ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การคว่ำบาตร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Alexbot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: ko:보이콧
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 3:
 
การคว่ำบาตรถือได้ว่าเป็นอาวุธทาง[[เศรษฐกิจ]]ที่ร้ายกาจอย่างหนึ่ง เพื่อใช้ต่อรองให้คู่กรณีจำยอมในข้อตกลงด้านอื่น ๆ เช่น ด้าน[[การทูต]] [[การเมือง]] [[วัฒนธรรม]] [[การทหาร]] หรือแม้แต่ด้านการค้า เนื่องเพราะทุก[[ประเทศ]]ใน[[โลก]]ต้องค้าขายกัน เพื่อแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการที่ตนเองไม่สามารถผลิตเองได้ หรือผลิตได้ไม่พอกับความต้องการในประเทศ
 
คำว่า ”คว่ำบาตร” นั้น มีที่มาจากการที่พระสงฆ์ลงโทษบุคคลผู้มีปรารถนาร้ายต่อพระรัตนตรัยอย่างร้ายแรง ซึ่งมีความผิดอยู่ 8 ประการ คือ
 
1. ขวนขวายเพื่อมิใช่ลาภแก่สงฆ์
 
2. ขวนขวายเพื่อมิใช่ประโยชน์แก่สงฆ์
 
3. ขวนขวายเพื่อให้พระอยู่ไม่ได้
 
4. ด่าว่าเปรียบเปรยภิกษุทั้งหลาย
 
5. ยุยงให้สงฆ์แตกกัน
 
6. ตำหนิติเตียนพระพุทธเจ้า
 
7. ตำหนิติเตียนพระธรรม
 
8. ตำหนิติเตียนพระสงฆ์
 
ฆารวาส ผู้ใดมีพฤติกรรมดังกล่าวมา พระสงฆ์จะประชุมกันแล้วประกาศไม่ให้ภิกษุทั้งหลายคบค้าสมาคมด้วย คือ ไม่รับบิณฑบาต ไม่รับนิมนต์ ไม่รับเครื่องใช้ อาหารหวานคาวที่บุคคลผู้นั้นนำมาถวาย แต่หากต่อมาคนผู้นั้นสำนึกรู้สึกตน กลับมาประพฤติดี คณะสงฆ์ก็จะประกาศเลิก “คว่ำบาตร” ยอมให้ภิกษุทั้งหลายคบค้าสมาคมรับบิณฑบาต รับนิมนต์ รับเครื่องถวายไทยธรรม ได้เรียกว่า “หงายบาตร” เป็นสำนวนคู่กัน
 
"คว่ำบาตร" ตรงกับคำว่า “บอยคอต(Boycott)”
 
ส่วนคำว่า บอยคอต (Boycott) ความจริงเป็นนามสกุลของ กัปตันชาร์ลส์ คันนิ่งแฮม บอยคอต ซึ่งเป็นคนแรกที่ถูกคว่ำบาตร ไม่คบหาสมาคมด้วย
 
เหตุที่ กัปตันชาร์ลส์ คันนิ่งแฮม บอยคอต เป็นคนแรกในโลกที่ถูกบอยคอต ก็เพราะเขาเป็นเจ้าของที่ดินให้เช่ารายใหญ่ในไอร์แลนด์ แต่ว่ากันว่า กัปตันชาร์ลส์ คันนิ่งแฮม บอยคอต โหดสุด ๆ ไล่ผู้เช่าที่ดินทำกินออกจากที่อย่างไร้เมตตา ชาวบ้านชาวเมืองรวมทั้งลูกจ้างจึงรวมตัวกันประท้วงไม่ยอมทำงานให้ ไม่ให้ความร่วมมือใด ๆ ทั้งสิ้นและไม่คบหาสมาคมกับครอบครัวนี้ เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 1880 แล้ว แต่ชื่อของเขาก็ยังถูกนำมาใช้อย่างต่อเนื่องยาวนานจนกลายเป็นศัพท์เฉพาะไปแล้ว
 
 
 
[[หมวดหมู่:การค้าระหว่างประเทศ]]