ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สหภาพแรงงาน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนเนื้อหาอาจละเมิดลิขสิทธิ์ หรือไม่เป็นสารานุกรม ไม่ใช่? แจ้งที่นี่
บรรทัด 13:
 
== สหภาพแรงงานในปัจจุบัน ==
{{โครงส่วน}}
อนุสัญญาฉบับที่ 138
 
ประเทศไทยให้สัตยาบันอนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 138 ว่าด้วยอายุขั้นต่ำที่อนุญาตให้จ้างงานได้ พ.ศ. 2516 (ค.ศ. 1973) เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2547 และเริ่มมีผลบังคับใช้กับประเทศไทยเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2548
 
สรุปสาระสำคัญ
 
 
ก. ยกเลิกการใช้แรงงานเด็กอย่างมีประสิทธิภาพ และเพิ่มอายุขั้นต่ำในการทำงานให้สูงขึ้น
ข. กำหนดอายุขั้นต่ำในการจ้างงานไว้ ไม่ต่ำกว่าอายุที่สำเร็จการศึกษาภาคบังคับ และในกรณีใด ๆ ก็ตามต้องไม่ต่อกว่า 15 ปี และอาจกำหนดอายุขั้นต่ำเป็น 14 ปีได้ แต่ต้องแจ้งถึง (ก) เหตุผลในการยังคงอายุขึ้นต่ำไว้ 14 ปี หรือ (ข) วันที่จะยกเลิกอายุขั้นต่ำนั้น
ค. อายุขั้นต่ำในการทำงานอันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ความปลอดภัย หรือศีลธรรมของผู้เยาว์ ต้องไม่ต่ำกว่า 18 ปี หรืออาจอนุญาตให้มีการจ้างงานตั้งแต่อายุ 16 ปีได โดยมีเงื่อนไขว่า สุขภาพ ความปลอดภัย และศีลธรรมของผู้เยาว์ที่เกี่ยวข้องต้องได้รับการคุ้มครองอย่างเต็มที่ และผู้เยาว์ได้รับการสอนหรือได้รับการฝึกอาชีพเฉพาะด้าน ในสาขา ที่เกี่ยวข้องอย่างเพียงพอ
ง. บทบัญญัติของอนุสัญญาต้องนำมาใช้บังคับกิจการต่อไปนี้ได้แก่ การทำเหมืองแร่และการทำเหมืองหิน การผลิต การก่อสร้าง การไฟฟ้า แก๊สและน้ำ บริการสุขาภิบาล การขนส่ง คลังสินค้า การสื่อสาร การเพาะปลูกและกิจการทางการเกษตรอื่น ๆ ซึ่งส่วนใหญ่ทำการผลิตเพื่อจุดประสงค์ทางการค้า แต่ยกเว้นการผลิตภายในครอบครัว และการผลิตขนาดเล็ก เพื่อการบริโภคภายในท้องถิ่น และไม่มีการจ้างคนงานเป็นประจำ
จ. อนุสัญญานี้ไม่บังคับกับคนงานซึ่งเป็นเด็กและผู้เยาว์ทำภายในโรงเรียนเพื่อการศึกษาทั่ว ๆ ไป การศึกษาทางอาชีวะ หรือทางเทคนิค หรือในสถาบันการฝึกอบรมอื่น ๆ
ฉ. กฎหมายหรือกฎระเบียบภายในประเทศ อาจอนุญาตให้มีการจ้างงานหรือการทำงานของบุคคลอายุ 13 ปี ถึง 15 ปี ในงานเบาได้ ซึ่งเป็นงานที (ก) ไม่น่าจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือการพัฒนา และ (ข) ไม่ส่งผลเสียหายต่อการศึกษา
ช. อาจยอมให้มีข้อยกเว้นเพื่อการเข้าร่วมในการแสดงทางศิลปะ โดยได้รับอนุญาตเป็นราย ๆ ไป ใบอนุญาตที่ออกให้นั้นต้องจำกัดชั่วโมงทำงาน และกำหนดเงื่อนไขในการทำงานนั้น
 
