ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สุวรรณภิงคาร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
เครื่องราชูปโภค
 
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
เครื่องราชูปโภคชนิดหนึ่ง มีลักษณะคล้ายคนโท ภิงคาร แปลว่า หม้อ, หม้อน้ำ + สุวรรณ แปลว่า ทอง ใช้เพื่อใส่น้ำเย็นให้พระมหากษัตริย์
บ้างก็ว่าเป็นพระเต้าทักษิโณทก ใช้สำหรับกรวดน้ำ หรือแสดงสิทธิ์ขาด เช่นคราวที่สมเด็จพระนเรศวรทรงใช้พระสุวรณภิงคารหลั่งน้ำทักษิโณทก ประกาศอิสรภาพให้แก่ปวงชนชาวไทย
 
 
เครื่องราชูปโภคมีอยู่ ๔ ชนิดคือ
พานพระขันหมาก พระมณฑปรัตนกรัน พระสุพรรณศรี (บัวแฉก) พระสุพรรณราช ทั้ง ๔ อย่างนี้ทำด้วยทองลงยา มี ๒ สำรับ สำรับใหญ่สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๑ อีกสำรับคือสำรับเล็ก สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๔
๑.พานพระขันหมาก เป็นพาน ๒ ชั้น รูปสี่เหลี่ยมย่อมุม มีซองพานและคลังพร้อมพร้อมสำหรับใส่หมากปัจจุบันไม่ได้ใช้แล้ว เพราะพระมหากษัตริย์ไม่ได้เสวยหมากแล้ว
๒. พระมณฑปรัตนกรัน รูปทรงมณฑปมีพาน ฝา และจอกสำหรับใส่น้ำเย็น
๓. พระสุพรรณศรี กระโถนเล็ก ทำเป็นรูปบัวแฉก
 
๔. พระสุพรรณราช กระโถนใหญ่
 
นอกจากราชูปโภคแล้ว เครื่องใช้ของพระมหากษัตริย์ ยังมีอีกคือ เครื่องพานพระศรี และเครื่องพานพระศรีนี้มี ๒ สำรับ คือ เครื่องทองลงยาและเครื่องนาก เครื่องทองใช้วันเวลาปกติ และเครื่องนากใช้สำหรับใช้ในงานวันพระ
เครื่องพานพระศรี ทั้งที่เป็นเครื่องทองลงยาและเครื่องนาก มี
 
๑. พานพระศรี เครื่องในพร้อมสำหรับใส่หมาก
 
๒. ที่ใส่น้ำเย็น (ถ้าเป็นทองเรียก[[พระสุวรรณภิงคาร]] ถ้าเป็นนากเรียกพระเต้านาก)
๓. พระถ้วย (ทองหรือนาก)
 
๔. พระสุพรรณศรี
 
๕. พระสุพรรณราช
 
 
พระเต้าทองคำ (สุวรรณภิงคาร)
 
ชื่อวัตถุ พระเต้าทองคำ (สุวรรณภิงคาร)
รูปลักษณะ ทำเป็นรูปน้ำเต้า มีฐานเป็นรูปกลีบดอกไม้ประดับอยู่ ๒ ข้าง ข้างหนึ่งมีลวดลายเป็นรูปเทวดา อีกข้างหนึ่งมีลวดลายเป็นรูป นาคสามเศียรและพันธุ์พฤกษา ฐาน คอ และฝามีลวดลาย ยอดของฝาเป็นรูปพรหมพักตร์ ชำรุด พวยหักหาย
ศิลปสมัย อยุธยาตอนต้น
ขนาด เส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๓.๖ เซนติเมตร สูงพร้อมฝา ๑๘.๕ เซนติเมตร ฝาสูง ๖.๘ เซนติเมตร ฝากว้าง ๔.๕ เซนติเมตร น้ำหนักรวม ๖๐๐ กรัม
สถานที่จัดแสดง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา พระนครศรีอยุธยา
[[ภาพ:http://www.finearts.go.th/cms_finearts/Image_Upload/admin_pmuseum/p07119.jpg.jpg]]