ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประตูเมืองนครราชสีมา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Kbambam (คุย | ส่วนร่วม)
Kbambam (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 15:
เมื่อระยะเวลาผ่านไป สิ่งก่อสร้างบางอย่างได้ถูกทำลายลง เมื่อครั้งที่ได้เกิดศึกกับเจ้าอนุวงศ์ แห่งกรุงเวียงจันทน์ ที่ได้เข้ามายึดเมืองนครราชสีมา กอร์ปกับส่วนหนึ่งถูกสภาพภูมิอากาศ และ ภัยธรรมชาติ เช่น แสงแดด ลม และ ฝน ทำลายเสียหายไปบ้าง ทำให้ทรุดโทรมลง เหลือแต่เพียง ประตูเดียวก็คือ ประตูชุมพล ที่ยังหลงเหลือโครงสร้างเดิมไว้อยู่
 
==รายละเอียดของประตูชุมพลเมือง==
[[ภาพ:20078232015441.jpg|thumb|right|ประตูชุมพล ก่อนการบูรณะ]]
 
:*<font Style="font-weight:bold; font-size:12pt;">ประตูชุมพล</font>
เป็นประตูเมืองด้านทิศตะวันตกของ เป็นประตูเมืองเพียงแห่งเดียว ในบรรดาประตูเมืองทั้งหมด 4 ประตูของเมืองนครราชสีมา ที่ยังคงสภาพเดิมอยู่พร้อมกำแพงเมืองเก่า สำหรับ ชื่อประตู "'''ชุมพล'''" นั้นหมายความถึง ที่ชุมนุมพลส่วนใหญ่ เป็นประตูสำหรับเตรียมไพร่พล และออกศึก เนื่องจากมีภูมิประเทศเปิดกว้าง ไม่มีป้อมปราการตามธรรมชาติเหมือนประตูอื่น ๆ <ref name="ประตูเมือง"/>
 
เนื่องจากตัวเมืองปัจจุบัน ได้มีขยายออกไปยังบริเวณรอบนอกไปทางทิศเหนือ ทิศใต้ และทิศตะวันตกของเขตเมืองเก่าเดิม ส่งผลทำให้ปัจจุบัน ประตูชุมพลจึงเสมือนตั้งอยู่กลางเมือง ต่อมาทางหน่วยราชการของ[[จังหวัดนครราชสีมา]]ได้สร้างอนุสาวรีย์[[ท้าวสุรนารี]](ย่าโม) แล้วนำมาประดิษฐานบนแท่นสูง ตรงบริเวณหน้าประตูชุมพล ซึ่งได้มีการถมคูเมืองทางด้านทิศตะวันตกบางส่วน เพื่อทำเป็นพื้นที่ก่อสร้าง สำหรับ หอ ยามรักษาการณ์ทรงไทย, ประตูเมือง และกำแพงเมืองโบราณที่ชำรุดทรุดโทรมพังลงไปมากนั้น ทางราชการได้บูรณะซ่อมแซม และสร้างขึ้นมาใหม่บางส่วน โดยคงไว้ซึ่งรูปแบบและศิลปะการก่อสร้างตามของเดิมไว้ทั้งหมด พร้อมกับได้อัญเชิญ อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี(ย่าโม) ทั้งหมดมาสร้างและตั้งขึ้น ณ บริเวณที่ปัจจุบัน ตราบเท่าทุกวันนี้
บรรทัด 27:
[[ภาพ:20078232015141.jpg|thumb|right|ประตู และกำแพงเมือง ก่อนได้รับการบูรณะ]]
 
:*<font Style="font-weight:bold; font-size:12pt;">ประตูพลแสน</font>
==ประตูอื่นๆ==
:<font Style="font-weight:bold; font-size:12pt;">ประตูพลแสน</font>
 
