ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โจเซฟ แพกซ์ตัน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 6:
แพกซ์ตันเป็นนักคิด ได้ออกแบบอาคารด้วย[[กระจก]] [[เหล็กหล่อ]]และ[[ระบบหน่วยพิกัด]] (module) ขนาดใหญ่ที่ยาวถึง 549 เมตร ที่มีชื่อเสียงเป็นที่กล่าวขวัญถึงความล้ำยุคเป็นครั้งแรกใน[[งานนิทรรศการโลก]] ที่กรุง[[ลอนดอน]] เมื่อ [[พ.ศ. 2394]] ที่รู้จักกันในชื่อ "[[วังแก้วเจียรนัย]]" (The Crystal Palce) ซึ่งต่อมาถูกรื้อไปประกอบใหม่ที่ไซเดนแฮมเมื่อ [[พ.ศ. 2397]] และถูกไฟไหม้เสียหายเมื่อปี [[พ.ศ. 2479]]
 
[[Image:Crystal Palace1.JPG|thumb|350250px|leftright|วังแก้วเจียรนัย (The Crystal Palace) ในงานแสดงสินค้าโลกที่กรุงลอนดอน]]
แพกซ์ตันมีชื่อเสียงว่า เป็นผู้มีบทบาทในด้านการออกแบบและสร้าง [[สวนอังกฤษแบบโรแมนติก]] ต่อจาก [[ฮัมฟรีย์ เรพตัน]] (Humphy Repton) และคบหาสนิทสนมกับ [[เจ ซี ลูดอน]] (J. C. Loudon) นักเขียนเกี่ยวกับพืชพรรณและภูมิทัศน์ผู้มีชื่อเสียงในยุคนั้น แพกซ์ตันได้เป็น[[ผู้แทนราษฎร]]อยู่ระยะหนึ่ง และได้ออกแบบบ้านธรรมดาในชนบทหลายหลัง แต่งานออกแบบที่โด่งดังของแพกซ์ตันได้แก่สวนสาธารณะเบอร์เกนเฮดขนาด 300 ไร่ ดังกล่าว ที่ผนวกสวนอังกฤษแบบภูมิทัศน์ชนบท ให้เข้ากับความต้องการของสังคมในสมัยนั้น ก่อนการออกแบบสวนสาธารณะ[[เซนทรัลปาร์ก]]ที่[[นิวยอร์ก]] [[เฟรเดอริก ลอว์ ออล์สเตด]] ชาวอเมริกัน ผู้ได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่ง[[ภูมิสถาปัตยกรรม]]สมัยใหม่ ได้มาเยี่ยมและชื่นชมสวนแห่งนี้ และได้นำไปเขียนบทความเรียกร้องให้นครนิวยอร์กสร้างสวนสาธารณะสมัยใหม่เมื่อกลับสหรัฐฯ
 
'''เซอร์โจเซฟ แพกซ์ตัน'''ได้ออกแบบสวนอีกหลายแห่ง ได้แก่ สวนสาธารณะ "ปรินซ์" ที่ลิเวอร์พูล (พ.ศ. 2385) "เคลวินโกรพ" ในควีนส์ ปาร์ก ที่[[กลาสโกว์]] (พ.ศ. 2395) และ "แบกซ์เตอร์ปาร์ก" ที่[[ดันดี]] (พ.ศ. 2406) นอกจากนี้ แพกซ์ตันยังเป็นที่ปรึกษาในการซ่อมสร้าง[[เซนต์เจมส์ปาร์ก]] และ[[ไฮด์ปาร์ก]]ในกรุงลอนดอน และได้มีโอกาสร่วมออกแบบเมืองอีเดนซอร์ซึ่งเป็นเมืองใหม่ยุคแรกๆ ของอังกฤษ