ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระธรรมดิลก (จันทร์ กุสโล)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Chuansin (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 21:39, 4 มีนาคม 2549

พระธรรมดิลก (จันทร์ กุสโล) นามเดิม จันทร์ แสงทอง กำเนิด 26 พ.ย. 2460 สถานที่เกิด อ.ป่าซาง จ.ลำพูน อุปสมบท ณ วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร อ.เมือง จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 6 ก.ค. 2480 โดยมี พระพุทธิโสภณ (แหวว) เป็นพระอุปัชฌาย์ สมณศักดิ์ พระธรรมดิลก

เป็นพระนักพัฒนา

หลวงปู่เข้าสู่เพศบรรพชิตโดยบรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ 15 ปี ณ วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร อ. เมือง จ.เชียงใหม่ ท่านสอบได้เปรียญธรรม 5 ประโยค ในปีพ.ศ. 2483 ท่านให้ความสนใจต่อการพัฒนาชนบท และการศึกษาเป็นอย่างยิ่ง โดยได้อุทิศตนเพื่องานดังกล่าวอย่างไม่ย่อท้อ กระทั่งสามารถสร้างผลงานด้านการพัฒนาชนบท และการศึกษาจนเป็นที่ ยอมรับโดยทั่วไป อาทิเช่น - ร่วมกับมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย จัดตั้งมหาวิทยาลัยสงฆ์ ณ วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร ตั้งชื่อว่า สภาการศึกษา มหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา - จัดตั้งมูลนิธิเมตตาศึกษา และโรงเรียนเมตตาศึกษา ณ วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร เพื่อช่วยเหลือให้เด็กยากจนได้มี โอกาสศึกษาเล่าเรียนแบบให้เปล่าทั้งด้านทุนการศึกษา ผู้อุปการะ ที่พักอาศัย อุปกรณ์การเรียน เป็นต้น - จัดตั้งมูลนิธิศึกษาพัฒนาชนบท เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนในชนบทที่ด้อยการศึกษาได้รับการพัฒนาถึงระดับ ที่สามารถช่วยเหลือตนเอง และชุมชนได้ ทั้งด้านอาชีพทางการเกษตร และงานฝีมือท้องถิ่น โดยมีแนวคิดในการ พัฒนาที่ว่า "เศรษฐกิจ จิตใจ ต้องแก้ไขพร้อมกัน"

รางวัลเชิดชูเกียรติ

ผลงานจำนวนมากที่หลวงปู่ท่านได้สร้างไว้ล้วนเป็นผลงานที่มีคุณประโยชน์ต่อสังคม และประเทศชาติอย่างมาก กระทั่งท่านได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติจากหน่วยงาน และองค์กรต่าง ๆ มากมาย เช่น

- พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานโล่รางวัล "มหิดลวรานุสรณ์" แก่สภาสังคม สงเคราะห์แห่งประเทศไทย เพื่อถวายแด่หลวงปู่ ผู้บำเพ็ญประโยชน์ต่อประชาชน สังคม และประเทศชาติ
- ได้รับการถวายรางวัลศิลปินแห่งชาติ ด้านวัฒนธรรมดีเด่น สาขาภูมิปัญญาชาวบ้าน ประจำปี 2538

นับได้ว่าหลวงปู่เป็นพระเถระรูปสำคัญของล้านนาไทยที่บำเพ็ญศาสนกิจตลอดระยะเวลาแห่งเพศบรรพชิต โดย ให้การศึกษา การเผยแพร่ศาสนธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ เป็นผู้นำทางจิตวิญญาณของพุทธศาสนิกชนมาโดยตลอด คุณงามความดีของท่านได้รับการประกาศเกียรติคุณเป็นที่ยอมรับโดยทั่วกัน ควรแก่การเคารพบูชายิ่ง

คำสอน

"สักวา แดนดิน ถิ่นสงบ จะค้นพบ แดนใด สุดใฝ่หา พื้นพิภพ ทั่วทั้ง ฝั่งคงคา บนเวหา สรวงสวรรค์ ชั้นพรหมินทร์ แดนสงบ อยู่ที่ใจ ใช่ที่อื่น ใจชุ่มชื่น ด้วยความดี ใจมีศีล ใจสงบ พบความสุข ทั่วแดนดิน ถิ่นสงบ พบได้ ที่ใจเอย "

ดูเพิ่ม

อ้างอิง