ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเจ้าอัลเฟรดมหาราช"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Ps (คุย | ส่วนร่วม)
Ps (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดทันใจด้วยสจห.
บรรทัด 29:
พระเจ้าอัลเฟรดมหาราช เสด็จพระราชสมภพประมาณระหว่างปี ค.ศ. 847 ถึง ปี ค.ศ. 849 ที่แวนเทจ ในปัจจุบันอยู่ใน[[มลฑลบาร์คเชอร์]]พระเจ้าอัลเฟรดทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 5 และองค์เล็กของ[[พระเจ้าเอเธลวูล์ฟแห่งเวสเซ็กซ์]](Æthelwulf) และ[[ออสเบอร์กา]]พระชายาองค์แรก<ref>พระเจ้าอัลเฟรดเป็นพระราชโอรสองค์เล็กที่สุดในบรรดาพระอนุชาและขนิษฐาห้าพระองค์ [http://www.royal.gov.uk/OutPut/Page25.asp]</ref> ในปี [[ค.ศ. 868]] พระเจ้าอัลเฟรดทรงเสกสมรสกับ [[เอลสวิธ]] (Ealhswith) ธิดาของเอเธลเรด มูซิลล์ผุ้เป็นผู้ปกครองไกนิ (Gaini) <ref>[http://www.treasurehunting.tv/king_alfred.htm พระราชประวัติของพระเจ้าอัลเฟรดมหาราช]</ref>
 
กล่าวกันว่าเมื่อพระเจ้าอัลเฟรดพระชนมายุได้ 5 พรรษาทรงถูกส่งตัวไป[[กรุงโรม]] และจากบันทึก[[พงศาวดารแองโกล-แซ็กซอน]] [[สมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 4]]ก็ประกาศยอมรับและ “เจิมว่าเป็นกษัตริย์” นักเขียน[[สมัยวิคตอเรีย]]ตีความเป็นสัญญาณถึงการที่จะได้สวมมงกุฏเป็นพระเจ้าแผ่นดินแห่งเวสเซ็กส์ต่อมา แต่อันที่จริงแล้วการที่ทำนายเหตุการณ์ล่วงหน้าเช่นที่ว่าเป็นไปได้ยากเพราะในขณะนั้นพระเจ้าอัลเฟรดทรงมีพระเชษฐาสามพระองค์ จดหมายของพระสันตะปาปาลีโอที่ 4 กล่าวว่าพระเจ้าอัลเฟรดได้รับการแต่งตั้งให้เป็น “[[กงสุล]]” (consul) ซึ่งอาจจะเป็นการทำให้เข้าใจผิดไม่ว่าจะจงใจหรือไม่ต่อมา<ref>วอร์มาลด์, แพททริค, 'อัลเฟรด (848/9-899) ', ''อ็อกฟอร์ดพจนานุกรมชีวประวัติแห่งชาติ'' (สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยอ็อกฟอร์ด, 2004) </ref> หรืออาจจะมีสาเหตุมาจากการที่พระเจ้าอัลเฟรดเสด็จติดตามพระราชบิดาไปแสวงบุญที่โรมต่อมาและประทับที่ราชสำนักของ[[สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์เศียรล้าน]] (Charles the Bald) พระเจ้าแผ่นดินฝรั่งเศสอยู่ระยะหนึ่งราวปี [[ค.ศ. 854]] หรือ [[ค.ศ. 855]] เมื่อเสด็จกลับมาจากโรมในปี [[ค.ศ. 856]] [[พระเจ้าเอเธลวูล์ฟแห่งเวสเซ็กซ์|พระเจ้าเอเธลวูลฟ]] ถูกโค่นอำนาจโดยเอเธลบอลด์ (Æthelbald) พระโอรส เมื่อเอเธลวูล์ฟสิ้นพระชนม์เมื่อ [[ค.ศ. 858]] เวสเซ็กซ์จึงปกครองโดยพระเชษฐาสามพระองค์ของพระเจ้าอัลเฟรดต่อเนื่องกันมา
 
[[แอสเซอร์]]กล่าวว่าเมื่อพระเจ้าอัลเฟรดยังทรงพระเยาว์ทรงได้รับรางวัลเป็นหนังสีอโคลงกลอนเป็นภาษาอังกฤษจากพระมารดาและทรงเป็นพระโอรสองค์แรกที่ทรงจำโคลงกลอนจากหนังสือเล่มนั้นได้อย่างแม่นยำ ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องจริงหรืออาจจะเป็นเรื่องที่เล่าเพื่อสร้างเสริมพระบารมีในความที่มีชื่อว่าเป็นผู้รักการศึกษาเล่าเรียนก็ได้
บรรทัด 38:
ตามหลักฐานกล่าวว่าในปี [[ค.ศ. 868]] พระเจ้าอัลเฟรดทรงต่อสู้ร่วมกับพระเจ้าเอเธลเรดในสงครามต่อต้านการรุกรานของ[[ชาวเดนส์]]ใน[[อาณาจักร์เมอร์เซีย]]แต่มิได้ประสพความสำเร็จ [[ไวกิง]]มิได้รุกรานเวสเซ็กซ์ อยู่สองปีเพราะอัลเฟรดทรงจ้างไม่ให้รุกราน แต่ในปลายปี [[ค.ศ. 870]] [[ชาวเดนส์]]ก็เข้ามารุกรานเวสเซ็กซ์อีกครั้ง ปีต่อมาเป็นปีที่รู้จักกันว่าเป็นปีแห่งการต่อสู้ของพระองค์ ระหว่างนั้นทรงเข้าศึกเก้าครั้งแพ้บ้างชนะบ้าง ที่บาร์คเชอร์ ทรงได้รับชัยชนะใน[[ยุทธการเองเกิลฟิลด์]] (Battle of Englefield) เมื่อวันที่ [[31 ธันวาคม]] ปี [[ค.ศ. 870]] ตามด้วยความพ่ายแพ้ที่[[ยุทธการเรดดิง]] (Battle of Reading) เมื่อวันที่ [[5 January]] ปี [[ค.ศ. 871]] สี่วันต่อมาก็ทรงได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาดที่[[ยุทธการแอชดาวน์]] (Battle of Ashdown) ที่บาร์คเชอร์ดาวน์ที่อาจจะตั้งอยู่ไม่ไกลจากคอมพ์ตันหรืออัลด์เวิร์ธ หลังจากนั้นเมื่อวันที่ [[22 มกราคม]] ก็ทรงพ่ายแพ้ที่เบสซิง และอีกครั้งเมื่อวันที่ [[22 มีนาคม]] ที่[[ยุทธการเมอร์ตัน]] (Battle of Merton) (อาจจะเป็นมาร์เด็นใน[[มณฑลวิลท์เชอร์]] หรือ มาร์ตินใน[[มณฑลดอร์เซ็ท]]) ซึ่งเป็นสนามรบที่พระเจ้าเอเธลเรดถูกปลงพระชนม์
 
