงข้างน้อยในสภา จึงทำให้ทำงานได้ลำบาก เขาจึงประกาศยุบสภาให้มีการเลือกตั้งใหม่ในเดือนมกราคม 2378 ในการเลือกตั้งนี้พีลได้ออกจดหมายเปิดผนึกสำคัญถึงผู้มีสิทธิในเขตของเขา โดยรายละเอียดของจดหมาย ''Tamworth Manifesto'' นี้ได้กล่าวถึงการปรับปรุงการหลักการของกลุ่มทอรีใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของระบบการเลือกตั้ง โดยพีลได้นำแนวคิดหลักจาก[[เอ็ดมุนด์ เบิร์ก]]ว่าการอนุรักษ์ที่ถูกต้องนั้นต้องยอมให้มีการเปลี่ยนแปลงบ้างเพื่อเป็นพัฒนาการไม่เช่นนั้นแล้วจะทำให้เกิดการต่อต้านอันรุนแรงจนเราไม่สามารถอนุรักษ์สิ่งนั้นไว้ได้อีกต่อไป การปรับปรุงครั้งทำให้กลุ่มทอรีซึ่งมีแนวคิดค่อนข้างออกแนวค้านหัวชนฝาอ่อนลงอย่างมาก โดยนักประวัติศาสตร์จึงถือจุดนี้เป็นจุดกำเนิดของ[[พรรคอนุรักษ์นิยม]]ในอังกฤษ
 
[[ภาพไฟล์:Queen_Victoria_1887.jpg‎|thumb|150pxthumb|150px|right|พระนางเจ้าวิคตอเรีย]]แม้ว่าการเลือกตั้งจะทำให้พรรคอนุรักษ์นิยมได้คะแนนเสียงเพิ่มขึ้นแต่ก็ยังไม่พอที่จะได้เสียงข้างมากในสภาฯ แต่การแบ่งกลุ่มกันในฝ่ายค้านทำให้พีลยังคงทำงานในฐานะนายกรัฐมนตรีได้ต่อไป อย่างไรก็ดีได้มีการทำข้อตกลงกันในกลุ่มฝ่ายค้านที่บ้านลิชฟิลด์ (Lichfield House Compact) ทำให้พีลไม่สามารถทำงานได้อีกตั้งแต่ปลายเดือนกุมภาพันธ์ เขาจึงลาออกในวันที่ 8 เมษายนปี 2378 กลุ่มฝ่ายค้านจัดตั้งรัฐบาลใหม่โดยมีเมลเบิร์นเป็นนายกรัฐมนตรี
 
เมลเบิร์นลาออกจากตำแหน่งในเดือนพฤษภาคม 2482 พีลได้รับการเสนอให้จัดตั้งรัฐบาล เขาตระหนักดีว่านี่จะเป็นรัฐบาลเสียงข้างน้อยอีกครั้งเขาจึงเสนอให้[[พระนางเจ้าวิคตอเรีย]]ปลดนางสนองพระโอษฐ์ของพระองค์ซึ่งเป็นคนของกลุ่มวิค พระนางปฏิเสธ พีลจึงไม่ยอมรับตำแหน่งโดยเกรงว่ารัฐบาลจะไร้เสถียรภาพ ก่อให้เกิดช่วงว่างของรัฐบาล (Bedchamber Crisis) วิคตอเรียจึงต้องให้เมลเบิร์นกลับมาตั้งรัฐบาลเหมือนเดิม
บรรทัด 64:
 