การดำเนินงาน
1. วันที่ 26 พฤศจิกายน 2542 กระทรวงแรงงานฯ จัดการประชุมคณะทำงานพิจารณาและตรวจสอบอนุสัญญา ILO ครั้งที่ 1 / 2542 ซึ่งมีผู้แทนกรมเข้าร่วมประชุมด้วย เพื่อรายงานความพร้อมในการปฏิบัติตามอนุสัญญาของกรมต่าง ๆ ภายในกระทรวงแรงงานฯ ผละการประชุมสรุปได้ว่า การปฎิบัติตามอนุสัญญาฉบับที่ 138 เกี่ยวข้องกับงานในรับผิดชอบ ของหลายหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกกระทรงแรงงานฯ ที่สำคัญคือ กระทรวงศึกษาธิการ จึงเห็นควรให้สำนักปลัดกระทรวงแรงงานฯ ร่วมกับ ILO จัดประชุมเพื่อชี้แจงข้อสงสัย และรับฟังข้อคิดเห็นจากผู้แทนนายจ้าง ลูกจ้าง และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
 
2. วันที่ 22 - 23 ธันวาคม 2542 กระทรวงแรงงานฯ ร่วมกับ ILO จัดสัมมนาไตรภาคีระดับชาติ ณ โรงแรมสยามซิตี้ กรุงเทพฯ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้แทนฝ่ายนายจ้าง ลูกจ้าง องค์กรพัฒษนาเอกชน นักวิชาการ และองค์การระหว่างประเทสที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับการคุ้มครองเด็ก ได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับความเป็นไปได้ และปัญหาอุปสรรคในการที่ประเทศไทยจะให้สัตยาบัน และปฏิบัติตามอนุสัญญาดังกล่าว ผลการสัมมนาครั้งนี้ ยังไม่มีข้อสรุปต่อการให้สัตยาบัน แต่ที่ประชุมเห็นพ้องต้องกันว่า ประเทศไทยควรกำหนดอายุขั้นต่ำที่ยอมให้จ้างงานได้ที่อายุ 15 ปี ขึ้นไป ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมาย และแนวปฎิบัติต่าง ๆ ที่มีอยู่เช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และ จากการสัมมนาทำให้ทราบว่า หลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องอนุสัญญา และการปฏิบัติตามเมื่อให้สัตยาบัน และต้องการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากกระทรวง เกษตรและสหกรณ์ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ประกอบกับกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาภาคบังคับของกระทรวงศึกษาธิการจะมีผลบังคับใช้ใน พ.ศ. 2545 จึงขอให้การสัมมนาครั้งนี้ เป็นเพียงการให้ข้อมูลเบื้องต้นเพื่อศึกษาเพิ่มเติมต่อไป โดยยังไม่มีข้อสรุปถึงความพร้อมในการให้สัตยาบัน นอกจากนี้ที่ประชุมยังมีความเห็นหลายหลายเกี่ยวกับขอบเขตการบังคับใช้ของอนุสัญญา (ซึ่งมีขอบเขตกว้างขวางอย่างมาก คือ ครอบคลุมทั้งภาคการผลิตในระบบ นอกระบบ และภาคเกษตรกรรม) คำจำกัดความบางคำในอนุสัญญา และความเหมาะสมที่จะขอยกเว้น การบังคับใช้กับงานบางประเภท จึงเห็นควรให้มีการศึกษาเพิ่มเติม
 
3. วันที่ 9-11 กุมภาพันธ์ 2543 กรมส่งผู้แทนเข้าร่วมประชุมระดับภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกในเรื่อง มาตรฐานแรงงานระหว่างประเทศจัดโดย ILO เพื่อรับทราบการออกปฏิญญา ILO ว่าด้วยหลักการแห่งสิทธิขั้นพื้นฐานในการทำงาน ซึ่งครอบคลุมถึงอนุสัญญาเรื่องเด็กฉบับที่ 138 และ 182 ทั้งนี้ กรมต้องจัดทำรายงานผลการปฏิบัติตามปฏิญญาให้กระทรวงแรงงานฯ เพื่อนำเสนอต่อ ILO ทุกปี ในฐานะประเทศสมาชิก แม้ไม่ได้ให้สัตยาบันอนุสัญญา
 
4. วันที่ 23 สิงหาคม 2543 กรมจัดทำรายงานผลการปฏิบัติตามปฏิญญา ILO ว่าด้วยหลักการแห่งสิทธิขั้นพื้นฐานในการทำงานในประเด็น การใช้แรงงานเด็กเป็นฉบับแรก โดยรายงานถึงกฎหมาย กฎกระทรวง และ มาตรการต่าง ๆ เกี่ยวกับอายุขั้นต่ำในการจ้างงาน
 
