ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มหาจุฬาลงกรณ์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 15:
เพลงพระราชนิพนธ์มหาจุฬาลงกรณ์ จัดเป็นเพลงพระราชนิพนธ์ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานให้เป็นเพลงประจำมหาวิทยาลัย 1 ใน 3 แห่ง ซึ่งอีก 2 เพลง ได้แก่ เพลง "''[[ยูงทอง]]''" ซึ่งพระราชทานให้เป็นเพลงประจำ[[มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]] และเพลง "''[[เกษตรศาสตร์ (เพลงพระราชนิพนธ์)|เกษตรศาสตร์]]''" ซึ่งพระราชทานให้เป็นเพลงประจำ[[มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์]] โดยพระองค์มีพระราชดำรัสถึงการแต่งเพลงประจำสถาบันไว้ว่า<ref>[http://www.culture.go.th/supreme/majestic.php?no=2&subno=3&subdetail=6 หออัครศิลปิน: พระอัจฉริยภาพด้านพระราชพิพนธ์บทเพลง] จาก สำนักงานคณะกรรมการแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม</ref>
 
"...''เรื่องเพลงที่แต่งขึ้นใหม่นั้นต้องขอชี้แจงสักนิด ฟังแล้วอาจจะตกใจ เพราะว่าเพลงที่ประจำในมหาวิทยาลัยเมืองไทย เดี๋ยวนี้ก็มีของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยแล้วก็ของธรรมศาสตร์ที่ได้ให้ทั้งสองเพลงนั้น กับเพลงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์นี้ ต้องบอกว่ายาวเท่ากัน ไม่ต้องอิจฉาว่าของเขายาวกว่าหรือสั้นกว่า ยาวเท่ากัน แล้วก็การสร้างแบบนั้นก็สร้างในแบบเดียวกัน ไม่ต้องอิจฉาอะไร แล้วก็ถ้าชอบก็บอกว่าชอบ ถ้าไม่ชอบก็ไม่รู้จะทำอย่างไร อาจจะแก้ไข อย่างไรก็ตาม ก็มีอย่างหนึ่ง คือ เพลงของจุฬาฯ เขาก็บอกว่าเพลงของเขาเพราะที่สุด ถ้าไปถามชาวธรรมศาสตร์ว่าเพลงไหนเพราะที่สุด เขาก็บอกว่าเพลงธรรมศาสตร์ แล้วถ้าถามพวกเกษตร น่ากลัวบอกว่าเพลงเกษตรเพราะกว่า ก็เลยไม่รู้จะทำอย่างไรนะ แต่ว่าเพลงของจุฬาฯ เขาโอ้อวดว่าสง่าผ่าเผยมาก แล้วก็เพราะมาก ถ้าพูดถึงว่าเพลงธรรมศาสตร์เขาก็บอกว่าองอาจดี เดินก็ได้ จุฬาฯ เขาก็ตอบว่าของเขาก็เดินได้เหมือนกัน เป็นเพลงสำหรับนำแถวได้ เพลงของเกษตรนี้ก็ ที่จริงก็ควรจะตัดสินเอาเองว่าเป็นยังไง แต่ความคิดส่วนตัวของผู้แต่ง รู้สึกว่าเป็นเพลงที่อ่อนหวาน อ่อนหวานกว่าเพลงโน้น แต่อ่อนหวาน นี่ไม่ได้หมายความว่าไม่เข้มแข็ง แต่อ่อนหวานนี่อาจจะมีความหมายได้ว่า ผลิตผลของทางการเกษตรรวมทั้งผลไม้หรือสิ่งที่บริโภค ถ้ารสหวาน รู้สึกว่าดี เพราะว่าเขานิยมกันอย่างนั้น ข้าวโพดหวานเขาก็ชอบ ก็เลยคิดว่า เพลงหวานไม่เป็นไร แต่ถ้านำไปเดินสำหรับนำแถวก็อาจจะได้เปลี่ยนแปลงไปหน่อย ก็อาจจะเป็นเพลงสำหรับแตรวงเดินก็อาจจะพอได้ แต่ขออย่างเดียวอย่าเดินขบวน''..."
 
นอกจากนี้ [[ประเสริฐ ณ นคร|ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร]] เมื่อครั้งได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้เป็นผู้ประพันธ์คำร้องเพลงเกษตรศาสตร์นั้น ได้กล่าวถึงเพลงมหาจุฬาลงกรณ์ว่า "''เนื้อเพลงมหาจุฬาลงกรณ์ดีเยี่ยม จนทำให้ผู้เขียนแหยงว่าไม่มีทางประพันธ์ให้ไพเราะใกล้เคียงกับเพลงนั้นได้''"<ref>[http://www.singhakheow.com/history.htm#f ประวัติเพลงพระราชนิพนธ์เกษตรศาสตร์]</ref>