ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประตูเมืองนครราชสีมา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Kbambam (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 5:
ในสมัยแผ่นดิน [[สมเด็จพระนารายณ์มหาราช]] (พ.ศ. 2199 - พ.ศ. 2231) มีพระราชดำริว่า ดินแดนภาคอีสานเป็นฉนวนป้องกันการรุกรานของขแมร์([[เขมร]])[[ลาว]] [[ญวน]] และเป็นหัวเมืองใหญ่ควบคุมเขมรป่าดงที่ขึ้นแก่ไทย ขณะนั้น มีเมืองเสมา เมืองโคราช และเมืองพิมาย เป็นชุมชนใหญ่ ควรจะตั้งเป็นหน้าด่านได้ จึงโปรดให้สร้างเมืองที่มีป้อมปราการแบบฝรั่ง ในฐานะเมืองสำคัญชายพระราชอาณาเขต โดยเกณฑ์ช่างจากกรุงศรีอยุธยา เกณฑ์แรงงานจากเมืองโคราช กับเมืองเสมา ช่วยกันสร้างเมืองใหม่ ห่างจากเมืองโคราชเก่าในท้องที่ อำเภอสูงเนิน ไปทางทิศตะวันออก 800 เส้น (32 กิโลเมตร) ซึ่งก็คือ พื้นที่ตัวเมืองเก่า บริเวณเขตกำแพงเมือง และคูเมืองในปัจจุบัน
 
มีนายช่างชาวฝรั่งเศสเป็นผู้วางผังเมือง [[ผังเมือง]]มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยม '''รูปกลองชัยเภรี''' มีความกว้างประมาณ 1,000 เมตร ([[มาตราวัดความยาวของไทย#มาตราวัดของไทยในประวัติศาสตร์และวรรณคดี|มาตราวัดของไทย]] : 25 เส้น) ยาวประมาณ 1,700 เมตร ([[มาตราวัดความยาวของไทย#มาตราวัดของไทยในประวัติศาสตร์และวรรณคดี|มาตราวัดของไทย]] : 43 เส้น) มีพื้นที่ภายในประมาณ 1,000 ไร่ ( 1.60 [[ตารางกิโลเมตร|ตร.กม.]]) ขุดคูกว้าง 20 เมตร(10 วา) และลึก 6 เมตร (3 วา) ยาวล้อมรอบเมือง มีโครงข่ายถนนภายใน ตัดกันมีรูปแบบเป็น '''ตารางหมากรุก''' (grid[http://en.wikipedia.org/wiki/Grid_plan Grid pattern system]) ก่อสร้างกำแพงเมือง โดยก่ออิฐขึ้นจากหินศิลาแลง มีความสูง 6 เมตร (3 วา) ยาวโดยรอบ 5,220 เมตร (2,610 วา) บนกำแพงมีใบเสมาโดยรอบ จำนวน 4,302 ใบ (แต่เดิม ใบเสมาเป็นรูปสี่เหลี่ยมแบบฝรั่ง แต่พระยมราช แก้เป็น ใบเสมาแบบไทย) มีป้อมประจำกำแพง และป้อมตามมุมกำแพงรวม 15 ป้อม มีประตูเมืองกว้าง 3 เมตร (1 วา 2 ศอก) จำนวน 4 ประตู โดยประตูเมืองทั้ง 4 เป็นทางเข้าออกเมืองทั้งสี่ทิศ <ref>[http://www.geocities.com/sikuidho/P1.htm ประวัติศาสตร์จังหวัดนครราชสีมา]</ref>
 
บริเวณซุ้มประตูเมือง จะมีหอยามรักษาการณ์ - เชิงเทิน รูปแบบเป็นทรงไทยโบราณ ศิลปะสมัยอยุธยา หลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผา มีช่อฟ้าใบระกาเหมือนกันหมดทุกแห่ง มีชื่อเรียกประตูเมืองทั้ง 4 นี้ว่า