ผลต่างระหว่างรุ่นของ "บ้านลอมกลาง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 59:
 
หลังนั้นบ้านลอมกลางก็มีผู้ปกครองหมู่บ้านตามที่ทางราชการแต่งตั้งมาเรื่อย ๆ จนมาถึง ปี พ.ศ. 2526 สมัยของ นายวิเชียร ไชยปรุง ชาวบ้านลอมกลางเกิดความขัดแย้งในการปฏิบัติพุทธศาสนากับหมู่บ้านทุ่งฆ้อง ครั้งนั้นชาวบ้านจึงได้มีมติขอแยกวัดทุ่งฆ้องมาตั้งวัดขึ้นมาใหม่ ครั้งนั้นพ่อหลวงน้อยคำ และแม่หลวงขันคำ ไชยปรุง จึงได้บริจาคสวนมะม่วง เพื่อตั้งวัดลอมกลาง อีกทั้งสองเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการสร้างศาสนสถานขึ้นในชุมชน
 
 
'''ลำดับเหตุการณ์สำคัญครั้งเมืองเชียงลาบ'''
 
[[พ.ศ. 2330]] เกิดยุค "เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง" [[เจ้ากาวิละ]] เจ้าผู้ครอง[[นครเชียงใหม่]] และเจ้าผู้ครองนคร[[น่าน]] นคร[[แพร่]] นคร[[ลำปาง]] เจ้าเมือง[[หลวงพระบาง]] เจ้าจอมหง แห่ง[[เชียงตุง]] และกองทัพ[[สยาม]] ได้นำกำลังไพร่พลและอาวุธ เข้าตีหัวเมืองลื้อต่าง ๆ ใน[[สิบสองปันนา]] เพื่อขับไล่พม่าออกจาก[[ล้านนา]] และหัวเมืองสิบสองปันนา และในครั้งนั้นได้นำกำลังเข้าโจมตี[[เชียงแสน]] ซึ่งเป็น[[เมืองขึ้น]]ของพม่า ในขณะนั้นเมือง[[เชียงลาบ]]เป็นหัวเมืองหนึ่งของเชียงแสน และเป็นเมืองขึ้นของพม่า
 
ครั้นกองทัพของล้านนาเข้าโจมตีเชียงแสนทางพม่าได้สั่งให้หัวเมืองต่าง ๆ เช่น เชียงลาบ เชียงแขง เมืองเลน เมืองพยาก นำทัพเข้ามาสมทบกับทัพของเชียงแสน
 
เมื่อทัพของเจ้าเจ็ดตนแห่งล้านนาได้ขับไล่พม่าออกจากเมืองเมือง[[เชียงแสน]]เจ้ากาวิลละโปรดให้ให้รื้อกำแพงเมืองทั้งหมด ซึ่งในตอนนั้นถือว่าสิ้นสุดของเชียงแสน ส่วนเมืองเชียงลาบ ในขณะนั้นเป็นหัวเมืองสำคัญของเชียงแสน ก็ถือคราวแตก และเป็นอิสระแก่เชียงแสน เมื่อทัพเจ้าเจ็ดตนขยายการยึดครองเมืองต่าง ๆ ในสิบสองปันนารวมถึงเชียงลาบ ด้วย ทางเชียงลาบ ซึ่งเป็นเมืองเล็ก ๆ ติดริม[[แม่น้ำโขง]] เจ้าหลวง[[เชียงลาบ]]พิจารณาเห็นแล้วว่ากำลังของชาวเชียงลาบไม่สามารถที่จะต้านทานศึกสงครามในครั้งนี้ได้แน่จึงได้ขอเป็นขอบข้าขัณฑสีมาแต่ล้านนา
 
นับแต่เมือง[[เชียงลาบ]] ไปสุดเมืองเชียงแขง เมืองล้า เมืองพง เมืองมาง เมืองภูคา เมือง[[เทิง]] เมืองเลน ถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของเมืองน่าน ในฐานนะหัวเมืองขึ้น หลังจากเมืองน่านได้ปกครองหัวเมืองลื้อต่าง ๆ แล้วจึงได้มีหนังสือโองการเจ้าฟ้าแห่งเมืองนครน่าน ไปแจ้งยังเจ้าฟ้าไทลื้อหัวเมืองต่าง ๆ เพื่อเดินทางมายังหอคำหลวงนครน่าน เพื่อรับฟังข้อกฎหมายปกครองนครน่าน ดังจารึกหลักคำ เรื่องอาณาจักรหลักคำน่าน (กฎหมายปกครองนครน่าน) ได้กล่าวไว้ตอนหนึ่งดังนี้....
 
