ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การเสริมแรง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 2:
== การเสริมแรง ( Reinforcement)==
การเสริมแรง คือการทำให้ความถี่ของพฤติกรรมเพิ่มขึ้น อันเป็นผลเนื่องมาจากผลกรรมที่ตามหลังพฤติกรรมนั้น
 
1. การเสริมแรงทางบวก ( Positive Reinforcement)หมายถึง สิ่งของ คำพูด หรือสภาพการณ์ที่จะช่วยให้พฤติกรรมเกิดขึ้นอีก หรือสิ่งทำให้เพิ่มความน่าจะเป็นไปได้ของการเกิดพฤติกรรม
 
 
2. การเสริมแรงทางลบ (Negative Reinforcement) หมายถึง การเปลี่ยนสภาพการณ์หรือเปลี่ยนแปลงบางอย่างก็อาจจะทำให้บุคคลแสดงพฤติกรรมได้
 
 
การเสริมแรงทางลบเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมใน 2 ลักษณะคือ
 
 
1. พฤติกรรมหลีกหนี (Escape Behavior)
 
 
2. พฤติกรรมหลีกเลี่ยง(Avoidance Beh.)
 
== จากการวิจัยเกี่ยวกับการเสริมแรงสกินเนอร์ได้แบ่งการให้แรงเสริมเป็น 2 ชนิดคือ ==
 
จากการวิจัยเกี่ยวกับการเสริมแรงสกินเนอร์ได้แบ่งการให้แรงเสริมเป็น 2 ชนิดคือ
 
 
1 การเสริมแรงทุกครั้ง คือการให้แรงเสริมแก่บุคคลเป้าหมายที่แสดงพฤติกรรมที่กำหนดไว้ทุกครั้ง
 
 
2 การเสริมแรงเป็นครั้งคราว คือไม่ต้องให้แรงเสริมทุกครั้งที่บุคคลเป้าหมายแสดงพฤติกรรม
ตารางการเสริมแรง
 
 
1. การเสริมแรงตามอัตราส่วนที่แน่นอน Fixed-Ratio (FR)
 
2. การเสริมแรงตามอัตราส่วนที่ไม่แน่นอน Variable-Ratio (VR)
 
3. เสริมแรงตามช่วงเวลาที่แน่นอน Fixed-Interval (FI)
 
 
4. การเสริมแรงตามช่วงเวลาที่ไม่แน่นอน Variable-Interval (VI)
 
 
== วิธีการเสริมแรง ==
 
 
1. การเสริมแรงแบบทุกครั้ง เช่น การเสริมแรงเกิดขึ้นทุกครั้งที่เด็ก ล้างมือก่อนรับประทานอาหาร
 
 
2 . การเสริมแรงตามช่วงเวลาที่แน่นอน เช่น การเสริมแรงทุก ๆ 1 ชั่วโมงหลังจากทำพฤติกรรมไปแล้ว
 
 
3. การเสริมแรงตามช่วงเวลาที่ไม่แน่นอน เช่น บางทีก็ให้เสริมแรง 1 ชั่วโมง บางทีก็ให้เสริมแรง 2 ชั่วโมง
 
 
4. ครั้งที่แน่นอน เช่น แสดงพฤติกรรมออกกำลังกาย 3 ครั้ง ให้การเสริมแรง 1 ครั้ง
 
 
5. การเสริมแรงตามจำนวนครั้งที่ไม่แน่นอนหรือแบบสุ่ม (Random) คือ บางครั้งก็ให้การเสริมแรง บางครั้งก็ไม่ให้การเสริมแรง
 
 
== สรุปแนวคิดที่สำคัญของนักจิตวิทยาการศึกษา ดังนี้ ==
 
 
1. ธอร์นไดค์ (Thorndike) ให้ข้อสรุปว่า การเสริมแรง จะช่วยให้เกิดความกระหายใคร่รู้เกิดความพอใจ และนำไปสู่ความสำเร็จ
 
 
2. สกินเนอร์ (Skinner) กล่าวว่า "การเสริมแรง จะเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้บุคคลแสดงพฤติกรรมซ้ำ และพฤติกรรมของบุคคลส่วนใหญ่ จะเป็นพฤติกรรมการเรียนรู้แบบปฏิบัติ (Operant Learning) และพยายามเน้นว่า การตอบสนองต่อสิ่งเร้าใดๆ ของบุคคล สิ่งเร้านั้นจะต้องมีสิ่งเสริมแรงอยู่ในตัว หากลดสิ่งเสริมแรงลงเมื่อใด การตอบสนองจะลดลงเมื่อนั้น"
 
 
3. กัทธรี (Grthrie) เชื่อว่าการเรียนรู้ จะเป็นผลมาจากสิ่งเร้าและการตอบสนองซึ่งเมื่อเกิดขึ้นพร้อมๆ กัน สิ่งเร้าทุกอย่างย่อมจะมีลักษณะที่เร้า และก่อให้เกิดพฤติกรรมได้ทั้งหมด ดังนั้นการเสริมแรงไม่จำเป็นต้องนำมาใช้สำหรับการตอบสนอง
 
 
4. ฮัล (Hull) เชื่อว่า การเสริมแรงเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง ม่มีการเรียนใดๆ ที่มีความสมบูรณ์ การเรียนรู้เป็นลักษณะของการกระทำที่ต่อเนื่องกัน จะค่อยๆ สะสมขึ้นเรื่อยๆ การเสริมแรงทุกครั้งจะทำให้การเรียนรู้เพิ่มประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
 
 
== หลักการและแนวคิดที่สำคัญของการเสริมแรง ==
 
 
1. การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยการเสริมแรง การเสริมแรงทางบวกจะดีกว่าทางลบ
 
 
2. การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยความใกล้ชิดระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง
 
 
3. การเสริมแรงมีหลายวิธี อาจใช้วัตถุสิ่งของ หรือถ้อยคำที่แสดงความรู้สึกก็ได้ ที่สามารถสร้างบรรยากาศกระตุ้นให้ความพึงพอใจให้เกิดความสำเร็จหรือเครื่องบอกผลการกระทำว่าถูกผิด และอาจเป็นการส่งเสริมให้เกิดการเสริมแรงต่อ ๆ ไป
 
 
4. การเสริมแรงควรจะต้องให้สม่ำเสมอ นอกจากนั้นหลักการเสริมแรงยังทำให้สามารถปรับพฤติกรรมได้
 
 
5. ควรจะให้การเสริมแรงทันที ที่มีการตอบสนองได้อย่างถูกต้อง ซึ่งควรจะเกิดขึ้นภายใน ประมาณ 10 วินาที ถ้าหากมีการตอบสนองที่ต้องการซ้ำหลายครั้งๆ ก็ควรเลือกให้มีการเสริมแรงเป็นบางคราว แทนที่จะเสริมแรงทุกครั้งไป
 
 
6. ควรจะจัดกิจกรรมการเรียน ให้เป็นไปตามลำดับ จากง่ายไปยาก และเป็น ตอนสั้นๆ ที่สอดคล้องกับความสามารถของผู้เรียน