ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 18:
พระยาทรงสุรเดชได้บันทึกจากความทรงจำถึงเหตุการณ์ต่าง ๆ ช่วงนี้ไว้อย่างละเอียด ซึ่งใน[[การปฏิวัติสยาม|การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475]] นั้น พระยาทรงสุรเดชเป็นผู้ที่เชื่อมให้นายทหารระดับสูงที่มีแนวคิดเดียวกัน เช่น [[พระยาพหลพลพยุหเสนา]] เข้าร่วมกับ[[คณะราษฎร]] ซึ่งตัวพระยาทรงสุรเดชเองเคยพูดว่า ''"พวกข้าราชการชั้นผู้ใหญ่แทบทั้งหมด มุ่งแต่เพียงทำตัวให้โปรดปรานไว้เนื้อเชื่อใจจากพระเจ้าแผ่นดินไม่ว่าด้วยวิธีใด ตลอดทั้งวิธีที่ต้องสละเกียรติยศด้วย..."''
 
ในแผนการเปลี่ยนแปลงการปกครองนั้น การประชุมใน[[ประเทศไทย]] คณะราษฎร์ราษฎรได้ประชุมกัน 2 ครั้ง ครั้งแรกประชุมกันเพียงไม่กี่เดือนก่อนลงมือ ที่บ้านพักของพระยาทรงสุรเดชที่[[สะพานควาย]] และครั้งที่ 2 ที่บ้านพักของ ร้อยโท[[ประยูร ภมรมนตรี ]] ที่[[ถนนเศรษฐศิริ]] ซึ่งพระยาทรงสุรเดชในตอนแรกนั้นได้เสนอแผนการว่า ใช้ทหารยึด[[พระที่นั่งอัมพรสถาน]]ซึ่งเป็นที่ประทับของ[[รัชกาลที่ 7]] ในเวลากลางคืน และขอถวายความอารักขาแก่ในหลวงในฐานองค์ประกัน แล้วบังคับให้ลงพระปรมาภิไธยพระราชทานรัฐธรรมนูญแก่ปวงชนชาวไทย แต่แผนนี้มีผู้ไม่เห็นด้วย เพราะระหว่างที่บุกเข้าไปอาจเกิดการปะทะกันกับทหารมหาดเล็กจนถึงขึ้นนองเลือด และผู้ก่อการได้ตกลงในหลักการของการปฏิวัติครั้งนี้คือ จะต้องพยายามมิให้เกิดการนองเลือด จะต้องไม่กระเทือนต่อพระเกียรติยศของพระมหากษัตริย์เกินควร และตกลงว่าจะทำการปฏิวัติในช่วงเวลาที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จแปรพระราชฐานประทับที่[[พระราชวังไกลกังวล]]
 
การประชุมกันหนที่ 2 ที่บ้านของร้อยโทประยูร ในวันที่ [[12 มิถุนายน]] พระยาทรงสุรเดชจึงเสนอแผนการทั้งหมด 3 แผน
บรรทัด 34:
ต่อมาที่ประชุมได้ตกลงเลื่อนวันปฏิบัติการไปเป็น[[วันพฤหัสบดี]]ที่ [[23 มิถุนายน]] เนื่องจากได้รับรายงานว่า ในวันอังคาร เรือรบยามฝั่งยังไม่กลับ หากตกลงทำการในวันพฤหัสบดีที่ 23 ก็จะขาด[[ทหารเรือ]]
 
ในวันที่ [[22 มิถุนายน]] ก็มีรายงานว่า บรรดาสมาชิกคณะราษฎร์ ราษฎรยังไม่พร้อมที่จะทำการยึดอำนาจในวันที่ 23 มิถุนายน ดังนั้นวันปฏิบัติจึงเลื่อนไปวันที่ 24 มิถุนายน แทน แตค่ทั้งหมดก็ยังไม่รู้ว่า พระยาทรงสุรเดชจะนำทหารออกมาใช้ยึดอำนาจได้อย่างไร
 
บทบาทของพระยาทรงสุรเดชในวันที่เปลี่ยนแปลงการปกครองนั้น คือ การปล่อยข่าวลวงและล่อหลอก เพื่อชักนำให้ทหารแต่ละกรมกองมาชุมนุมร่วมกันที่ลานพระบรมรูปทรงม้า เพื่อให้เข้าร่วมในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง อย่างไม่ขัดขืน
บรรทัด 75:
 
== บั้นปลายชีวิต ==
หลังจากมีความขัดแย้งกับบุคคลระดับสูงในคณะราษฎร์ราษฎรด้วยกันเอง พระยาทรงสุรเดชก็ได้เดินทางไปพำนักที่[[ศรีลังกา]]เป็นระยะเวลา 2 ปี จนกระทั่ง [[พ.ศ. 2481]] เมื่อเห็นว่าสถานการณ์เหมาะสมแล้วจึงเดินทางกลับประเทศ และเสนอต่อ[[กระทรวงกลาโหม]]ขอตั้งโรงเรียนรบขึ้นที่[[เชียงใหม่]] สภากลาโหมอนุมัติ จึงทำนายทหารระดับหัวกะทิทั้งหมด 29 นายขึ้นไปเรียนที่นั่น แต่ทาง[[หลวงพิบูลสงคราม]]เกรงว่าจะเป็นการซ่องสุมผู้คนก่อการกบฏ จึงส่งหน่วยสอดแนมไปติดตามดูความเคลื่อนไหวเป็นระยะ
 
เมื่อนักเรียนรุ่นแรกศึกษาจบแล้ว พระยาทรงสุรเดชได้นำลูกศิษย์ตระเวณดูงานทหารตามกรมกองต่าง ๆ แต่เมื่อถึงกรมทหารราชบุรี ได้ถูกยื่นซองขาวมีข้อความให้ออกจากราชการโดยไม่มีเบี้ยหวัดบำนาญ พร้อมกับบีบบังคับให้เดินทางออกสู่ต่างประเทศ ซึ่งเป็นที่มาของ[[กบฏพระยาทรงสุรเดช]]ในที่สุด