ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เคทู"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
JAnDbot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: eo:K2
Goodguy (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 22:
แม้ว่ายอดเขาเอเวอเรสจะมีความสูงมากกว่ายอดเขาเคทูแต่เคทูถูกพิจารณาว่าปีนยากกว่า สาเหตุเป็นเพราะสภาพอากาศที่แปรปรวนได้ง่าย และระยะทางระหว่างตีนเขาถึงยอดเขาที่ยาวกว่า โดยนักปีนเขาหลายคนถือว่าเคทูเป็นยอดเขาที่ปีนยากที่สุดและอันตรายที่สุดในโลก โดยเคทูมีอัตราการเสียชีวิตของผู้ที่พยายามพิชิตยอดเขากว่าร้อยละ 27 เมื่อเทียบกับเอเวอเรสที่มีอัตราการเสียชีวิตที่ร้อยละ 9 (อย่างไรก็ตามยอดเขาที่มีอัตราการเสียชีวิตมากที่สุด คือ ยอดเขา Annapurna (ความสูง 8,091 เมตร) ในเทือกเขาหิมาลัย ที่มีอัตราการเสียชีวิตสูงถึงร้อยละ 40) ทำให้เคทูมีชื่อเล่นว่า ยอดเขาดุร้าย (Savage Mountain) โดยข้อมูลล่าสุดเมื่อเดือนสิงหาคม 2004 มีคนที่สามารถพิชิตยอดเขาได้เพียง 246 คน เทียบกับ 2,238 คนที่สามารถพิชิตเอเวอเรสได้ (เหตุผลหนึ่งก็อาจะเป็นเพราะมีคนนิยมไปปีนยอดเขาเอเวอเรสมากกว่าเช่นกัน) โดยจำนวนผู้เสียชีวิตที่เคทูมีสูงถึง 56 คน โดยในปี 1986 มีผู้คนเสียชีวิตสูงถึง 13 คนจากการปีนครั้งเดียว ซึ่งเหตุการณ์นี้เรียกว่าเคทูTragedy
 
ตำนานอีกอย่างหนึ่งของเคทูคือ การเป็นยอดเขาต้องสาปสำหรับสตรี โดย Wanda Rutkiewicz ชาวโปแลนด์ผู้ที่เป็นสตรีคนแรกที่สามารถพิชิตยอดเขาเคทูและผู้หญิงอีกห้าคนที่สามารถพิชิตยอดเขาได้ต่างก็เสียชีวิตในเวลาต่อมา โดยสามคนในจำนวนนั้นเสียชีวิตระหว่างการปีนลง และ Rutkiewicz เสียชีวิตในระหว่างการปีน[[ยอดเขา Kangchenjungaกันเจนชุงคา]] ในปี 1992 อย่างไรก็ตามคำสาปนี้ถูกทำลายได้ในปี 2004 เมื่อ Emurne Pasaban สามารถพิชิตยอดเขาและสามารถกลับมาได้อย่างปลอดภัยในปี 2004 และ Nives Meroi ชาวอิตาลีและ Yuka Kamatsu ชาวญี่ปุ่นต่างก็ประสบความสำเร็จในการพิชิตยอดเขาในปี 2006
 
โดยตลอดประวัติศาสตร์การปีนยอดเขาเคทูมักจะเป็นการปีนโดยไม่ใช้[[ออกซิเจน]]ช่วย และใช้อุปกรณ์เพียงเล็กน้อยเท่านั้น อย่างไรก็ตามตั้งแต่ปี 2004 เป็นต้นมา การใช้ออกซิเจนได้เป็นที่นิยมเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/เคทู"