ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โทชิยาซุ ลอว์เรนซ์ คูนิอิ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 2:
'''โทชิยาสึ ลอเรนส์ คูนิอิ''' เป็นบิดาแห่งวงการ[[คอมพิวเตอร์กราฟิกส์]]หรือเรขภาพคอมพิวเตอร์แห่งเอเชีย ผู้นำเสนอแนวคิด[[โลกไซเบอร์]]ขึ้นในปี ค.ศ. 1968 สำเร็จการศึกษาปี ค.ศ. 1967 และเป็นศาสตราจารย์อยู่ที่[[มหาวิทยาลัยโตเกียว]] ระหว่างปี ค.ศ. 1978-1993 เคยได้รับ[[รางวัลด้านการศึกษาเทย์เลอร์ แอล บูธ]] ในปี ค.ศ. 1998 ([http://www.computer.org/portal/site/ieeecs/menuitem.c5efb9b8ade9096b8a9ca0108bcd45f3/index.jsp?&pName=ieeecs_level1&path=ieeecs/about/awards&file=tlb_recipients.xml&xsl=generic.xsl& Taylor L. Booth Education Award]) ของสมาคมคอมพิวเตอร์[[ไอทริปเปิลอี]] ([[:en:IEEE Computer Society|IEEE Computer Society]]) ซึ่งเป็นรางวัลสูงสุดทางด้านการศึกษาของสมาคมฯ ที่มอบให้เฉพาะบุคคลสำหรับ "การเป็นผู้ริเริ่มและสนับสนุนการศึกษาวิทยาการคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ และการผนวกรวมการเรียนรู้ด้วยคอมพิวเตอร์สำหรับการศึกษาแขนงอื่น ๆ" อีกทั้งได้รับเลือกเป็นวุฒิบัณฑิตทางด้าน[[คอมพิวเตอร์วิทัศน์]] (Visual Computer) และการคำนวณวิทัศน์ (Visual Computation) ของสมาคมไอทริปเปิลอี และยังได้รับรางวัล "ผู้มีส่วนร่วมในระดับนานาชาติในการบุกเบิกและก่อตั้งศาสตร์การคำนวณด้านคอมพิวเตอร์วิทัศน์"จากประเทศญี่ปุ่น
 
นอกจากนี้ศาสตราจารย์ คูนิอิ ยังเป็นผู้ริเริ่มโครงการด้าน [[ภาพแบบแรสเตอร์กราฟิกส์สเตอร์]] (Raster Graphics) เป็นคนแรก และได้รับเลือกเป็นหนึ่งในกลุ่มนักวิจัยกลุ่มแรกของโลกที่ได้นำเสนอบทความเปิดการประชุมเรื่อง "อินแฟดส์ : ระบบออกแบบแฟชั่นเชิงโต้ตอบ" ในการประชุมวิชาการ[[ซิกกราฟ]] (SIGGRAPH) ครั้งแรกของโลกในปี ค.ศ. 1975
 
ปัจจุบันศาสตราจารย์ คูนิอิ ดำรงตำแหน่งเป็นศาสตราจารย์ทางด้านคอมพิวเตอร์ผู้ยิ่งใหญ่ของประเทศญี่ปุ่น โดยเป็นผู้ดูแลโครงการสำคัญอย่าง โครงการการบูรณาการและปฎิบัติการข้ามระบบสารสนเทศ โครงการคลังชุดคำสั่งเปิดเผยในระดับนานาชาติ และยังนำเสนองานวิจัยแนวคิดการจำลองแบบเชิงแนวคิดโลกไซเบอร์อย่างต่อเนื่อง