เป็นประตูทางด้านทิศเหนือ เรียกกันทั่วไปว่า "'''ประตูน้ำ'''" เป็นเพราะประตูนี้หันหน้าสู่[[ลำตะคอง]]ซึ่งเป็นคลองกั้นคูเมืองอีกชั้นหนึ่ง ลำตะคอง เป็นลำน้ำสาขาของ[[แม่น้ำมูล]] ซึ่งเป็นเส้นทางคมนาคม และการชลประทาน สำหรับชื่อประตู "'''พลแสน'''" นั้นหมายถึง ต้องมีกำลังพลถึงแสนหนึ่ง จึงจะสามารถบุกเข้ามายังประตูนี้ได้<ref name="ประตูเมือง">[http://www.pantown.com/group.php?url=content.php&id=11168&name=content1&area=1 ประวัติจังหวัดนครราชสีมา, เมืองโคราช]</ref>
 
:*<font Style="font-weight:bold; font-size:12pt;">ประตูไชยณรงค์</font>
เป็นประตูทางด้านทิศใต้ ชาวเมืองเรียกประตูนี้ว่า "'''ประตูผี'''" เนื่องจากในอดีต มีประเพณีความเชื่อว่า เมื่อมีคนตายในเมืองห้ามเผา หรือห้ามฝังไว้ในเมือง ให้ออกไปจัดการกันที่นอกเมือง โดยให้นำศพผ่านออกทางประตูนี้เพียงประตูเดียว นอกจากนั้นแล้ว ทางทิศใต้นี้ยังมีบึงใหญ่ มีชื่อเรียกว่า "'''หนองบัว'''" อีกด้วย สำหรับชื่อประตู "'''ไชยณรงค์'''" นั้น เนื่องมาตาก เมื่อยามเกิดศึกสงคราม ประตูนี้เป็นจุดยุทธศาสตร์ที่ยากต่อการโจมตีของข้าศึก เพราะภูมิประเทศด้านนี้ เต็มไปด้วยหนองน้ำขนาดใหญ่ และเล็ก แต่ในปัจจุบัน หนองน้ำเหล่านั้นได้ถูกถมไปหมดแล้ว<ref name="ประตูเมือง"/>
 
:*<font Style="font-weight:bold; font-size:12pt;">ประตูพลล้าน</font>
เป็นประตูทางด้านตะวันออก ชาวเมืองเรียกประตูนี้ว่า "'''ประตูตะวันออก'''" หรือ "'''ประตูทุ่งสว่าง'''" แต่เดิม ทิศนี้มีบึงใหญ่ที่เรียกว่า "'''ทะเลหญ้าขวาง'''" มีพื้นที่กว้างไม่น้อยกว่า 10 ตารางกิโลเมตร ส่วนกลางเป็นบึงใหญ่ และมีพื้นที่สำหรับเลี้ยงสัตว์พาหนะ ซึ่งเป็นที่ตั้งของ "วัดทุ่งสว่าง" สำหรับชื่อประตู "'''พลล้าน'''" นั้น นัยว่าเพื่อเป็นการข่มขวัญข้าศึก ที่ถึงจะยกทัพมาสักล้าน ก็ยังต่อสู้ได้<ref name="ประตูเมือง"/>
 
ในปัจจุบัน ประตูเมืองทั้ง 3 ประตู ได้แก่ ประตูพลแสน, ประตูพลล้าน และประตูไชยณรงค์ ได้มีการบูรณะ และ ก่อสร้างใหม่ โดยทำการรื้อถอนประตูเมืองและกำแพงเมืองเดิมที่มีสภาพชำรุดทรุดโทรม ในลักษณะของซุ้มประตูทั้ง 3 นั้น ได้ออกแบบลักษณะเป็นศิลปะร่วมสมัย โดยยึดเค้าโครงเดิมของประตูเมือง และกำแพงเมืองแบบเดิม ทั้งนี้ในช่วงเวลาที่ก่อสร้างซุ้มประตูใหม่นั้น พื้นที่ตัวเมืองมีการขยายเพิ่มขึ้น และได้มีการขยายถนนออกไปทางประตูเมืองทั้ง 3 จากเดิมในอดีตมาก จึงทำให้การออกแบบซุ้มประตูมีความกว้างเพื่อรองรับกับการจราจรและรถยนต์ที่สัญจรเข้าออกผ่านซุ้มประตูเมืองทั้ง 3 เป็นอย่างดี
 
==การบูรณะ และก่อสร้าง ประตูพลแสน<br>ประตูพลล้าน และประตูไชยณรงค์==