== สมัยสงคราม ==
ในเดือนมีนาคม [[ค.ศ. 871]] พระเจ้าเอเธลเรดเสด็จสวรรคต อัลเฟรดขึ้นครองราชบัลลังก์เวสเซ็กซ์ต่อจากพระเชษฐาผู้มีทรงมีพระโอรสของพระองค์เองที่ยังทรงพระเยาว์สองพระองค์ โดยปราศจากการประท้วงในสิทธิการสืบราชบัลลังก์ของพระองค์เพราะทรงเป็นผู้มีความปรีชาสามารถทางการทหาร ซึ่งเป็นสิ่งที่บ้านเมืองต้องการในขณะที่บ้านเมืองอยู่ในสภาพที่ร้อนเป็นไฟ แต่พระเจ้าอัลเฟรดก็มิได้ทรงละเลยในการปกป้องสิทธิในอส้งหาริมทรัพย์ของพระนัดดา ขณะที่ทรงยุ่งกับพิธีทำพระศพของพระเชษฐา [[ชาวเดนส์]]ก็แอบโจมตีท้ายครัว และโจมตีต่อพระพักตร์ที่วิลท์ตันใน[[แคว้นวิลท์เชอร์]]ในเดือนพฤษภาคม หลังจากนั้นบ้านเมืองก็มีความสงบสุขอยู่ราวห้าปีขณะที่ชาวเดนส์ยึดครองส่วนอื่นของอังกฤษ แต่ในปี [[ค.ศ. 876]] ภายใต้[[กูธรัมผู้อาวุโส]] (Guthrum the Old) ผู้นำคนใหม่ [[ชาวเดนส์]]ก็แอบโจมตีกองทัพอังกฤษอีก และโจมตีเวเร็ม ใน[[แคว้นดอร์เซ็ท]] ต่อมาในปี [[ค.ศ. 877]] ในขณะที่แสร้งทำการเจรจาเดนส์ก็กลับไปโจมตีและพยายามยึดครอง [[เอ็กซีเตอร์ (อังกฤษ)|เอ็กซีเตอร์ ]] ใน [[แคว้นเดวอน]] แต่พระเจ้าอัลเฟรดทรงสามารถปิดท่าขณะที่กองเรือของชนชาวเดนส์ถูกพายุกระหน่ำจนจำต้องพ่ายแพ้และถอยทัพไปยังเมอร์เซีย แต่ในเดือนมกราคม ปี [[ค.ศ. 878]] ชาวเดนส์ก็กลับมาจู่โจมชิพเพ็นนัมที่เป็นที่มั่นและเป็นที่ประทับของพระเจ้าอัลเฟรดระหว่าง[[คริสต์มาส]]โดยไม่รู้ตัว จนต้องทรงถอยไปตั้งหลักที่เอเธลนีย์เมื่อ[[อีสเตอร์]] ([[พงศาวดารแองโกล-แซ็กซอน]])
 
