ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ขอม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 7:
นักวิชาการประวัติศาสตร์หลายคน เช่น [[ชาญวิทย์ เกษตรสิริ]], [[ประเสริฐ ณ นคร]], [[ไมเคิล ไรท์]] และ [[สุจิตต์ วงษ์เทศ]] เห็นว่าขอมกับเขมรคือคนกลุ่มเดียวกัน<ref>{{cite news |title=ชาญวิทย์ เกษตรศิริ : ขอม คือ ใคร Who are the Khom? |url=https://prachatai.com/journal/2009/07/25138 |accessdate=30 January 2023 |work=ประชาไท |language=th}}</ref><ref>{{cite news |title="เขมร" ไม่เรียกตัวเองว่า "ขอม" ไม่มีคำว่าขอมในภาษาเขมร คำว่า "ขอม" มาจากไหน? |url=https://www.silpa-mag.com/history/article_75839 |accessdate=30 January 2023 |work=ศิลปวัฒนธรรม |date=27 January 2023 |language=th}}</ref>
 
== ขอม ไม่ใช่เขมร ไม่ใช่ขะแมร์ ==
เดิม '''ขอม''' ไม่ได้หมายถึง'''เขมร'''กลุ่มเดียว เพราะ [[เขมร]] นั้น เป็นคำไทย ซึ่ง หมายถึง '''ขะแมร์''' ชาวเขมร ไม่ได้เรียกตัวเองว่า ขอม และไม่รู้จัก ขอม โดยคำว่า เขมร ได้ปรากฏขึ้นอย่างน้อย ๆ เมื่อ พ.ศ. 1069 จากจารึกคำว่า เขมร ในจารึกซับบาก อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา<ref>https://www.thairath.co.th/content/536482</ref> ต่อมาสถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นใหม่ เมื่อ พ.ศ. 1893 แล้วชื่อ ขอม มีความหมายเปลี่ยนไปเป็นพวกเขมรเท่านั้น สืบมาจนถึงทุกวันนี้ ทำไมชื่อขอม เปลี่ยนความหมายไปเป็นเขมร ? ยังหาคำอธิบายไม่ได้ชัดเจน แต่พอจะจับเค้าว่าเพราะบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยานับถือพุทธนิกายเถรวาทหมดแล้ว รวมทั้งละโว้ แต่ทางเขมรยังมีพวกนับถือฮินดูกับพุทธมหายาน คือ ขอมอยู่บ้าง ทั้งนี้การสืบค้นต้นขอมที่ถูกต้องนั้น ต้องมีความเข้าใจเรื่องอัตลักษณ์และเอกลักษณ์ของคนไทย ทั้งไทยเหนือที่เคยปกครองพระนครในกรรมพูชา ที่เราเรียกว่า ขอม และ ไทยใต้ ที่เราเรียกว่า สยาม ก็เป็นคนไทยด้วยกัน แต่ความเป็นมาที่กินเวลาหลายพันปี ตั้งแต่ก่อนยุคพุทธกาลนั้น เรามีตำแหน่งปกครองที่เป็นเอกลักษณ์ “คู่ขนาน” กันมาอย่างมั่นคง ตำแหน่งผู้ปกครองฝ่ายคุมกำลังพลเรียกว่า “ขุน” เป็นประมุขเมืองหรือแว่นแคว้น ส่วนฝ่ายที่สืบทอดวิทยาการทุกแขนง ที่คู่ขนานในเชิงวิชาการ เราเรียกว่า “ขอม” แม้แต่การคิดค้นลายสือ เมื่อฝ่าย “ขุนสือไทย” คิดประดิษฐ์อักษรไทยได้แล้ว ก็ยังมี “ขอมฟ้าไทย” เป็นพี่น้องกัน สามารถคิดค้น “ลายสือขอม” ได้อีกด้วย
