ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัฒนธรรมดงเซิน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Cakra (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Cakra (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 14:
 
คำอธิบายดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากผลงานของนักโบราณคดีชาวเวียดนาม ซึ่งได้ค้นพบว่ากลองมโหระทึกที่เก่าแก่ที่สุดมีความเกี่ยวข้องทางด้านรูปร่างและลวดลายกับ[[เครื่องปั้นดินเผา]]ของวัฒนธรรม Phung Nguyen นักวิชาการยังไม่สามารถสรุปได้ว่ากลองมโหระทึกมีไว้ใช้ทำอะไร ระหว่างพิธีกรรมทางศาสนาหรือเหตุผลอื่น ๆ ลวดลายแกะสลักต่าง ๆ ที่พบบนกลองนั้นทำให้พิจารณาได้ว่ากลองมโหระทึกเป็นกลองที่ใช้เป็นเหมือนปฏิทินบอกฤดูกาล(?) ข้อสนใจอีกประการหนึ่งก็คือ ในลวดลายที่สลักอยู่บนกลองนั้น มีรูปม้วน[[กระดาษ]]อยู่ด้วย ซึ่งอาจจะบ่งชี้ได้ว่ากลุ่มคนที่เป็นเจ้าของวัฒนธรรมดงเซินเป็นชนกลุ่มแรกที่รู้จักวิธีการผลิตกระดาษ แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งเหล่านี้ยังเป็นเพียงทฤษฎีที่นำเสนอโดยนักวิชาการชาวเวียดนามเท่านั้น
 
=== การแพร่กระจายของวัฒนธรรมดงเซิน ===
การค้นพบกลองขนาดใหญ่ที่แกะสลักอย่างประณีตในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เมื่อช่วงปลาย[[ศตวรรษที่ 17]] นั้น ได้กระตุ้นความสนใจของนักวิชาการชาวตะวันตกเกี่ยวกับพื้นที่นี้ในฐานะที่มีวัฒนธรรมแรก ๆ ทำรู้จักการใช้สำริด กลองมโหระทึกที่พบนั้นมีขนาดหลากหลายแตกต่างกันไป ตั้งแต่เส้นผ่าศูนย์กลางไม่กี่นิ้วจนไปถึงหกฟุต โดยที่กลองดังกล่าวนั้นเป็นผลผลิตของวัฒนธรรมดงเซินที่พบได้ทั่ว ๆ ไป ทะ้งในเวียดนามเอง และทางตอนใต้ของจีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้บนคาบสมุทร รวมทั้งในสุมาตรา ชวา บาหลี และอีเรียน จายา