บรรทัด 51:
ขณะที่พระเจ้าอัลเฟรดเสด็จนำทัพไปยังทอร์นีย์เพื่อไปช่วยพระราชโอรสก็ทรงได้รับข่าวว่าชนชาวเดนส์ใน[[ราชอาณาจักรนอร์ทธัมเบรีย]]และ[[ราชอาณาจักรอีสต์อังเกลีย]]เข้าล้อมเมือง [[เอ็กซีเตอร์]]และทางฝั่งทะเลทางด้านเหนือของ[[แคว้นเดวอน]] พระเจ้าอัลเฟรดจึงหันทัพกลับไปทางตะวันตกเพื่อไปหยุดยั้งการรุกรานที่เอ็กซีเตอร์แต่ไม่มีหลักฐานบ่งถึงสถานะการณ์ทางเหนือของแคว้นเดวอน ขณะเดียวกันกองกำลังของ[[เฮสเต็น]]ก็เดินทัพขึ้นไปยัง[[เทมส์แวลลี]] (Thames Valley) เพื่ออาจจะไปช่วยพันธมิตรทางด้านตะวันตกแต่ไปปะทะกับกองกำลังใหญ่ของกลุ่มเอิร์ลสามคนจาก[[แคว้นเมอร์เซีย]] [[มณฑลวิลท์เชอร์]] และ[[มณฑลซัมเมอร์เซ็ท]] จนต้องถอยไปทางเหนือและในที่สุดก็ไปพ่ายแพ้ที่[[บัตติงตัน]] (Buttington) ซึ่งบ้างก็ว่าอาจจะเป็นบัตติงตัน ทัมพ์ที่ปาก[[แม่น้ำไวย์]] (River Wye) หรือ อาจจะเป็นบัตติงตัน ใกล้[[เวลชพูล]] (Welshpool) ก็ได้ กองทัพเดนส์พยายามหนีจากแนวแต่ไม่สำเร็จ ผู้ที่หนีได้ก็หนีไป[[ชูบรี]] หลังจากไปรวบรวมกำลังตั้งตัวได้ก็เดินทัพอย่างรวดเร็วข้ามแผ่นดินอังกฤษไปยึดซากกำแพงโรมันที่ [[เชสเตอร์ (อังกฤษ)|เชสเตอร์ ]] (Chester) กองทัพอังกฤษมิได้พยายามเข้าต่อสู้นอกไปจากทำลายกองเสบียง เมื่อต้นปี [[ค.ศ. 894]] หรือ [[ค.ศ. 895]] กองทัพเดนส์ก็ถอยทัพกลับไป[[มณฑลเอสเซ็กส์]]เพราะขาดเสบียง พอปลายปี หรือต้นปี [[ค.ศ. 895]] หรือ [[ค.ศ. 896]] กองกำลังของเดนส์ก็ล่องกองเรือขึ้น[[แม่น้ำเทมส์]]และ[[แม่น้ำลี]]และไปตั้งที่มั่นอยู่ราว 32 กิโลเมตรเหนือตัวเมืองลอนดอน การโจมตีแนวกองทัพของเดนส์โดยตรงประสพความล้มเหลว แต่ต่อมาในปีเดียวกันพระเจ้าอัลเฟรดทรงเห็นทางที่จะบั่นทอนกำลังของชนชาวเดนส์โดยการปิดแม่น้ำ เมื่อกองทัพเดนส์เห็นว่าจะเพลี่ยงพล้ำก็ถอยไปทางตะวันตกเฉียงเหนือไปตั้งหลักระหว่างฤดูหนาวที่ [[บริดจ์นอร์ธ]] (Bridgenorth) ปีต่อมา [[ค.ศ. 896]] หรือ [[ค.ศ. 897]] กองทัพเดนส์ก็ถอยต่อไปยัง[[ราชอาณาจักรนอร์ทธัมเบรีย]]และบางส่วนไปยัง[[ราชอาณาจักรอีสต์อังเกลีย]] ผู้ที่ไม่มีถิ่นฐานในอังกฤษก็ถอยกลับไปผืนแผ่นดินใหญ่ยุโรป
 
== การจัดระบบการปกครองแผ่นดิน ==
หลังจากที่กำจัดกองทัพเดนส์ จากอังกฤษแล้วพระเจ้าอัลเฟรดก็ทรงหันความสนพระทัยไปในการปรับปรุง[[ราชนาวี]] เพื่อต่อต้านการรุกรานในบริเวณฝั่งทะเลเวสเซ็กซ์โดยชนชาวเดนส์จาก[[ราชอาณาจักรนอร์ทธัมเบรีย]]และ[[แคว้นอีสต์อังเกลีย]]และการขึ้นฝั่งจากทางยุโรปที่อาจจะเกิดขึ้นอีก การปรับปรุงทางนาวีครั้งนี้มิใช่การเริ่มก่อตั้ง[[ราชนาวีอังกฤษ]]ตามที่เข้าใจกัน พระเจ้าอัลเฟรดทรงเข้าร่วมสงครามทางทะเลหลายครั้งก่อนหน้านั้น เช่นทรงเข้าร่วมต่อสู้กับ[[พระเจ้าเอเธลวูล์ฟแห่งเวสเซ็กซ์]]พระราชบิดาในปี [[ค.ศ. 851]] และก่อนหน้านั้น ในปี [[ค.ศ. 833]] และ ในปี [[ค.ศ. 840]] [[พงศาวดารแองโกล-แซ็กซอน]]สรรเสริญว่าพระองค์เป็นผู้ก่อตั้งเรือแบบใหม่ตามแบบที่ทรงออกแบบเองซึ่งเป็นเรือที่เร็วกว่า มั่นคงกว่า และสูงกว่าเรือแบบที่เคยใช้กันมา แต่เรือแบบใหม่ที่ว่านี้มิได้ประสพความสำเร็จเท่าใดนักนอกไปจากว่ามีข่าวว่าติดเลนหรือโคลงเคลงระหว่างพายุ แต่จะอย่างไรก็ตามทั้ง[[ราชนาวีอังกฤษ]]และ[[รัฐนาวีสหรัฐอเมริกา]]ยกย่องให้พระเจ้าอัลเฟรดเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการวางพื้นฐานทางกองทัพเรือ
 
[[พงศาวดารแองโกล-แซ็กซอน]]บันทึกว่าพระเจ้าอัลเฟรดทรงแบ่งกองทัพที่ในการต่อสู้เป็นสองกอง ที่เรียกว่าระบบ “[[:en:Fyrd|Fyrd]]” เพื่อให้ “กองหนึ่งประจำอยู่ในที่ตั้งมั่นและอีกกองหนึ่งออกรบ” การจัดระบบสองกองทัพเช่นนี้เป็นการใช้กำลังคนเป็นจำนวนมาก ส่วนระบบการบริหารบ้านเมืองที่ซับซ้อนจะเห็นได้จากบันทึกที่พอน่าจะถือได้ ในปี [[ค.ศ. 892]] ที่กล่าวถึงตำแหน่งต่างๆ เช่น “thesaurius” “cellararius” “pincerna”—เจ้ากรมคลัง นายเสบียง และผู้รับใช้ แม้ว่าในปี [[ค.ศ. 893]]จะทรงพิโรธที่กองกำลังหนึ่งมายอมแพ้แก่กองทัพเดนส์เสียก่อนที่ทรงนำกองทัพที่สองขึ้นไปหนุนทัน แต่โดยทั่วไปแล้วระบบการปกครองและการบริหารของพระองค์ก็เป็นระบบที่มีสมรรถภาพดี
 
