ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การดื้อแพ่ง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Zambo (คุย | ส่วนร่วม)
ดื้อแพ่ง ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น การดื้อแพ่ง
Zambo (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
'''การดื้อแพ่ง''' หรือ '''อารยะการขัดขืนอย่างสงบ''' ([[ภาษาอังกฤษ|อังกฤษ]]: civil disobedience) ภาษาปากว่า '''"อารยะขัดขืน"''' เป็นการเรียกกิจกรรมรวม ๆ ของการเคลื่อนไหวที่จะไม่กระทำตาม[[กฎหมาย]] หรือ ความต้องการและคำสั่งของ[[รัฐบาล]]หรือผู้อยู่ในอำนาจ โดยไม่มีการใช้ความรุนแรงทางกายภาพ ในอดีต มีการใช้แนวทางดื้อแพ่งในการเคลื่อนไหวเพื่อต่อต้าน[[อังกฤษ]]ใน[[ประเทศอินเดีย]] ในการต่อสู้กับ[[การแบ่งแยกสีผิว]]ใน[[แอฟริกาใต้]] ในการเคลื่อนไหวด้านสิทธิพลเมืองของอเมริกา และใน[[ยุโรป]] รวมถึงประเทศแถบ[[สแกนดิเนเวีย]]ในการต่อต้านการยึดครองของนาซี แนวคิดนี้ริเริ่มโดย[[เฮนรี เดวิด ธอโร]] นักเขียนชาวอเมริกันในบทความชื่อดื้อแพ่ง ในชื่อเดิมว่า ''การต่อต้านรัฐบาลพลเมือง'' ซึ่งแนวคิดที่ผลักดันบทความนี้ก็คือการพึ่งตนเอง และการที่บุคคลจะมีจุดยืนที่ถูกต้องเมื่อพวกเขา "ลงจากหลังของคนอื่น" นั่นคือ การต่อสู้กับรัฐบาลนั้นประชาชนไม่จำเป็นต้องต่อสู้ทางกายภาพ แต่ประชาชนจะต้องไม่ให้การสนับสนุนรัฐบาลหรือให้รัฐบาลสนับสนุนตน (ถ้าไม่เห็นด้วยกับรัฐบาล) บทความนี้มีอิทธิพลอย่างมากต่อผู้ที่ยึดแนวทางดื้อแพ่งนี้ ในบทความนี้ทอโรอธิบายเหตุผลที่เขาไม่ยอมจ่ายภาษีเพื่อเป็นการประท้วงระบบ[[ทาส]]และ[[สงครามเม็กซิกัน-อเมริกัน]]
 
เพื่อที่จะแสดงออกถึงดื้อแพ่ง ผู้ขัดขืนอาจเลือกที่จะฝ่าฝืนกฎหมายใดเป็นการเฉพาะ เช่น กีดขวางทางสัญจรอย่างสงบ หรือเข้ายึดครองสถานที่อย่างผิดกฎหมาย ผู้ประท้วงกระทำการจราจลอย่างสันติเหล่านี้ โดยคาดหวังว่าพวกตนจะถูกจับกุม หรือกระทั่งถูกทำร้ายร่างกายโดยเจ้าหน้าที่. ผู้ประท้วงมักจะได้รับการนัดแนะล่วงหน้า ว่าควรจะตอบสนองการจับกุมหรือทำร้ายร่างกายอย่างไร และจะขัดขืนอย่างเงียบ ๆ หรือไม่รุนแรง โดยไม่คุกคามเจ้าหน้าที่