5. วันที่ 7 กันยายน 2543 กรมจัดทำความคิดเห็นต่อการให้สัตยาบันอนุสัญญาฉบับที่ 138 เสนอต่อกระทรวงแรงงานฯ เพื่อประกอบการพิจารณาให้สัตยาบันอนุสัญญาดังกล่าว โดยมีสาระสำคัญว่า เห็นควรเตรียมความพร้อมในทางปฏิบัติ และกฎระเบียบให้ได้ก่อนการให้สัตยาบัน
 
6. วันที่ 24 ธันวาคม 2543 กลุ่มลูกจ้างในเครือสหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอ การตัดเย็บเสื้อผ้า และผลิตภัณฑ์หนังแห่งประเทศไทย จำนวนประมาณ 200 คน โดยมีนายศรีโพธิ์ วายุพักตร์ เป็นประธาน เดินทางมาชุมนุมที่กระทรวงแรงงานฯ เพื่อเรียกร้องและยื่นหนังสือต่อกระทรวงแรงงานฯ ให้ดำเนินการให้สัตยาบันอนุสัญญาฉบับที่ 138 และ 182 ซึ่งสหพันธ์ฯ แห่งนี้ เคยเรียกร้องผลักดันรัฐบาลมาครั้งหนึ่งแล้วเมื่อ 24 เมษายน 2543 โดยนายศรีโพธิ์ฯ ได้ยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี เรียกร้องรัฐบาลให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาทั้งสองฉบับนี้ ซึ่งกระทรวงแรงงานฯ ได้มีหนังสือรายงานความคืบหน้าของการดำเนินการต่อ นายกรัฐมนตรี และมีหนังสือแจ้งให้สหพันธ์ฯ ทราบ
 
7. วันที่ 1 พฤษภาคม 2544 และวันที่ 1 พฤษภาคม 2545 คณะกรรมการจัดงานวันแรงงานแห่งชาติ ยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล โดยมีสาระสำคัญส่วนหนึ่งเกี่ยวข้องกับการให้สัตยาบันอนุสัญญา ILO จำนวน 8 ฉบับ ซึ่งมีฉบับที่ 138 รวมอยู่ด้วย ทั้งนี้ กรมได้เคยจัดทำคำชี้แจงต่อข้อเรียกร้อง ดังกล่าวแล้ว
 
8. วันที่ 28 มิถุนายน 2545 คณะกรรมการพิจารณาการให้สัตยาบันอนุสัญญาที่เกี่ยวกับการใช้แรงงานเด็กของ ILO ได้จัดการประชุมครั้งที่ 1/2545 ขึ้น เพื่อพิจารณากฎหมายและแนวปฏิบัติของประเทศที่เกี่ยวข้องอย่างละเอียด เพื่อจัดทำเป็นรายงานเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา
 
9. วันที่ 18 กรกฎาคม 2545 กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานมีหนังสือที่ รส 0609.1/0856 ถึงสำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน เพื่อแจ้งผลการพิจารณาทบทวนตารางเปรียบเทียบกฎหมายและแนวปฏิบัติภายในประเทศกับบทบัญญัติของอนุสัญญา
 
10. วันที่ 29 สิงหาคม 2545 กระทรวงแรงงานฯ มีหนังสือที่ รส 0207.2/2490 ถึงเลขาธิการ ครม. เพื่อพิจารณานำเรียนขอความเห็นชอบต่อการให้สัตยาบันอนุสัญญาฉบับที่ 138
 
11. วันที่ 3 ตุลาคม 2545 มีการปรับคณะรัฐมนตรี สำนักงานเลขาธิการคณะ รัฐมนตรีได้ส่งเรื่องดังกล่าวกลับคืนมายังกระทรวงแรงงานและแจ้งว่าหากกระทรวงแรงงานประสงค์จะดำเนินการต่อไป ขอให้ดำเนินการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2531 ที่ระบุในระเบียบว่าให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานเป็นผู้เสนอ โดยขอให้เร่งรัดการพิจารณาเสนอเรื่องและยืนยันกลับไปยังสำนักงานเลขานุการคณะรัฐมนตรีโดยเร็ว
 