จุดอ่อนที่สุดจุดหนึ่งของระบบการป้องกันประเทศก่อนรัชสมัยของพระเจ้าอัลเฟรดก็คือเมื่อยามไม่มีศึกสงครามป้อมปราการต่างๆ ส่วนใหญ่ก็ถูกทิ้งร้างไว้โดยไม่มีทหารประจำการซึ่งทำให้[[ไวกิง]]เข้ายึดเป็นที่มั่นและตั้งเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญได้อย่างง่ายดาย พระเจ้าอัลเฟรดทรงปรับปรุงเปลี่ยนแปลงระบบการป้องกันเวสเซ็กซ์อย่างสิ้นเชิงโดยการก่อสร้างป้อมปราการทั่วไปในราชอาณาจักร ที่เรียกกันว่า “[[บะระห์]]” หรือ “boroughs” (โบโรห์) ระหว่างการขุดค้นทางโบราณคดีที่ [[เวเร็ม (ดอร์เซ็ท)]] (Wareham) , [[คริคเลด]] (Cricklade) , [[ลิดฟอร์ด]] (Lydford) และ [[วอลลิงฟอร์ด]] (Wallingford) พบว่าสถานที่ที่ขุดแต่ละแห่งเคยเป็นป้อมปราการหรือ “[[บะระห์]]” จากรัชสมัยของพระเจ้าอัลเฟรด หลักฐานเกี่ยวกับความรับผิดชอบในการประจำการและการดูแลป้อมโดยทหารอาชีพพบในต้นฉบับการบริหารที่บันทึกไว้ภายในเวลาเพียงยี่สิบปีหลังจากที่พระเจ้าอัลเฟรดเสด็จสวรรคตที่เรียกว่า “[[:en:Burghal Hidage|Burghal Hidage]]” หรืออาจจะบันทึกภายในสมัยของพระองค์เองด้วยซ้ำ บันทึกที่ว่านี้ทำให้เราทราบถึงพระราชนโยบายทางด้านการบริหารของพระองค์ เมื่อเปรียบเทียบระหว่าง[[ผังเมือง]]ของ [[เวเร็ม (ดอร์เซ็ท)]] และ [[วอลลิงฟอร์ด]] กับ [[วินเชสเตอร์]] แล้วจะเห็นว่าเป็นผังเมืองที่วางแบบเดียวกัน (วอร์มาลด์) ซึ่งสนับสนุนความคิดที่ว่าการวางผังเมืองใหม่นอกจากจะเป็นการวางผังเมืองสำหรับเป็นที่อยู่อาศัยและการค้าขายแล้วก็ยังคำนึงถึงความมั่นคงและความปลอดภัยของผู้อยู่อาศัยจากอันตรายจากภายนอกด้วย ซึ่งเป็นการดึงดูดประชากรอังกฤษให้เข้าไปตั้งหลักฐานในเมืองเหล่านี้มากขึ้นเพราะเป็นที่ๆ ปลอดภัยจาก[[ไวกิง]] และนอกจากนั้นก็ยังเป็นที่ทำรายได้ให้แก่แผ่นดินโดยการเก็บภาษีให้แก่พระมหากษัตริย์
 
นอกจากนั้นแล้วพระเจ้าอัลเฟรดยังทรงมีบทบาทสำคัญในการจัดระบบชุมชนโดยเฉพาะในบริเวณที่ถูกทำลายโดยเดนส์ และถึงแม้ว่าเราจะไม่ยอมรับบันทึกเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจใน “[[:en:Burghal Hidage|Burghal Hidage]]” เราก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าเมื่อทรงยึด[[แคว้นเมอร์เซีย]]จากไวกิง ระบบการปกครองแบบ “[[ไชร์]]” เป็นระบบที่เริ่มก่อตั้งเป็นครั้งแรก ซึ่งอาจจะเป็นที่มาของตำนานที่ว่าพระเจ้าอัลเฟรดทรงเป็นผู้ก่อตั้งระบบ “[[ไชร์|ระบบไชร์]]” ที่ประกอบด้วยจำนวนที่ที่ดินที่กำหนดไว้ ([[Hundred (division)|hundreds]]) และ “[[ระบบภาษีไทธ์]]” (Tithing) ความมีพระปรีชาสามารถในการบริหารและระบบยุติธรรมทำให้พระองค์ได้รับสมญานามว่า “ผู้พิทักษ์คนยาก” แต่ [[สภาวิททัน]] มิได้กล่าวถึงพระองค์เท่าใดนักแต่ที่แน่คือทรงยอมรับสิทธิของสภาแต่สภาวะการณ์ในเวลานั้นจะเน้นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์เป็นใหญ่ กฎหมายต่างๆ ของพระเจ้าอัลเฟรดเป็นกฎหมายที่ออกในปลายรัชสมัยหลังจากอันตรายจากเดนส์ลดน้อยลง นอกจากนั้นก็ยังทรงมีบทบาททางการเงินแต่ไม่มีรายละเอียดมากนัก
 
