ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมหมาย ฮุนตระกูล"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
2T (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
2T (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 5:
นายสมหมายเดินทางไปประเทศญี่ปุ่นโดยอาศัยไปกับเรือสินค้า และไปพักอาศัยอยู่กับครอบครัวชาวญี่ปุ่น และตัดสินใจเปลี่ยนไปเรียนวิชา[[เศรษฐศาสตร์]] สอบเข้าเรียนที่[[มหาวิทยาลัยเคโอะ]] [[กรุงโตเกียว]] จนจบปริญญาโทด้านเศรษฐศาสตร์ เมื่ออายุ 25 ปี และฝึกงานที่ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นเป็นเวลาหนึ่งปี
 
นายสมหมายเดินทางกลับประเทศไทย และเริ่มงานครั้งแรกที่[[ธนาคารแห่งประเทศไทย]] เมื่อ พ.ศ. 2486 ขณะนั้นมีสำนักงานอยู่ี่[[ถนนเจริญกรุง]] จนถึง พ.ศ. 2498 ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายธนาคารภายในประเทศ และไปรับตำแหน่งผู้ว่าการ[[การไฟฟ้ายันฮี]] และได้รับการยืมตัวไปเป็นผู้จัดการทั่วไป[[บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย]] จากนั้นลาออกไปรับตำแหน่งกรรมการและผู้จัดการใหญ่[[ธนาคารไทยพาณิชย์]] อยู่ในตำแหน่งได้ 2 เดือนก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการทรวงการคลัง ระหว่าง พ.ศ. 2515 - 2516 และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ระหว่าง พ.ศ. 2517 - 2518 จากนั้นไปดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการบริษัท [[ปูนซีเมนต์ไทย]] และได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอีกครั้ง ระหว่าง พ.ศ. 2523 ถึง 2529 ตลอดอายุรัฐบาล [[พลเอกเปรม ติณสูลานนท์]] ผลงานที่สำคัญที่สุด คือ[[การลดค่าเงินบาท]] เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2527 ถึง 14.8% จาก 23 บาท เป็น 27 บาท ต่อ[[ดอลลาร์สหรัฐ]]
 
นายสมหมาย ฮุนตระกูล สมรสกับคุณหญิงสมศรี ฮุนตระกูล (สกุลเดิม เปรมะบุตร) บุตรีหลวงสุภากรกิตย์ และนางหงษ์ เปรมะบุตร เมื่อ พ.ศ. 2487 มีบุตรธิดา 4 คน
บรรทัด 15:
 
{{รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของไทย}}
[[หมวดหมู่:นักเศรษฐศาสตร์ชาวไทย]]
{{เกิดปี|2461}}{{ตายปี|2536}}