12. วันที่ 18 ธันวาคม 2545 กระทรวงแรงงานมีหนังสือที่ รง 0205.1/614 ลงวันที่ 18 ธันวาคม 2545 ขอให้กระทรวงการต่างประเทศพิจารณาเสนอความเห็นประกอบ ก่อนนำเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา และกระทรวงการต่างประเทศมีหนังสือด่วนที่สุด ที่ กต 1002/121 ลงวันที่ 22 มกราคม 2546 แจ้งความเห็นสนับสนุนการให้สัตยาบันอนุสัญญาฉบับที่ 138 ว่าด้วยอายุขั้นต่ำ พ.ศ. 2516 โดยทางกระทรวงการต่างประเทศให้ความเห็นว่า อนุสัญญาฉบับที่ 138 ว่าด้วยอายุขั้นต่ำ พ.ศ. 2516 เป็นหนึ่งในอนุสัญญาหลักของ ILO ซึ่งเกี่ยวข้องกับสิทธิขั้นพื้นฐานของแรงงาน ที่ผ่านมา ILO ได้พยายามเรียกร้องและผลักดันให้ประเทศสมาชิกให้สัตยาบันอนุสัญญาหลักรวมทั้งอนุสัญญาฉบับนี้เสมอมา โดยสาระสำคัญของอนุสัญญาคือ การมุ่งขจัดการใช้แรงงานเด็กซึ่งมีความสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 การให้สัตยาบันอนุสัญญาฉบับนี้จะเป็นการส่งเสริมภาพลักษณ์ของประเทศไทยในเวทีระหว่างประเทศในเรื่องนี้ และจะส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุนระหว่างประเทศของไทยด้วย กระทรวงการต่างประเทศจึงเห็นสมควรให้สัตยาบันอนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศฉบับที่ 138 ว่าด้วยอายุขั้นต่ำ พ.ศ. 2516
 
13. วันที่ 23 มกราคม 2546 กระทรวงแรงงานมีหนังสือที่ รง 0205.1/ว085 ลงวันที่ 23 มกราคม 2546 ขอให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงยุติธรรม และกระทรวงศึกษาธิการ ได้พิจารณาข้อมูลเกี่ยวกับนโยบาย กฎหมาย และมาตรการที่ประเทศไทยมีอยู่ในขณะนี้ที่รองรับการปฏิบัติตามอนุสัญญาฉบับที่ 138 ที่กระทรวงแรงงานได้ศึกษารวบรวมไว้ ซึ่งหน่วยงานดังกล่าวมีหนังสือแจ้งเห็นชอบกับข้อมูลที่กระทรวงแรงงานเสนอ และเห็นชอบด้วยกับการให้สัตยาบัน
 
14. วันที่ 24 มกราคม 2546 กระทรวงแรงงานได้มีหนังสือที่ รง 0205.1/425 แจ้งให้กรม สวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน พิจารณาทบทวนความสอดคล้องของกฎหมายกับตัวบทอนุสัญญา เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาการให้สัตยาบันอนุสัญญาฉบับนี้อีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากการปรับคณะรัฐมนตรีและโครงสร้างภารกิจการทำงานของส่วนราชการ
 
15. วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2546 กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานมีหนังสือที่ รง 0508 /01470 ถึงสำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน ให้ข้อคิดเห็นและแจ้งความคืบหน้าในการร่างกฎกระทรวง คุ้มครองแรงงานในงานเกษตรกรรม
 
16. วันที่ 7 มีนาคม 2546 กระทรวงแรงงานมีหนังสือที่ รง 0205.1/595 ถึง สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อเสนอเรื่องการให้สัตยาบันอนุสัญญาฉบับที่ 138 บรรจุวาระเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี
 
17. วันที่ 22 สิงหาคม 2546 คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 5 โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (นายกร ทัพพะรังสี) เป็นประธาน ได้กำหนดให้มีการประชุมเพื่อพิจารณา กลั่นกรองเรื่องการให้สัตยาบันอนุสัญญาฉบับที่ 138 ผลการประชุมคณะกรรมการกลั่นกรองให้นำเรื่องการให้สัตยาบันกลับมาศึกษาเพิ่มเติมในประเด็นเปรียบเทียบสาระสำคัญของอนุสัญญาฉบับที่ 138 กับบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการจ้างแรงงานกับ 3 ประเทศ (พม่า ลาว เขมร) ว่าแนวทางสอดคล้องหรือแตกต่างกันอย่างไร
 