=== การปฏิรูปทางนิติบัญญัติ ===
พระราชกรณียกิจที่สำคัญที่สุดของพระเจ้าอัลเฟรดคือ[[กฎหมาย]]ที่เรียกว่า “Deemings” หรือ “บันทึกกฎหมาย” (Book of “Dooms”) [[วินสตัน เชอร์ชิลล์]]เชื่อว่ารากฐานของกฎหมายของพระเจ้าอัลเฟรดมาจากการผสมผสานของ [[กฏของโมเสส]] [[กฏของชนเคลท์]] และวัฒนธรรมและประเพณีดั้งเดิมของ[[แองโกล-แซ็กซอน]]<ref>เชอร์ชิลล์, วินสตัน: ชนชาติชาวเกาะ (The Island Race) , คอร์กิ, ลอนดอน, 1964, 2, หน้า 219</ref> ด็อคเตอร์ เอฟ เอ็น ลีแสดงความคล้ายคลึงระหว่างกฎหมายของพระเจ้าอัลเฟรดกับ[[กฏของโมเสส]]
<ref>เอฟ เอ็น ลี, [http://www.dr-fnlee.org/docs6/alfred/alfred.html พระเจ้าอัลเฟรดมหาราชและกฎหมาย Common Law] คณะประวัติศาสตร์ศาสนา สถาบันฝึกนักบวชเพรสไบทีเรียนแห่งควีนสแลนด์, บริสเบน, ออสเตรเลีย, สิงหาคม 2000</ref> แต่
[[ทอมัส เจฟเฟอร์สัน]] สรุปหลังจากศึกษาประวัติของกฎหมายอังกฤษว่า “[[กฎหมาย]]มีมาตั้งแต่ชน[[แองโกล-แซ็กซอน]]ยังเป็นผู้นอกรีต, เมื่อยังไม่เคยได้ยินพระนามของ[[พระเยซู]]หรือไม่รู้ว่าพระเยซูมีตัวตน” <ref>รายงานเกี่ยวกับกรณีที่ตัดสินโดยศาลทั่วไป ทอมัส เจฟเฟอร์สัน</ref> [[วินสตัน เชอร์ชิลล์]]กล่าวว่ากฎหมายของพระเจ้าอัลเฟรดมาขยายความโดยชนรุ่นหลังจนกลายมาเป็นกฎหมายที่ใช้ในการบริหาร[[ระบบไชร์]]และ “ระบบศาลฮันเดรด” (The Hundred Courts) ซึ่งในที่สุดก็นำมาสู่ [[กฏบัตรแห่งเสรีภาพ]] (Charter of Liberties) พระราชทานโดย[[พระเจ้าเฮนรีที่ 1 แห่งอังกฤษ]]เมื่อปี [[ค.ศ. 1100]]
 
== การต่างประเทศ ==
[[แอสเซอร์]]สรรเสริญพระเจ้าอัลเฟรดในด้านความสัมพันธ์กับต่างประเทศอย่างเลิศเลอแต่ก็มีหลักฐานเพียงเล็กน้อยสนับสนุนพระปรีชาสามารถทางด้านนี้ ตัวอย่างของความสนพระทัยในด้านนี้คือที่ทรงแปลหนังสือของ[[โอโรเซียส]] (Orosius) และที่แน่คือทรงเขียนพระสาส์นติดต่อกับพระสังฆราชอีไลอัสที่ 3 พระสังฆราชออร์ธอด็อกซ์แห่ง[[เยรุซาเล็ม]]และอาจจะทรงส่งผู้แทนไป[[ประเทศอินเดีย]] นอกจากนั้นก็ยังทรงการติดต่อกับ[[กาหลิป]]ที่[[แบกแดด]] สถานทูตที่[[โรม]]บันทึกถึงทานที่ทรงส่งมาจากอังกฤษมาให้พระสันตะปาปาอย่างสม่ำเสมอ ประมาณปี [[ค.ศ. 890]] [[วูลฟสตันแห่งไฮธาบู]] (Wulfstan of Haithabu) เดินทางจากไฮธาบูที่[[แหลมจัตแลนด์]]เลียบฝั่ง[[ทะเลบอลติค]]ไปยังเมืองพานิชย์[[ทรูโซ]]ใน[[ปรัสเซีย]]โดยที่พระเจ้าอัลเฟรดทรงกำชับให้ส่งรายงานการเดินทางอย่างละเอียดกลับมาถึงพระองค์
 
หลักฐานด้านความสัมพันธ์ระหว่างพระเจ้าอัลเฟรดกับเจ้าชายเคลติคทางตะวันตกของอังกฤษเห็นได้ชัดกว่า เมื่อต้นรัชสมัยตามคำกล่าวของ[[แอสเซอร์]]เจ้าผู้ครองบริเวณต่างๆ ใน[[เวลส์]]ตอนใต้ และ[[แคว้นเมอร์เซีย]] เข้าเป็นพันธมิตรกับพระเจ้าอัลเฟรด ต่อมาในปลายรัชสมัยเจ้าผู้ครองใน[[เวลส์]]ทางตอนเหนือก็ทำเช่นเดียวกันและต่อมาเข้าร่วมรบกับอังกฤษในปี [[ค.ศ. 893]] หรือ ปี [[ค.ศ. 894]] นอกไปจากนั้นก็ยังทรงส่งทานไปยังสำนักสงฆ์ต่างๆ ใน[[ไอร์แลนด์]]และยุโรป ซึ่งอาจจะเป็นเพียงข้อเขียนของ[[แอสเซอร์]]เท่านั้น แต่การมาเยือนของนักแสวงบุญไอริชสามคนในปี [[ค.ศ. 891]] เป็นเรื่องจริง ตำนานที่ว่าพระองค์ถูกส่งไปให้นักบุญมอดเว็นนารักษาที่ไอร์แลนด์อาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้มีความผูกพันกับเกาะนี้
 
