ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นักคณิตศาสตร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
NongBot (คุย | ส่วนร่วม)
บอตแก้คำ
บรรทัด 32:
* คณิตศาสตร์ใหม่ คือการสร้างคณิตศาสตร์ขึ้นมาใหม่จากเซตของสัจพจน์ที่แตกต่างจากเดิมเพื่อก้าวข้ามขอบเขตของคณิตศาสตร์เดิม บางครั้งก็มีการถกเถียงกันว่าควรจะยอมรับสัจพจน์บางอย่างหรือไม่ เช่น [[สัจพจน์การเลือก]] ([[:en:axiom of choice|axiom of choice]]) เป็นสัจพจน์ที่ถูกเถียงกันมากที่สุดว่าควรจะถือว่าเป็นความจริงดีหรือไม่
* ความหมายของสิ่งต่างๆ ในคณิตศาสตร์ เช่น ความหมายของ[[จำนวนอนันต์]] หรือ ความหมายของทฤษฎีบทต่างๆ
อนึ่ง ถึงแม้นักคณิตศาสตร์ทั่วไปมักมีข้อตกลงร่วมกันว่าประเด็นข้างต้นนั้นถือว่าเป็นจริงโดย[[สามัญสำนึก]]อยู่แล้ว แต่ทว่าไม่มีแนวคิดใด รูปแบบใดที่ทุกคนยอมรับว่าดีที่สุด นักคณิตศาสตร์แต่ละคนก็จะมีความเชื่อในแต่ละประเด็นข้างต้นแตกต่างกันไป นักคณิตศาสตร์ที่โด่งดังหลายท่านเช่น [[อองรี ปวงกาเร|ปวงกาเร]] หรือ [[คาร์ล ฟรีดริช เกาส์|เกาส์]] ก็สนใจในปรัชญาคณิตศาสตร์ ซึ่งบางทีผลลัพธ์ทางปรัชญาคณิตศาสตร์บางอย่างก็ส่งผลกระทบที่ยิ่งใหญ่ต่อวงการคณิตศาสตร์โดยตรง เช่น เมื่อเกาส์, [[โบลยาอี้]] และ[[โลบาชอพสกี้]]ค้นพบว่าการละทิ้ง[[สัจพจน์เส้นขนาน]]นั้นสามารถกำเนิดสาขาใหม่ของคณิตศาสตร์คือ[[เรขาคณิตนอกแบบยุคลิด]]ได้นั้น นักคิดบางท่านเปรียบว่าการค้นพบครั้งนี้สำคัญเทียบเท่า[[การปฏิวัติของโคเปอร์นิคัส]]ทาง[[ดาราศาสตร์]]และ[[ทฤษฎีวิวัฒนาการ]]ของ[[ชาร์ลชาลส์ ดาร์วิน]]เลยทีเดียว
 
 
นักคณิตศาสตร์แตกต่างจาก[[นักวิทยาศาสตร์]]หรือ[[วิศวกร]]ในประเด็นหลัก ๆ ตรงที่ว่า นักคณิตศาสตร์ส่วนใหญ่ไม่ให้ความสำคัญกับ[[การทดลอง]]มากนัก ในขณะที่สำหรับนักวิทยาศาสตร์หรือวิศวกรนั้น '''การทดลอง''' ถือเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดเลยทีเดียว. นอกจากนั้น ผลลัพธ์หรือทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์หรือวิศวกรรรม มักถือเป็นแค่สิ่งที่ใช้ประมาณหรือใกล้เคียงกับความจริงเท่านั้น (นักฟิสิกส์ที่มีชื่อเสียงเช่น [[ไฟน์แมน]] หรือ [[ดิแรก]] ได้กล่าวว่าเราไม่มีทางสร้างทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ที่อธิบายความจริงโดยสมบูรณ์ได้ เพราะว่ามันซับซ้อนเกินไป) ทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์นั้นถูกล้มล้างได้ตลอดเวลา ถ้าขัดกับข้อมูลผลการทดลองที่เชื่อถือได้มากพอ. แต่สำหรับนักคณิตศาสตร์แล้วแต่ละทฤษฎีบทถือเป็นความจริงอย่างที่สุดเลยทีเดียว (ซึ่งความจริงที่ว่านี้ต้องอิงกับเซตของสัจพจน์ที่นักคณิตศาสตร์ใช้ด้วย)