=== สมานฉันท์ในไอร์แลนด์ ===
[[ภาพไฟล์:Daniel_O'Connell_-_Project_Gutenberg_13103.jpg‎|thumb|150pxthumb|150px|right|แดเนีล โอคอนเนล]]การกลับมาของพีลทำให้ ผู้แทนคนสำคัญของไอร์แลนด์อย่าง แดเนียล โอคอนเนลล์ ต้องกลับไปอยู่ในฝ่ายค้านอีกครั้ง หลังจากที่เขาสามารถทำให้ชาวคาทอลิกสามารถเข้ามารับตำแหน่งทางการเมืองได้แล้ว ครั้งนี้เขารณรงค์เพื่อยกเลิกพระราชบัญญัติรวมชาติ เพื่อให้ไอร์แลนด์ไม่ต้องเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร เขาได้วางแผนที่จะมีการชุมนุมใหญ่ที่เมืองคลอนทาฟ (Monster Meeting) ในเดือนตุลาคม 2386 หลังจากเกิดการชุมนุมนับแสนคนที่เมืองทารา พีลเกิดความกังวลว่าการชุมนุมที่คลอนทาฟนี้อาจจะก่อให้เกิดการนองเลือด จึงสั่งแบนการชุมนุมดังกล่าว โอคอนเนลล์ยังฝ่าฝืนจึงถูกจับในข้อหากบฏ ทำให้เหตุการณ์ในไอร์แลนด์สงบลงไปชั่วคราว เพื่อป้องกันปัญหาต่อๆมา พีลจึงได้ดูแลนโยบายเกี่ยวกับไอร์แลนด์เป็นพิเศษซึ่งรวมไปถึงการปรับปรุงการใช้พื้นที่ในไอร์แลนด์เพื่อพัฒนาเกษตรกรรมให้ดียิ่งขึ้น การเพิ่มค่าบำรุงให้กับโรงเรียนสอนศาสนาคาทอลิกเมย์นูธ การก่อตั้งมหาวิทยาลัยในไอร์แลนด์ถึงสามแห่งที่[[เบลฟาสต์]] กอลเวย์ และคอร์ก
 
=== นโยบายการคลัง ===
บรรทัด 75:
ในฤดูใบไม้ร่วง 2388 เกิดเหตุโรคระบาดในมันฝรั่งในไอร์แลนด์ ทำให้ไม่สามารถเก็บเกี่ยวมันฝรั่งซึ่งเป็นอาหารหลักของชาวไอริชได้กว่า 60% ด้วยเหตุนี้จึงเกิดการขาดแคลนอาหารอย่างหนักในไอร์แลนด์ซึ่งสุดท้ายแล้วทำให้มีผู้เสียชีวิตเนื่องจากอดอาหารและโรคอหิวาต์ซึ่งเป็นผลข้างเคียงจากการพยายามเอาชีวิตรอดด้วยการรับประทานทุกอย่างที่สามารถหาได้กว่าหนึ่งล้านคน ซึ่งคิดเป็นประมาณหนึ่งในแปดของประชากรทั้งหมดในไอร์แลนด์ในขณะนั้น รัฐบาลของพีลจึงตอบสนองด้วยการสั่งซื้อข้าวโพดมูลค่าหนึ่งแสนปอนด์มาจากอเมริกาเพื่อใช้เป็นอาหารทดแทนแต่ในขณะนั้น รัฐบาลของสหราชอาณาจักรมีกฎหมายเก็บอากรข้าวโพดที่นำเข้า จึงทำให้รัฐบาลต้องซื้อข้าวโพดในราคาที่แพงขึ้น พีลเองเห็นว่าไม่เป็นการดีที่จะต้องให้การช่วยเหลือส่วนนี้ตกเป็นภาระของประชาชนจึงมีความคิดที่จะยกเลิกอากรข้าวโพดเสีย
 
[[ภาพไฟล์:Richard_Cobden.gif‎|thumb|150pxthumb|150px|left|ริชาร์ด ค็อบเดน]]ในเมืองมกราคม 2389 พีลจึงเสนอให้มีการยกเลิกอากรข้าวโพด โดยค่อยๆลดอัตราอากรไปเรื่อยๆเป็นเวลาสามปีจนหมดในปี 2392 การประกาศครั้งนี้ก่อให้เกิดการแตกแยกครั้งใหญ่ในพรรคอนุรักษ์นิยม โดยกลุ่มที่ได้รับการสนับสนุนจากชาวไร่นั่นไม่ต้องการให้มีการยกเลิกเนื่องจากต้องการปกป้องอาชีพของชาวไร่ซึ่งจะต้องพบกับปัญหาถ้าหากต้องแข่งราคากับข้าวโพดที่มีราคาถูกกว่าจากทางอเมริกา กลุ่มนี้นำโดย ลอร์ดจอร์จ เบนทิงค์ ดยุคแห่งบัคกิ้งแฮมเชียร์ และ [[เอิร์ลแห่งดาร์บี|ลอร์ดสแตนลีย์]] กับ [[เบนจามิน ดิสราเอลี]] ซึงภายหลังจากได้เป็นนายกรัฐมนตรีของอังกฤษ ส่วนอีกฝ่ายของพรรคซึ่งนำโดย เซอร์เจมส์ เกรแฮม เอ็ดเวิร์ด คาร์ดเวล และ [[เอิร์ลแห่งอะเบอร์ดีน]] กับ [[วิลเลียม แกลดสตัน]] ซึ่งในอนาคตจะได้เป็นนายกรัฐมนตรีเช่นกัน
 