== ศาสนาและวัฒนธรรม ==
หลักฐานเกี่ยวกับพระเจ้าอัลเฟรดและ[[คริสต์ศาสนา]]มีเพียงเล็กน้อย การรุกรานของชนชาวเดนส์ทำความเสียหายแก่สำนักสงฆ์เป็นจำนวนมาก แม้ว่าจะทรงสร้างสำนักสงฆ์สองสามแห่งและนิมนต์พระจากยุโรปมาอังกฤษก็มิได้ทำให้สำนักสงฆ์ในอังกฤษฟื้นตัวขึ้นเท่าใดนัก นอกไปจากการทำลายคริสต์ศาสนสถาบันแลัวก็ยังมีผลกระทบกระเทือนต่อการศึกษา โดยเฉพาะทำให้อังกฤษขาดแคลนผู้รู้ภาษาละติน ซึ่งอาจจะเป็นแรงบันดาลใจให้พระเจ้าอัลเฟรดทรงเริ่มการแปลหนังสือ
 
บรรทัด 77:
นอกไปจาก “Handboc” หรือ “Encheiridion” ที่สูญหายไปที่เป็นหนังสือที่ทรงเป็นเจ้าของแล้วงานแปลชิ้นแรกที่สุดในรัชสมัยคือ “บทสนทนาของนักบุญเกรกอรี” (Dialogues of Gregory) ซึ่งเป็นหนังสือที่นิยมกันใน[[ยุคกลาง]] ผู้แปลคือ [[เวอร์เฟิร์ธ]] (Werferth) บาทหลวงแห่งวูสเตอร์พระสหายสนิทของพระองค์ ส่วนพระองค์เองเพียงทรงประพันธ์คำนำ งานชิ้นต่อมาคือ “Pastoral Care” แปลโดยเฉพาะสำหรับนักบวชประจำท้องถิ่น หนังสือแปลฉบับนี้แปลตรงกับต้นฉบับอย่างใกล้ชิดแต่ที่สำคัญก็คือบทนำที่ทรงประพันธ์ที่ถือกันว่าเป็นเอกสารที่สำคัญที่สุดในรัชสมัยหรือสำคัญที่สุดชิ้นหนึ่งของประวัติศาสตร์อังกฤษ งานอีกสองชิ้นต่อมา “ประวัติศาสตร์ทั่วไป” ของ [[โอโรเซียส]] และ “[[ประวัติศาสตร์เกี่ยวกับศาสนาของชนอังกฤษ]]” (Historia ecclesiastica gentis Anglorum) โดย[[นักบุญบีด]] เล่มแรก “ประวัติศาสตร์ทั่วไป” พระเจ้าอัลเฟรดทรงแก้ไขต่อเติมจากต้นฉบับมากจนเกือบจะเรียกได้ว่าเป็นงานชิ้นใหม่ แต่งานแปลจากบันทึกของบีดทรงยึดต้นฉบับอย่างใกล้เคียงและมิได้ทรงต่อเติมเนื้อหาใดๆ แต่ความเชื่อที่ว่าพระเจ้าอัลเฟรดทรงเป็นผู้แปลหนังสือของบีดจริงหรือไม่ยังเป็นที่น่าเคลือบแคลง
 
งานแปลของพระองค์ “ปรัชญาทั่วไป” (The Consolation of Philosophy) โดย [[อันนิเซียส แมนเลียส เซเวรินัส โบเธียส]] (Anicius Manlius Severinus Boethius) ถือกันว่าเป็นงานแปลคู่มือปรัชญาชิ้นที่นิยมกันที่สุดในยุคกลาง งานแปลฉบับนี้เป็นฉบับที่ไม่ทรงแปลตรงตามต้นฉบับทั้งหมดแต่ด็อคเตอร์ จี เช็พส์แสดงให้เห็นว่าส่วนที่แตกต่างไปจากต้นฉบับมิได้มาจากคำแปลของพระองค์ แต่มาจากความเห็นของหนังสือที่ทรงใช้ แต่อย่างไรก็ตามผลงานนี้ก็ยังแสดงถึงความมีพระปรีชาสามารถของพระองค์ หนังสือที่ตกมาถึงปัจจุบันเป็นต้นฉบับสองเล่ม ในเล่มหนึ่ง<ref>Oxford Bodleian Library MS Bodley 180</ref> เป็นงานร้อยแก้วอีกฉบับหนึ่ง<ref>British Library Cotton MS Otho A. vi</ref>เป็นงานผสมระหว่างร้อยแก้วและร้อยกรอง งานชิ้นหลังได้รับความเสียหายมากในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19<ref>เควิน เอส เคียร์นัน “[http://www.uky.edu/~kiernan/iconic/iconic.htm Alfred the Great's Burnt ''Boethius'']” ในบอร์นสไตน์, จอร์จและเทรีซา ทิงเคิล, บรรณาธิการ “หน้าสำคัญในวัฒนธรรมต้นฉบับ, สิ่งพิมพ์ และดิจิตัล” (The Iconic Page in Manuscript, Print, and Digital Culture) (แอน์ อาร์เบอร์: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมิชิแกน, 1998) </ref> แต่ผู้แปลส่วนที่เป็นร้อยกรองที่แท้จริงเป็นใครก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่แต่เชื่อกันว่าเป็นงานของพระเจ้าอัลเฟรด ในบทนำทรงบันทึกว่าทรงเขียนส่วนที่เป็นร้อยแก้วก่อนและใช้เป็นฐานในการเขียนส่วนที่เป็นร้อยกรอง “Lays of Boethius” ซึ่งถือว่าเป็นงานทางวรรณกรรมที่สำคัญที่สุดของพระองค์ พระเจ้าอัลเฟรดทรงใช้การเขียนหนังสือเป็นการผ่อนคลายในยามที่ทรงเครียดกับสถานะการณ์บ้านเมือง
 
