ผลต่างระหว่างรุ่นของ "บรรณาธิการ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ZenithZealotry (คุย | ส่วนร่วม)
คำสนธิ
Zambo (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
'''บรรณาธิการ''' ([[สนธิ (ไวยากรณ์)|คำสนธิ]]: บรรณ ([[หนังสือ]]) + อธิการ (ผู้เป็นใหญ่เจ้าการ); {{lang-en|Editor}}) เป็นบุคคลซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบ ในการจัดทำ รวบรวม ตรวจแก้ คัดเลือก หรือควบคุม เนื้อหาและภาพทั้งหมด ที่จะตีพิมพ์เป็น[[หนังสือ]] หรือเป็นสิ่งพิมพ์ที่มีกำหนดว่าจะออกเรื่อยไปตามลำดับ โดยใช้ชื่อเดิม เช่น [[หนังสือพิมพ์]] และ[[นิตยสาร]]ต่างๆ ส่วนคำที่ใช้เรียกกระบวนการลักษณะนี้ เรียกว่า ''บรรณาธิกร'' ({{lang-en|Editing}}) และมักใช้โดย[[อักษรย่อ|ย่อ]]อย่างไม่เป็นทางการว่า “บ.ก.”
 
[[พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542]] ให้ความหมายของ ''บรรณาธิการ'' ไว้ว่า ผู้จัดเลือกเฟ้น รวบรวม ปรับปรุง และรับผิดชอบเรื่องลงพิมพ์<ref>[[พจนานุกรม]]ฉบับ[[ราชบัณฑิตยสถาน]] [[พ.ศ. 2542]] หน้า 604.</ref> และในมาตรา 4 แห่ง[[s:พระราชบัญญัติการพิมพ์ พุทธศักราช ๒๕๕๐|พระราชบัญญัติการพิมพ์ พุทธศักราช 2550]] ระบุว่า ''บรรณาธิการ'' หมายความถึง บุคคลผู้รับผิดชอบ ในการจัดทำ และควบคุมเนื้อหา ข้อความ หรือภาพ ที่ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ รวมทั้งวัสดุ หรือเอกสาร ที่แทรกในหนังสือพิมพ์ โดยความเห็นชอบของบรรณาธิการด้วย เมื่อหนังสือพิมพ์ มีความหมายรวมไปถึง นิตยสาร วารสาร สิ่งพิมพ์ ที่เรียกชื่ออย่างอื่น ในทำนองเดียวกัน<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2550/A/093/1.PDF พระราชบัญญัติจดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ. 2550] จาก[[ราชกิจจานุเบกษา]] เล่ม 124 ตอน 93 ก ลงวันที่ [[18 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2550]]</ref>