ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อนุสรณ์สถานแห่งชาติ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 87:
4. การนำเสนอข้อมูลด้วยเครื่องจักรคำนวน และวีดิทัศน์ เกี่ยวกับวิวัฒนาการของเครื่องแบบ เครื่องหมายยศ และเครื่องประกอบการแต่งกายของทหารตำรวจ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
 
[[ส่วนที่ 4 อาคารภาพปริทัศน์]] เป็นอาคารทรงแปดเหลี่ยม ผนังภายในอาคารโค้งเป็นวงกลม มีจิตรกรรมฝาผนังขนาดสูง ๔.๓๐ เมตร ยาว ๙๐ เมตร ฝีมือ นายปรีชา เถาทอง ศิลปินแห่งชาติ กับคณะ แสดงเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ของชาติไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เพื่อให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถของพระมหากษัตริย์ รวมทั้งความกล้าหาญเสียสละของบรรพบุรุษ ที่ได้อุทิศตนเพื่อปกป้องและรักษาเอกราชของชาติ
 
[[ส่วนที่ 5 ภูมิสถาปัตยกรรมและพิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง]] เป็นการจัดและตกแต่งพื้นที่บริเวณภายนอกอาคารอนุสรณ์สถานแห่งชาติ ให้สวยงามและเหมาะสม โดยแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ ส่วนภูมิสถาปัตยกรรมและส่วนพิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง
 
 
'''1. ส่วนภูมิสถาปัตยกรรม ''' ประกอบด้วย
 
1.1 รั้ว อยู่ทางถนนวิภาวดีรังสิต ด้านถนนพหลโยธิน และด้านที่ติดกับที่ดินของเอกชน
 
1.2 ประตู มีทั้งหมด 4 ประตู ด้านถนนวิภาวดีรังสิต 2 ประตู และด้านถนนพหลโยธิน 2 ประตู ลักษณะบานประตูเป็นโลหะอัลลอยด์โปร่งรูปอาวุธโบราณ และธงสามชาย
 
1.3 ป้ายชื่อ มี 2 ป้าย อยู่กึ่งกลางรั้วด้านถนนวิภาวดีรังสิต และถนนพหลโยธิน จารึกคำว่า "อนุสรณ์สถานแห่งชาติ" ด้านล่างเป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษสูง 20 เซนติเมตร จารึกคำว่า "National Memorial"
 
1.4 ป้อมยาม มีทั้งหมด 4 ป้อม อยู่ทางด้านซ้ายของทางเข้า - ออก ทั้ง 4 ด้าน
 
1.5 สวนพักผ่อน
 
1.6 สวนอนุสรณ์สถานแห่งชาติ
 
1.7 พื้นที่อเนกประสงค์
 
'''2. ส่วนพิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง''' เป็นพื้นที่จัดแสดงวัตถุพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งขนาดใหญ่ ประกอบด้วย
 
2.1 รถสะเทินน้ำสะเทินบก (LVT)
 
2.2 รถถังแบบ 83 (Light tant Type 95 HA - GO)
2.3 เครื่องบิน บ.จฝ.13 (T - 28 D)
2.4 เรือยนต์เร็วตรวจการลำน้ำ (เรือ นปข.)
 
2.5 เฮลิคอปเตอร์แบบ 13
 
2.6 รถถังเบาแบบ 77
 
2.7 ปืนใหญ่ภูเขาแบบ 63
 
2.8 ปืนใหญ่เบากระสุนวิถีโค้ง 105 มิลลิเมตร โบฟอร์ส อัตตาจร
 
2.9 สะพานเครื่องหนุนมั่น