ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แฟร์มีแล็บ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
2T (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่ "เฟอร์มิ" → "แฟร์มี" ด้วยสจห.
2T (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 6:
ห้องปฏิบัติการแห่งนี้ก่อตั้งขึ้นในปี [[ค.ศ. 1967]] เดิมชื่อว่า "ห้องปฏิบัติการเครื่องเร่งอนุภาคแห่งชาติ" (National Accelerator Laboratory) และเปลี่ยนชื่อเป็น แฟร์มีแล็บ ในปี [[ค.ศ. 1974]] เพื่อเป็นเกียรติแก่ [[เอนรีโก แฟร์มี]] [[นักฟิสิกส์]]ชาว[[อิตาลี]] ผู้ได้รับ[[รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์]] ประจำปี [[ค.ศ. 1938]]
 
ปัจจุบันแฟร์มีแล็บปฏิบัติงานโดยหน่วยงานที่ชื่อว่า Fermi Research Alliance (สหพันธ์เพื่อการวิจัยแฟร์มี) ซึ่งเป็น[[กิจการร่วมค้า|หน่วยงานความร่วมมือ]]ระหว่าง [[มหาวิทยาลัยชิคาโก]] กับ Universities Research Association (URA) ซึ่งเป็นการรวมตัวของห้องวิจัยจาก 91 มหาวิทยาลัย ทั้งในสหรัฐอเมริกา แคนาดา ญี่ปุ่น อิตาลี
 
เครื่องมือชิ้นสำคัญที่สุดของแฟร์มีแล็บ คือ [[เครื่องเร่งอนุภาค]][[เทวาตรอน]] (Tevatron) มีขนาด[[เส้นรอบวง]] 6.28 กิโลเมตร (3.90 ไมล์) เป็นเครื่องเร่งอนุภาคที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก รองจาก[[เครื่องชนอนุภาคขนาดใหญ่]]ของ[[เซิร์น]] ที่กรุง[[เจนีวา]] (มีเส้นรอบวง 27 กิโลเมตร)