ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิสุทธิ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Budthai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Budthai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 13:
*'''ทิฏฐิวิสุทธิ''' ความหมดจดแห่ง[[ทิฏฐิ]] คือ ความรู้เข้าใจ มองเห็น[[นามรูป]]ตามสภาวะที่เป็นจริง เป็นเหตุข่มความเข้าใจผิดว่าเป็นสัตว์บุคคลเสียได้ เริ่มดำรงในภูมิแห่งความไม่หลงผิด
 
วิธีการปฏิบัติให้มีทิฏฐิวิสุทธิเกิดขึ้น คือ การหมั่นเอาหลักการแยกแยะที่ทรงแสดงไว้ในพระสูตรและพระอภิธรรมซึ่งจะต้องเรียนมาเป็นอย่างดีแล้ว มาคิดแยกแยะสรรพสิ่งให้ได้ต่อเนื่องตลอดทั้งวันทั้งคืน เช่น คิดถึงเพลงที่ชอบก็ต้องคิดเลยไปถึงคำว่า "รูปธรรม ซึ่งเป็นอัพยากตธรรมซึ่งควรกำหนดรู้", คิดถึงจิตที่ไปรับเสียงเพลงก็ต้องคิดเลยไปถึงคำว่า "นามธรรม ประเภทอกุศลธรรมซึ่งควรละ" แล้วก็สรุปว่า "ไม่มีสัตว์บุคลอะไร มีแค่ธรรมะคือรูปนามเท่านั้น" เป็นต้น ทำอย่างนี้ในทุก ๆ สิ่งทุก ๆ อย่างจนกว่าจะคล่องชำนาญ ซึ่งในวิสุทธิมรรคมหาฏีกาท่านว่า "ควรทำให้เป็นดุจวสีของคนได้ฌาน"เลยทีเดียว การปฏิบัติจึงต้องทำทั้งวันตั้งแต่ตื่นจนหลับ เหมือนกับคนทำฌานที่ต้องคอยนึกถึงนิมิตที่ใช้ทำฌานนั่นแหละ แต่จะเห็นผลได้ชัดเจนดีหากมีเวลาทำสมาธิแล้วค่อยออกจากสมาธินั่งพิจารณาต่อไป เพราะจะแยกแยะได้ชัดเจน นึกหน่วงได้คล่องดี.
*'''กังขาวิตรณวิสุทธิ''' ความหมดจดแห่ง[[ญาณ]]เป็นเครื่องข้ามพ้นความสงสัย ความบริสุทธิ์ขั้นที่ทำให้กำจัดความสงสัยได้ คือ กำหนดรู้ปัจจัยแห่งนามรูปได้แล้วจึงสิ้นสงสัย
 
วิธีการปฏิบัติให้มีทิฏฐิวิสุทธิเกิดขึ้น คือ การหมั่นเอาหลักการเชื่อมเหตุเชื่อมผลให้ตรงกันตามที่ทรงแสดงไว้ในพระสูตรและพระอภิธรรมซึ่งจะต้องเรียนมาเป็นอย่างดีแล้ว มาคิดเชื่อมเหตุเชื่อมผลของสรรพสิ่งที่ถูกแยกแยะมาด้วยทิฏฐิวิสุทธิแล้วให้ได้ต่อเนื่องตลอดทั้งวันทั้งคืน เช่น คิดถึงเพลงที่ชอบ ก็คิดถึงจิตใจหื่นกระหายจะฟังได้ และคิดเลยไปจนถึงว่า "จิตโลภๆอย่างนี้พาไปเกิดในอบายได้ เพราะจะลักซีดีอันเป็นการผิดศีลก็ได้" เป็นต้น ทำอย่างนี้ในทุก ๆ สิ่งทุก ๆ อย่าง จนกว่าจะคล่องชำนาญ ซึ่งในวิสุทธิมรรคมหาฏีกาท่านก็บอกไว้เช่นเดียวกับในทิฏฐิวิสุทธิอีกว่า "ควรทำให้เป็นดุจวสีของคนได้ฌาน"เลยทีเดียว การปฏิบัติจึงต้องทำทั้งวันตั้งแต่ตื่นจนหลับ เหมือนกับคนทำฌานที่ต้องคอยนึกถึงนิมิตที่ใช้ทำฌานนั่นแหละ แต่จะเห็นผลได้ชัดเจนดีหากมีเวลาทำสมาธิแล้วค่อยออกจากสมาธินั่งพิจารณาต่อไป เพราะจะแยกแยะได้ชัดเจน นึกหน่วงได้คล่องดี.
 
*'''มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ''' ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องรู้เห็นว่าทางหรือมิใช่ทาง