งานชิ้นสุดท้ายของพระเจ้าอัลเฟรดมีชื่อว่า “Blostman” หรือ “Blooms” หรือ “หนังสือรวมบทประพันธ์” (Anthology) ครึ่งแรกมีพื้นฐานมาจากข้อเขียนของ[[นักบุญออกัสตินแห่งฮิปโป]] ที่เหลือมาจากแหล่งข้อมูลอื่นๆ และเป็นบทประพันธ์ที่บ่งบอกถึงลักษณะส่วนพระองค์ของพระองค์อย่างเด่นชัด ข้อเขียนสุดท้ายคำกล่าวที่เหมาะสมกับผู้เป็นวีรบุรุษเช่นพระองค์ “Therefore he seems to me a very foolish man, and truly wretched, who will not increase his understanding while he is in the world, and ever wish and long to reach that endless life where all shall be made clear.”
บรรทัด 95:
!width="16%"|พระนาม!! width="14%"|พระราชสมภพ!! width="20%"|สวรรคต!! width="60%"|หมายเหตุ
|-
|'''[[เอเธลเฟลด]]'''<br> (Æthelflæd)||||ค.ศ. 918||เสกสมรส ค.ศ. 889, เอเธลเรด ขุนนางแห่งเมอร์เซีย เสียชีวิต ค.ศ. 910<br>มีโอรสธิดาด้วยกัน
|-
|'''[[พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้อาวุโส|เอ็ดเวิร์ด]]'''||ค.ศ. 870||17 กรกฎาคม ค.ศ. 924||เสกสมรส (1) Ecgwynn, (2) Ælfflæd<br> (3) ค.ศ. 919 [[เอ็ดจิวาแห่งเค้นท์]] (Edgiva of Kent)
|-
|'''เอเธลจิวา'''<br> (Æthelgiva)||||||แม่ชีเจ้าอาวาสที่ชาฟสบรี
|-
|'''[[เอลฟริธ เคานท์เตสแห่งฟลานเดอร์ส|เอลฟริธ]]'''<br> (Ælfthryth)||||ค.ศ. 929||เสกสมรส [[บอลด์วินที่ 2 เคานท์แห่งฟลานเดอร์]] มีโอรสธิดาด้วยกัน
|-
|'''[[เอเธลเวียรด]]'''<br> (Æthelwærd)||||16 ตุลาคม ค.ศ. 922|| เสกสมรสและมีโอรสธิดาด้วยกัน
|-
|}
บรรทัด 113:
<div class="NavContent" >
<center>{{ahnentafel-compact5
| style = font-size: 120%; line-height: 110%;
| border = 1
| boxstyle = padding-top: 0; padding-bottom: 0;
| boxstyle_1 = background-color: #fcc;
| boxstyle_2 = background-color: #fb9;
| boxstyle_3 = background-color: #ffc;
| boxstyle_4 = background-color: #bfc;
| boxstyle_5 = background-color: #9fe;
| 1 = 1. '''พระเจ้าอัลเฟรดมหาราช'''
| 2 = 2. [[พระเจ้าเอเธลวูลฟแห่งเวสเซ็กซ์]]
| 3 = 3. [[ออสเบอร์กา]]
| 4 = 4. [[Egbert of Wessex]]
| 5 = 5. [[Redburga]]
| 6 = 6. Oslac
| 8 = 8. [[Ealhmund of Kent]]
| 16 = 16. [[Eafa]]
}}</center>
</div></div>
 
== บั้นปลายพระชนม์ชีพ ==
พระเจ้าอัลเฟรดเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ [[26 ตุลาคม]]แต่จะในปีใดก็ไม่เป็นที่ทราบแน่นอน ซึ่งอาจจะไม่ใช่ ค.ศ. 901 ตามที่บ่งใน “[[พงศาวดารแองโกล-แซ็กซอน]]” และจะด้วยพระโรคใดก็ไม่เป็นที่ทราบแน่นอนเช่นกัน แต่ตลอพระชนม์ชีพพระองค์ก็ประชวรด้วยพระอาการหลายอย่างซี่งอาจจะเป็นพระโรค “[[Crohn's Disease]]” ซึ่งเป็นโรคเกี่ยวกับ[[ระบบย่อยอาหาร]]ก็ได้ หลังจากเสด็จสวรรคตพระบรมศพถูกนำไปเก็บไว้ชั่วคราวที่มินส์เตอร์เก่าที่[[วินเชสเตอร์]] ต่อมาก็อัญเชิญไปที่มินส์เตอร์ใหม่ซึ่งอาจจะสร้างสำหรับบรรจุพระบรมศพโดยเฉพาะ เมื่อมินส์เตอร์ใหม่ย้ายไปตั้งอยู่ที่ไฮด์ทางด้านเหนือของตัวเมืองในปี [[ค.ศ. 1110]] พระจากวัดใหม่ก็ย้ายตามไปที่[[แอบบีไฮด์]]ด้วยพร้อมกับพระบรมศพ ในรัชสมัยของ[[พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ|พระเจ้าเฮนรีที่ 8]] ที่ฝังพระศพก็ถูกปล้นโดยเจ้าของวัดใหม่ โลงพระศพถูกหลอมเอาตะกั่ว พระศพที่เหลือก็ถูกฝังอย่างไม่มีพิธีรีตองในลานวัด แต่หลุมพระศพถูกขุดขึ้นมาอีกครั้งระหว่างการสร้างคุกใหม่ในปี [[ค.ศ. 1788]] ทำให้กระดูกกระจัดกระจายไปหมด แต่กระดูกที่พบในบริเวณคล้ายเคียงกันในคริสต์ทศวรรษ 1860 ได้รับการประกาศว่าเป็นกระดูกของพระองค์ ในการขุดค้นทางโบราณคดีในปี [[ค.ศ. 1999]] ในหลุมที่เชื่อว่าเป็นหลุมของพระองค์ พระชายาและพระโอรสแทบจะไม่พบซากใดๆ ในหลุม<ref>{{cite book |last=ดอดสัน |first=ไอดัน |title=ที่ฝังพระศพหลวงในสหราชอาณาจักร |publisher=ดัคเวิร์ธ |date=2004 |location=ลอนดอน}}</ref>
 