แม้ว่าครึ่งหนึ่งของรัฐบาลจะต่อต้านการยกเลิก พีลก็สามารถนำร่างพระราชบัญญัติผ่านสภาผู้แทนฯไปได้ด้วยการสนันสนุนจากฝ่ายค้าน ทั้งกลุ่มวิกซึ่งนำโดย [[เอิร์ลรัสเซล|ลอร์ดจอห์น รัสเซล]] กับ [[ไวเคานท์พาลเมอร์สตัน]] สองอนาคตนายกรัฐมนตรี และกลุ่มแมนเชสเตอร์สกูลซึ่งนำโดย ริชาร์ด ค็อบเดน กับ จอห์น ไบรท์ ผู้มีชื่อเสียงจากการรณรงค์สนับสนุนระบบการค้าเสรีและเป็นผู้นำของสันนิบาตต่อต้านอากรข้าวโพด (Anti-Corn Law League) มาพักหนึ่งแล้ว ดังนั้นร่างฯจึงผ่าน[[สภาสามัญ]]ไปได้ด้วยคะแนนเสียง 327 ต่อ 229 ในวันที่ 15 พฤษภาคม 2389 และยังสามารถผ่าน[[สภาขุนนาง]]ไปได้ด้วยความช่วยเหลือจากเจ้านายเก่าของพีลอย่างเวลลิงตันในวันที่ 25 มิถุนายน 2389
บรรทัด 87:
 
== บั้นปลายชีวิต ==
[[ภาพไฟล์:Gladstone.jpg‎|thumb|150pxthumb|150px|right|วิลเลียม แกลดสตัน]]
หลังจากพีลลงจากนายกรัฐมนตรีพรรคอนุรักษ์นิยมยังคงแตกเป็นสองส่วนต่อไป ส.ส.กลุ่มพีไลท์ เช่น เกรแฮม อะเบอร์ดีน และแกลดสตัน ยังคงติดตามพีลอย่างใกล้ชิดและยึดมั่นนโยบายอนุรักษ์นิยมแต่สนับสนุนระบบการค้าเสรี อีกกลุ่มหนึ่ง เช่น เบนทิงค์ และดิสราเอลี นั้นคงนโยบายอนุรักษ์หัวชนฝาต่อและยังมีความบาดหมางเป็นส่วนตัวกับพีลอีกด้วย ในระยะการเป็นฝ่ายค้านพีลทำหน้าที่ ส.ส. อย่างต่อเนื่องและยังได้นำกลุ่มพีไลท์ลงคะแนนเสียงช่วยฝ่ายรัฐบาลอีกในหลายๆกรณี อย่างไรก็ตาม แม้ว่ารัสเซลจะเสนอให้เขาเข้าร่วมรัฐบาลกับกลุ่มวิก ในปี 2392 พีลปฏิเสธและทำหน้าที่เป็นฝ่ายค้านต่อไป
 
บรรทัด 105:
{{นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร}}
{{birth|1788}}{{death|1850}}
 
[[หมวดหมู่:นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร]]
 
เส้น 122 ⟶ 123:
[[ja:ロバート・ピール]]
[[la:Robertus Peel]]
[[lv:Roberts Pīls]]
[[mr:रॉबर्ट पील]]
[[nl:Robert Peel]]