'''ครั้นเถิงเดือนยี่ออก ๑ ค่ำ มีเจ้าพระยาอุปราชาหอหน้าเป็นประธาน และเจ้าพระยาราชบุตร เจ้าพระยาศรีสองเมือง เจ้าพระยาสุริยพงษ์ เจ้าพระยาวังซ้าย เจ้าพระยาวังขวา เจ้าพระยาอริยวงษา เจ้าพระยาเทิง เจ้าพระยาเมืองราชา เจ้าพระเมืองแก้ว เจ้าพระเมืองน้อย เจ้าพระวิไชยราชา เจ้าเมืองเชียงแขง เจ้าเมืองเชียงของ เจ้าเมืองเลน เจ้าราชวงษ์เมืองเลน เจ้าเมืองหลวง เจ้าเมืองเชียงลาบ เจ้าเมืองภูคา เจ้าเมืองล้ำ แลขัติยราชวงษา ท้าวพญาเสนาอามาตย์ราชเสวกผู้ใหญ่ผู้น้อยทั้งมวลพร้อมกันเอาเนื้อความปรึกษาตั้งราชอาชญานั้นขึ้นกราบหลอง๗ เถิงราชสำนักเราเป็นเจ้าแล้ว จึงได้พร้อมกันตั้งพระราชอาชญาไว้หื้อเป็นอาณาจักรหลักคำ ไว้สั่งสอนห้ามปรามเจ้านายท้าวขุนลูกหลานไพร่ไทยทั้งหลายอย่ากระทำกรรมอันบ่ดีสืบต่อไปภายหน้าว่าตั้งแต่ศักราช ๑๒๑๔ ตัวปีเต่าไจ้เดือนยี่ ออก ๑ ค่ำ วันพุธนี้ไป ภายหน้าห้ามอย่าหื้อเจ้านายท้าวขุนไพร่ไทยทั้งหลายได้สมคบกันกระทำกรรมบ่ดี'''
 
ผลจากสงครามครั้งนี้จึงทำให้เมืองเชียงลาบยังคงรักษาสถานะความเป็นเมืองและยังคงมีเจ้าผู้ครองเมืองดังเดิม ซึ่งแตกต่างจากเจ้าเมืองยอง ซึ่งเป็นเสมือนเมืองพี่กับเมืองเชียงลาบ ซึ่งล้วนเป็นเมืองขึ้นของพม่าด้วยกัน ที่ไม่ยอมเจรจาเลยถูกโจมตีอย่างหนักถึงสามวันสามคืน จนเมืองแตก ทำให้เกิดการอพยพเทครัวทั้งเมืองรวมถึงเจ้าฟ้าเมืองยองถูกนำตัวมาไว้ที่[[ลำพูน]]
 
เมื่อเสร็จสิ้นสงครามครั้งนี้ ทาง[[เจ้าอัตถวรปัญโญ]] เจ้าผู้ครอง[[นครน่าน]] ให้อพยพผู้คนบางส่วนจากเชียงลาบตามตามทัพของท่าน กลับเข้ามาสู่นครน่าน
 
'''สู่ขอบข้าฟ้าใหม่นครน่าน'''
 
ครั้นเมื่อกองทัพ'''เจ้าอัตถวรปัญโญ'''กลับมาถึงเมืองน่าน ในปี [[พ.ศ. 2345]] เมืองย่าง และเมืองยม ซึ่งเป็นหัวเมืองหนึ่ง ของนครน่าน เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ผู้คนล้มตาย และสูญหายไปเป็นจำนวน มาก อีกทั้งเจ้าเมืองย่าง คือ '''แสนปั๋น'''ถึงแก่กรรม
 
โดยครั้งนั้นเจ้าอัตถวรปัญโญ เจ้าผู้ครอง[[นครน่าน]]ได้มาตรวจสภาพพื้นที่เมืองย่าง และเมืองยม เห็นว่ามีพื้นดินอุดมสมบูรณ์ดี มีพื้นที่ราบกว้างขวาง ประกอบกับในบริเวณเมืองย่างนั้นมีชาวไทลื้อที่เจ้า[[เมืองเล็น]]อพยพผู้คนมาตั้งบ้านเรือนบางส่วนมาตั้งบ้านเรือนในสมัย[[พระเมืองราชา]] เจ้าเมืองน่านแล้วนั้น เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในการปกครองจึงพิจารณาเห็นสมควรโปรดให้[[ชาวไทลื้อ]] ที่ได้อพยพมาจาก [[เมืองยอง]] [[เมืองยู้]] [[เมืองเชียงลาบ]] ตั้งบ้านเรือน อยู่ริมฝั่งริมสองฟากฝั่งแม่น้ำย่าง ในเขตเมืองยม
 
โดยครั้งนั้นโปรดให้ชาวไทลื้อที่เป็นลูกหลานพญา[[เชียงลาบ]] เจ้าเมืองเชียงลาบตั้งบ้านเรือนอยู่ริมลำ[[น้ำบั่ว]] โปรดให้ลูกหลานพญาคำแสนเจ้า[[เมืองเล็น]] ตั้งบ้านเรือนอยู่ริมน้ำย่างฝั่งทิศเหนือ โปรดให้ชาวเมืองยอง ตั้งบ้านเรือนอยู่ทิศใต้ของ[[แม่น้ำย่าง]] ชาวลื้อเมืองยู้ตั้งบ้านเรือนอยู่กลางน้ำย่าง
 
==ภาษา ศาสนาและความเชื่อ==