สถาบันการศึกษาหลายแห่งในอังกฤษใช้พระนามของพระองค์เป็นชื่อสถาบัน ซึ่งได้แก่:
 
* [[มหาวิทยาลัยวินเชสเตอร์]] ใช้ชื่อ “King Alfred's College, Winchester” ระหว่างปี ค.ศ. 1840 ถึงปี ค.ศ. 2004 แต่มาเปลี่ยนเป็น “University College Winchester”
* “[[มหาวิทยาลัยอัลเฟรด]]” และ “[[วิทยาลัยรัฐอัลเฟรด]]” ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านอัลเฟรดที่นิวยอร์ก
* เพื่อเป็นเกียรติให้แก่พระองค์[[มหาวิทยาลัยลิเวอร์พูล]]ก่อตั้งตำแหน่ง “King Alfred Chair of English Literature”
* “วิทยาลัยพระเจ้าอัลเฟรด” เป็นชื่อโรงเรียนมัธยมที่แวนเทจในอ็อกฟอร์ดเชอร์ที่เกิดของอัลเฟรด
* “King's Lodge School” ที่ชิพเพ็นนัมใน[[แคว้นวิลท์เชอร์]]กล่าวว่าใช้ชื่อเพราะเชื่อกันว่าเป็นที่ทรงใช้ล่าสัตว์
* “King Alfred School” ที่บาร์เน็ต, นอร์ธลอนดอน
 
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง|2}}
 
== บรรณานุกรม ==
{{เริ่มอ้างอิง}}
* แพรท, เดวิด: “ความคิดเห็นทางการเมืองของพระเจ้าอัลเฟรดมหาราช” (ชุดการศึกษาเกี่ยวกับชีวิตและความคิดในยุคกลาง (เคมบริดจ์) : ชุดที่ 4, ค.ศ. 2007) ISBN 9780521803502
* พาร์เคอร์, โจแอนน์: “ดาราที่รักของอังกฤษ: ลัทธินิยมพระเจ้าอัลเฟรดมหาราชในสมัยวิคตอเรีย”, ค.ศ. 2007, ISBN 9780719073564
* พอลลาร์ด, จัสติน: “อัลเฟรดมหาราช: ผู้สร้างอังกฤษ”, ค.ศ. 2006, ISBN 0719566665
* ฟราย, เฟรด: “โครงสร้างของอำนาจ: ยุทธการทางการทหารของอัลเฟรดมหาราช”, ค.ศ. 2006, ISBN 9781905226931
* จาล์ยส์, เจ เอ (บรรณาธิการ) : “พระราชกรณียกิจของพระเจ้าอัลเฟรดมหาราช” (ฉบับจูบิลี, 3 เล่ม, อ็อกฟอร์ดและเคมบริดจ์, ค.ศ. 1858)
* “พระราชกรณียกิจของพระเจ้าอัลเฟรดมหาราช, พร้อมทั้งบทความที่แสดงให้เห็นถึงประวัติศาสตร์, ศิลปะ และ ความเป็นอยู่ในคริสต์ศตวรรษที่ 9”, ค.ศ. 1969, OCLC 28387
{{จบอ้างอิง}}
 
บรรทัด 167:
{{เริ่มอ้างอิง}}
{{Commonscat-inline|Alfred the Great|สมเด็จพระเจ้าอัลเฟรดมหาราช}}
* [http://www.treasurehunting.tv/king_alfred.htm พระราชประวัติของพระเจ้าอัลเฟรดแปลโดยด็อคเตอร์ เจ เอ จาล์ยส์ (ลอนดอน, 1847)]
* ประวัติศาสตร์บริทานเนีย [http://britannia.com/history/docs/asser.html พระราชประวัติของพระเจ้าอัลเฟรดโดยบาทหลวงแอสเซอร์]
* [http://www2.meridiantv.com/itvlocal/index.htm?channel=Documentaries&void=29337 สารคดี - การก่อตั้งอังกฤษ:พระเจ้าอัลเฟรด]
* [http://www.englishmonarchs.co.uk/saxon_6.htm พระราชประวัติของพระเจ้าอัลเฟรดพร้อมภาพประกอบ]
* [http://www.royal.gov.uk/output/Page25.asp พระเจ้าอัลเฟรดมหาราช]
* [http://www.royal.gov.uk/ เว็บไซต์ทางการของพระราชวงศ์อังกฤษ]
* [http://www.mirror.org/ken.roberts/king.alfred.html พระเจ้าอัลเฟรดมหาราช]
* [http://www.mirror.org/ken.roberts/alfred.jewel.html อัญมณีของพระเจ้าอัลเฟรดมหาราช]
* [http://www.berkshirehistory.com/bios/alfred.html ประวัติศาสตร์บาร์คเชอร์: พระเจ้าอัลเฟรดมหาราช]
* [http://www.wantage.com/museum/Local_History/Alfred's%20Palace_amended_.pdf พระราชวังของพระเจ้าอัลเฟรดมหาราช]
{{จบอ้างอิง}}