ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัดกำแพงแลง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
U4803074 (คุย | ส่วนร่วม)
U4803074 (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 111:
 
 
ประติมากรรมที่พบบริเวณปราสาทวัดกำแพงแลงเป็นหลักฐานที่สำคัญที่จะสื่อให้เห็นว่าโบราณสถานแห่งนี้ สร้างขึ้นภายใต้คติความเชื่อศาสนาพุทธลัทธิวัชรยาน ซึ่งเป็นลัทธิที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงนับถือ มาก พระองค์ได้มีความนิยมในการสร้างรูปเคารพภายใต้ลัทธินี้อย่างแพร่หลาย รูปเคารพสำคัญ ได้แก่ พระโลเกศวรสี่กร พระวัชรสัตว์นาคปรกและพระนางปรัชญาปารมิตา ความหมายของการสร้างรูปเคารพทั้งสามนี้ คือการสร้างรูปเคารพแทนความหมายเชิงอภิปรัชญา โดยพระโลเกศวรแทนความเป็นอุบายเพื่อนำไปสู่ปัญญา พระวัชรสัตว์นาคปรกแทนสภาวะของพระโพธิญาณอันหมายถึงศูนยตา และพระนางปรัชญาปารมิตาเป็นตัวแทนของปัญญา รวมความหมายคืออุบายและปัญญา เป็นหนทางไปสู่ความเป็นศูนฺยตา เมื่อนำรูปเคารพที่พบมาเรียงกันแล้ว จะพบว่า ปราสาทต่างๆ ก็สร้างขึ้นเพื่อถวายแด่รูปเคารพเหล่านั้นด้วย โดยปราสาทองค์กลางสร้างขึ้นถวายแด่ พระวัชรสัตว์พุทธะ (พระมหาไวโรจนะหรือพระอาทิพุทธะ) ลักษณะของพระวัชรสัตว์โดยทั่วไปนั้นคือ พระพุทธรูปนาคปรก ปราสาททิศเหนือประดิษฐานรูปเคารพปรัชญาปารมิตา ปราสาททิศใต้ประดิษฐานรูปเคารพพระโลเกศวร 4 กรโลเกศวรสี่กร จากการวางผังทั้งสามนี้ ทำให้ทราบว่ารูปเคารพที่พบเป็นรูปเคารพในลัทธิวัชรยาน ศิลปะเขมรแบบบายน
 
 
== คติในการสร้าง ==