ผลต่างระหว่างรุ่นของ "บ้านลอมกลาง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการทดลองเขียน สแปม หรือการก่อกวนด้วยบอต ไม่ควรย้อน? แจ้งที่นี่
บรรทัด 20:
[[ภาพ:ผีเฮือน.jpg|thumb|left|หอผีบรรพบุรุษชาวเมืองเชียงลาบ บ้านลอมกลาง ตำบลยม [[อำเภอท่าวังผา]] [[จังหวัดน่าน]]]]
 
'''บ้านลอมกลาง''' หรือในอดีตมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า '''บ้านน้ำบั่วป่ากล้วย''' หรือ '''บ้านบั่วใต้''' หรือ'''บ้านน้ำบั่ว''' ซึ่งตั้งชื่อขึ้นตามสภาพของภูมิศาสตร์คือเป็นที่ราบลุ่มลำน้ำบั่ว ซึ่งกำเนิดมาจากยอดดอยภูคาประกอบกับในพื้นที่ราบลุ่มดังกล่าวเต็มไปด้วยต้นกล้วยน้ำว้าเป็นจำนวนมาก ก่อตั้งหมู่บ้านนั้นเกิดเริ่มก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ 2345 ในครั้งนั้นเกิดวิกฤติ ยุคเก็บผักใส่ซ้าเก็บข้าใส่เมือง หลังจากสงครามใน[[สิบสองปันนา]]สงบลง
 
เจ้าอัตถวรปัญโญ เจ้าผู้ครองนครน่าน ได้โปรดให้ลูกหลานของพญา[[เชียงลาบ]] จำนวน 5 ครอบครัว ได้ตั้งบ้านเรือน บริเวณฝั่งทิศเหนือของลุ่มลำน้ำบั่วโดยทางการให้จัดการปกครองหมู่บ้านให้ขึ้นกับบ้าน[[เชียงยืน]]ชึ่งเป็นชาว[[ไทยเขิน]]โดยมี'''พ่อแสนปัญญา'''ชาวไทเขินเป็นผู้ปกครองชุมชน แต่ในทางกลับกันการศึกษาและประเพณีวิถีปฏิบัติด้านพุทธศาสนานั้นชาวไทลื้อเมืองเชียงลาบ นั้นไม่ได้เข้าร่วมกับชาวไทเขิน ต้องเดินทางข้ามลำน้ำบั่วไปร่วมงานบุญและกิจกรรมทางศานากับชาวไทลื้อบ้าน[[ทุ่งฆ้อง]] กลุ่มของเจ้าคำแสน เจ้าเมืองเล็น ซึ่งมีวัดตั้งวัดอยู่บริเวณลุ่มน้ำย่าง ฝั่งขวาที่เป็นเนินสูงนั้น มีพระธาตุจอมพริกตั้งอยู่ และมีต้นพริกสูงใหญ่ อายุหลายร้อยปี ปลูกทิ้งไว้ด้านข้างกับพระธาตุจอมพริก (ปัจจุบันต้นพริกโบราณยังคงมีอยู่) ซึ่งในครั้งนั้นพระธาตุจอมพริกยังเป็นป่าที่รกร้าง มีแต่พระธาตุเท่านั้น (ต่อมาชาวไทลื้อลูกหลานพญาคำแสน และลูกหลานพญาเชียงลาบ ได้ร่วมกันบูรณะพระธาตุจอมพริก)มีเพียงแต่วัดทุ่งฆ้องที่เป็นศูนย์กลางพุทธศานาของชุมชน
 
ครั้นตั้งหมู่บ้านนั้น ชาวไทลื้อเมืองเชียงลาบล้วนแต่เป็นลูกหลานพญาเชียงลาบจึงได้อัญเชิญผีบรรพบุรุษ และผีเจ้าเมืองเชียงลาบ และผีนักรบต่าง ๆ ของเมือง[[เชียงลาบ]] ให้มาสถิตย์อยู่ที่ศาลประจำหมู่บ้านบริเวณฝั่งด้านตะวันออกเฉียงใต้ ของหมู่บ้านติดฝั่งลำน้ำบั่ว และมีพิธีบวงสรวงทุกเดือนสี่ และเดือนแปดตามปฏิทินไทลื้อ '''พิธีนี้ยังคงมีจนถึงปัจจุบัน'''