ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แฟร์มีแล็บ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
2T (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
2T (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 8:
ปัจจุบันแฟร์มีแล็บปฏิบัติงานโดยหน่วยงานที่ชื่อว่า Fermi Research Alliance (สหพันธ์เพื่อการวิจัยแฟร์มี) ซึ่งเป็น[[กิจการร่วมค้า|หน่วยงานความร่วมมือ]]ระหว่าง [[มหาวิทยาลัยชิคาโก]] กับ Universities Research Association (URA) ซึ่งเป็นการรวมตัวของห้องวิจัยจาก 91 มหาวิทยาลัย ทั้งในสหรัฐอเมริกา แคนาดา ญี่ปุ่น อิตาลี
 
เครื่องมือชิ้นสำคัญที่สุดของแฟร์มีแล็บ คือ [[เครื่องเร่งอนุภาค]][[เทวาตรอน]] (Tevatron) มีขนาด[[เส้นรอบวง]] 6.28 กิโลเมตร (3.90 ไมล์) สามารถเร่งพลังงานอนุภาค[[โปรตอน]]ได้ถึง 1.96 [[อิเล็กตรอนโวลต์|TeV]] เป็นเครื่องเร่งอนุภาคที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก รองจาก[[เครื่องชนอนุภาคขนาดใหญ่]]ของ[[เซิร์น]] ที่กรุง[[เจนีวา]] (มีเส้นรอบวง 27 กิโลเมตร)
 
ในปี ค.ศ. 1995 การทดลองด้วยเครื่องเร่งอนุภาคที่แฟร์มีแล็บ ได้พิสูจน์ยืนยันการมีอยู่จริงของ [[ควาร์ก]] <ref name="Carithers">{{cite journal |title=Discovery of the Top Quark |author=B. Carithers, P. Grannis |journal=Beam Line |publisher=SLAC |url=http://www.slac.stanford.edu/pubs/beamline/25/3/25-3-carithers.pdf |format=PDF |accessdate=2008-09-23}}</ref> และในปี ค.ศ. 2008 ได้มีการค้นพบอนุภาคใหม่ที่ประกอบด้วยควาร์ก 3 ตัว ให้ชื่อว่า "โอเมก้า ซับ บี" (Ωb) <ref>{{Cite news|url=http://www.fnal.gov/pub/presspass/press_releases/Dzero_Omega-sub-b.html|title=Fermilab physicists discover "doubly strange" particle|date=2008-09-09}}</ref>