ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รางวัลเสาเสมาธรรมจักร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Poonyo (คุย | ส่วนร่วม)
เพิ่มหมวดหมู่:พุทธศาสนา; ลบป้ายต้องการหมวดหมู่ออก ด้วยสจห.
Tmd (คุย | ส่วนร่วม)
เปลี่ยนไปใช้เลขอารบิก
บรรทัด 1:
{{พุทธศาสนา}}
 
'''รางวัลเสาเสมาธรรมจักร''' เป็นรางวัลเกียรติยศที่มอบให้แก่บุคคล หรือหน่วยงานที่ทำคุณประโยชน์ต่อ[[พระพุทธศาสนา]] และมีสิทธิ์ได้รับเพียงครั้งเดียวเพราะถือว่าสูงสุดในชีวิตแล้ว
เส้น 6 ⟶ 7:
รางวัลเสาเสมาธรรมจักร สร้างจากวัสดุธรรมดาทั่วไป เช่น หล่อด้วยเรซินแล้วปิดทอง โดยจะมีพิธีมอบรางวัลแด่ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา ในงานสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนา เนื่องในเทศกาล[[วิสาขบูชา]] ของทุก ๆ ปี
 
== ความเป็นมาของการมอบรางวัลเสาเสมาธรรมจักร ==
 
การคัดเลือกผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา เริ่มในปี 2525 ซึ่งเป็นปีแรกของการคัดเลือก และได้เว้นว่างไป 1 ปี จนถึงปี 2527 ซึ่งเป็นปีที่มีการก่อตั้งศูนย์ส่งเสริมพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย กรมการศาสนาร่วมกับศูนย์ส่งเสริม ฯ จึงได้นำโครงการคัดเลือกผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนาขึ้นมาพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง จากการคัดเลือกผู้ทำคุณต่อพระพุทธศาสนา ตั้งแต่ปี 2525 – ปัจจุบัน มีผู้ได้ผ่านการคัดเลือกทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ จำนวน 2,758 รูป/คน
 
== การพิจารณามอบรางวัลเสาเสมาธรรมจักร ==
 
รางวัลเสาเสมาธรรมจักร จึงเป็นรางวัลเกียรติยศสูงสุดที่คณะกรรมการฝ่ายคัดเลือกผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา พิจารณามอบให้แก่ผู้ที่ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา เพื่อส่งเสริมยกย่องคุณความดีและประกาศเกียรติคุณแด่บุคคล องค์กร และหน่วยงาน ที่บำเพ็ญประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนาให้ปรากฏแก่พุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป เป็นแบบอย่างแก่สังคมและเยาวชนของชาติ เป็นเกียรติ เป็นกำลังใจในการเผยแผ่ พระพุทธศาสนา ซึ่งได้ผ่านการเสนอชื่อการพิจารณาคัดเลือกกลั่นกรองจากคณะอนุกรรมการ และการอนุมัติจากคณะกรรมการฝ่ายคัดเลือกในโครงการสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนา เนื่องในเทศกาลวิสาขบูชา
 
ผู้ควรแก่รางวัลจะได้รับพระราชทานเสาเสมาธรรมจักร พร้อมด้วยประกาศเกียรติคุณจากสมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งเสด็จ ฯ เป็นองค์ประธานเปิดงานสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนา เนื่องในเทศกาล วิสาขบูชา ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวงเป็นประจำทุกปี
 
หน่อยงานที่รับผิดชอบการพิจารณามอบรางวัลเสาเสมาธรรมจักร ปัจจุบันอยู่ที่กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม โดยจะมีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการพิเศษเพื่อพิจารณาผู้สมควรได้รับรางวัลขึ้นใหม่ทุกปี โดยแบ่งพิจารณาเป็น 10 สาขา เช่น สาขาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศ สาขาการแต่งหนังสือทางพระพุทธศาสนา เป็นต้น การคัดเลือกผู้สมควรได้รับรางวัลมีสองวิธีการคือ พิจารณาจากผู้ทำประโยชน์ผู้ที่มีชื่อเสียง และคัดเลือกจากเอกสารที่ผู้เสนอขอตามลำดับชั้นจากสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดขึ้นมา โดยแบ่งเป็นจังหวัดละ 1 หรือ 2 รางวัล ตามแต่ขนาดของประชากรในจังหวัด โดยไม่มีการแยกฆราวาสหรือพระภิกษุ ทำให้บางครั้งการได้รับรางวัลของฆราวาสหรือพระภิกษุในบางปี ในบางจังหวัด จะตกอยู่ที่ผู้ใกล้ชิดกับการปกครองคณะสงฆ์หรือข้าราชการฝ่ายปกครองระดับจังหวัด เพราะการพิจารณาจากคณะกรรมการที่จังหวัดแต่งตั้ง สามารถเสนอได้เพียง 1 หรือ 2 รางวัล ตามแต่เกณฑ์ที่กำหนดไว้ จึงทำให้พระสงฆ์หรือฆราวาสที่ส่งเอกสารหรือไม่ทราบความเคลื่อนไหวการเสนอขอ หรือพระสงฆ์หรือฆราวาสที่ตั้งใจทำงานเพื่อพระพุทธศาสนาที่ไม่สนใจทำเรื่องเสนอขอรางวัล ไม่ได้รับเลือกให้ได้รับรางวัลเสาเสมาธรรมจักร อย่างที่ควรจะเป็น
 
== ประเภทของการคัดเลือกผู้สมควรได้รับรางวัลเสาเสมาธรรมจักร ==
 
สืบเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2525 – ปัจจุบัน มีการปรับเพิ่มประเภทตามที่คณะกรรมการ ฯ กำหนด ในปี พ.ศ. 2549 คณะกรรมการฝ่ายคัดเลือกผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา ได้แบ่งประเภทการคัดเลือกออกเป็น 10 ประเภท คือ
 
# ประเภทส่งเสริมการศึกษาพระพุทธศาสนา
# ประเภทการศึกษาสงเคราะห์
# ประเภทส่งเสริมการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
# ประเภทส่งเสริมการปฏิบัติธรรม
# ประเภทส่งเสริมกิจการคณะสงฆ์
# ประเภทสงเคราะห์ประชาชนและส่งเสริมการพัฒนาชุมชนโดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
# ประเภทส่งเสริมและอนุรักษ์วัฒนธรรมมรดกไทยทางพระพุทธศาสนา
# ประเภทสื่อมวลชนที่ส่งเสริมพระพุทธศาสนา
# ประเภทสมาคม องค์กร มูลนิธิ สถาบัน และหน่วยงานที่มีกิจกรรมส่งเสริมพระพุทธศาสนา
# ประเภทผู้ประกอบอาชีพที่มีคุณธรรมและส่งเสริมพระพุทธศาสนา
 
== ดูเพิ่ม ==
* [[วันวิสาขบูชา]]
* [[กรมการศาสนา]]
 
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
 
[[หมวดหมู่:รางวัลทางพระพุทธศาสนาในประเทศไทย]]
[[หมวดหมู่:พุทธศาสนา]]