18. วันที่ 22 กันยายน 2546 คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 5 โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (นายกร ทัพพะรังสี) เป็นประธาน ได้กำหนดให้มีการประชุมเพื่อพิจารณา กลั่นกรองเรื่องการให้สัตยาบันอนุสัญญาฉบับที่ 138 อีกครั้งเพื่อพิจารณาประเด็นสาระสำคัญของอนุสัญญาฉบับที่ 138 กับบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการจ้างแรงงานกับ 3 ประเทศ (พม่า ลาว เขมร) โดยกระทรวงแรงงานได้ชี้แจงต่อที่ประชุมว่า จากการศึกษาแล้วพบว่าสาระสำคัญของอนุสัญญาฉบับที่ 138 กับบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการจ้างแรงงานกับทั้ง 3 ประเทศมีแนวปฏิบัติที่สอดคล้องกันซึ่งในกรณีดังกล่าวคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี ไม่ได้ติดใจในเรื่องดังกล่าว
 
19. วันที่ 24 กันยายน 2546 คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 5 ได้มีหนังสือกราบเรียนนายกรัฐมนตรีถึงมติคณะกรรมการกลั่นกรองฯ ว่าคณะกรรมการกลั่นกรองฯ ได้พิจารณาให้ความเห็นชอบต่อการให้สัตยาบันอนุสัญญาฉบับที่ 138 แล้ว จึงกราบเรียบนายกรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติตามที่คณะกรรมการกลั่นกรองฯ เสนอ และเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ
 
20. วันที่ 29 กันยายน 2546 นายกรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติและเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ
 
21. วันที่ 7 ตุลาคม 2546 คณะรัฐมนตรีลงมติอนุมัติต่อการให้สัตยาบันอนุสัญญาฉบับที่ 138 ตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีคณะที่ 5
 
22. วันที่ 21 มีนาคม 2547รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศลงนามในตราสารแจ้งเจตจำนงการให้สัตยาบันต่อผู้อำนวยการใหญ่องค์การแรงงานระหว่างประเทศ
 
23. วันที่ 11 พฤษภาคม 2547 นายฮวน โซมาเวีย ผู้อำนวยการใหญ่สำนักงานแรงงานระหว่างประเทศรับจดทะเบียนการให้สัตยาบันอนุสัญญาฉบับที่ 138 ของประเทศไทยอย่างเป็นทางการ โดยฝ่ายไทยมีเอกอัครเอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรประเทศไทย ประจำสหประชาชาติ ณ นครเจนีวา (นายชัยยงค์ สัจจิพานนท์) เป็นผู้ลงนามในสัตยาบันสาร
 
24. วันที่ 11 พฤษภาคม 2548 อนุสัญญาฉบับที่ 138 มีผลบังคับใช้กับประเทศไทย
สรุปสาระสำคัญของอนุสัญญาที่ได้ให้สัตยาบันแล้ว
: อนุสัญญาฉบับที่ 80
: อนุสัญญาฉบับที่ 116
: อนุสัญญาฉบับที่ 104
: อนุสัญญาฉบับที่ 105
: อนุสัญญาฉบับที่ 127
: อนุสัญญาฉบับที่ 14
: อนุสัญญาฉบับที่ 19
: อนุสัญญาฉบับที่ 123
: อนุสัญญาฉบับที่ 29
: อนุสัญญาฉบับที่ 88
: อนุสัญญาฉบับที่ 122
: อนุสัญญาฉบับที่ 100
: อนุสัญญาฉบับที่ 182
: อนุสัญญาฉบับที่ 138
: การศึกษาความพร้อมของประเทศไทยในการปฏิบัติตามอนุสัญญาฉบับที่ 155 และพิธีสารประกอบอนุสัญญา
ตัวบทอนุสัญญาพื้นฐานของ ILO
: 01 หมวดว่าด้วยแรงงานบังคับ
 
: 02 หมวดว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติในการจ้างงานและอาชีพ
 
: 03 หมวดว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและการร่วมเจรจาต่อรอง
 
: 04 หมวดว่าด้วยการจัดการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่ถูกขูดรีดเอาเปรียบ
 
บทบัญญัติว่าด้วยมาตรฐานท้ายบท
ตัวบทตราสาร ILO อื่นๆ
: อนุสัญญาฉบับที่ 155
 
: พิธีสารประกอบอนุสัญญาฉบับที่ 155
 
: ข้อแนะฉบับที่ 164
นานาสาระ
: ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับ ILO
http://www.thailabordatabase.org/th/interesting.php
 
== สหภาพแรงงานในแต่ละภูมิภาค และประเทศ ==