ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นิติบุคคล"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
VolkovBot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต แก้ไข: es:Persona jurídica
Fernet (คุย | ส่วนร่วม)
ห้างหุ้นส่วนสามัญ มันมีทั้งจดทะเบียนและไม่จดทะเบียน ถ้าไม่เขียนคนอ่านจะเข้าใจผิด
บรรทัด 27:
'''ห้างหุ้นส่วน''' ({{lang-en|partnership}}) ที่จะเป็นนิติบุคคลได้ต้องเป็นห้างหุ้นส่วนที่จดทะเบียนตามกฎหมายแล้ว โดยมาตรา 1012 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทยว่า ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้นจัดตั้งขึ้นได้โดยบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปมาตกลงกันว่าจะทำกิจการด้วยกันโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแบ่งสันปันส่วนกำไรที่ได้จากกิจการนั้น แล้วทำสัญญากันไว้เพื่อการจัดตั้งเช่นว่า สัญญานี้เรียก "สัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วน" ซึ่งในมาตราถัดมาได้จำแนกห้างหุ้นส่วนเป็นสองจำพวกคือ<ref name = ThaiCivilCode />
 
1. ห้างหุ้นส่วนสามัญ ({{lang-en|ordinary partnership หรือ universal partnership}}) คือ ห้างหุ้นส่วนที่ผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหมดต้องรับผิดร่วมกันในหนี้ทั้งปวงของห้างนั้น (มาตรา 1025 และมาตรา 1015 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์) ซึ่งห้างหุ้นส่วนสามัญนี้ หากไม่จดทะเบียนก็จะไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคล
 
2. ห้างหุ้นส่วนจำกัด ({{lang-en|limited partnership}}) คือห้างหุ้นส่วนที่มีผู้เป็นหุ้นส่วนสองจำพวก จำพวกหนึ่งมีหน้าที่รับผิดในหนี้ของห้างนั้นจำกัดตามจำนวนเงินที่ตนรับว่าจะลงหุ้น และอีกจำพวกมีหน้าที่ต้องรับผิดในหนี้ของห้างโดยไม่จำกัดจำนวน (มาตรา 1077 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์)
 
=== บริษัทจำกัด ===