ความเข้าใจผิดไขว้เขวที่ยังหลงไปเรียกเขมรว่า ขอม นั้น เพราะเหตุว่า เมื่อขอมไทยฝ่ายเหนือ ได้ถอนกำลังออกจากการปกครองพระนคร ที่บรรพบุรุษไทยได้สร้างนครวัดเอาไว้ คือ พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ มีการสืบเชื้อสายขอมไทยเหนือ คือ ขอมผาเมือง หรือ มีราชศักดิ์เป็น ขุนศรีปตินทราทิตย์ ซึ่งเป็นเหลนของพระเจ้าชัยฯ ๗ และ ในยุคที่เสียพระนครให้แก่ตระซ็อกประแอม ก็ถอยกลับมาตั้งเมืองหลวงใหม่คือ กรุงเทพทวารวดีศรีอยุธยา โดยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ซึ่งไม่ใช่พระเจ้าอู่ทองแต่อย่างใด
ความแตกต่างหรือความขัดแย้งในการปกครองที่มีตำแหน่งโดดเด่นคู่ขนานกัน ทั้ง “ขุน” (ราชวงศ์อินทร์ สายขอมไทยฝ่ายใต้ คือ ทวารวดี และ สุวรรณภูมิ) กับ “ขอม” (ราชวงศ์ราม สายขอมไทยฝ่ายเหนือ และ อีสานใต้ พิมาย โคราช ที่รวมอยู่กับพระนครในกัมพูชาปัจจุบัน)
ทั้งสองราชวงศ์มีความโดดเด่นในการปกครองที่ต้องมารวมพลังกันเพราะว่า ที่มั่นของไทยเหนือคือ สุโขทัย และ พระนคร กำลังเสื่อมอำนาจลง แต่ฝ่ายพระนครก็ใช้บารมีจากความเป็นไทยทวารวดีละโว้ ที่เป็นต้นวงศ์ราม เข้ามาตั้งเมืองคู่ขนานกับ ‘อโยธยาศรีรามเทพนคร’ คือ ‘กรุงเทพทวารวดีศรีอยุธยา’
แต่ ในสายราชวงศ์อินทร์ ที่เดิมเคยมีตำแหน่งเคียงคู่กันทั้ง “ขุน” และ “ขอม” กลับคงไว้ตำแหน่งเดี่ยวสูงสุดคือ ขุน เช่น ขุนหลวงพะงั่ว ขุนอินทราชัย เป็นต้น ดังนั้น เมื่อวงศ์รามซึ่งเป็นอัตลักษณ์ไทยฝ่าย “ขอม” ได้เข้ามาในดินแดนสุวรรณภูมิ จึงต้องแย่งชิงอำนาจกันเอง จึงเกิดมีคำเรียกว่า “ขอมแปรพักตร์” แต่ความจริงฝ่ายวงศ์อินทร์นั้น ได้แปรพักตร์ไปคบค้ากับจีนที่ส่งกองกำลังของแม่ทัพเรือคือ นายพลเจิ้งเหอ เข้ามาสนับสนุนให้ฝ่ายขุนชาวไทยใต้ยึดเอากรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองท่าสำคัญในการส่งสินค้าทางภาคพื้นแผ่นดินใหญ่ออกสู่ทะเล
สุจิตต์ วงษ์เทศ ได้อธิบายว่า เมื่อถึงยุคของพระเจ้านครอินทร์ สายวงศ์อินทร์แห่งสุพรรณภูมิ (สุพรรณบุรี) ได้เข้าครองราชสมบัติกรุงศรีฯ หลังจากต้นสายคือ ขุนหลวงพะงั่วได้ปราบดาขึ้นครองก่อนหน้านั้น (โดยที่ ขอม วงศ์ราม คือ พระราเมศวร ต้องถอยกลับไปปกครองเมืองขอมเดิมคือ ละโว้ ลพบุรี) สิ่งสำคัญที่ทำให้ความเป็น “ขอมไทย” เสื่อมอำนาจลง ก็คือ เจ้านครอินทร์ แห่งสาย “ขุน” ได้สั่งยกเลิกการใช้ภาษา “ขอมในราชสำนักกรุงศรีอยุธยา” ทั้งหมด (ที่เราเข้าใจว่า ภาษาขอมคือภาษาเขมร นั่นเอง)ซึ่งเคยใช้กันมาตั้งแต่ยุคสมัยที่เคยปกครองพระนคร (นครวัดนครธม)ซึ่งพ่อขุนขอมผาเมืองเรืองอำนาจ และส่งต่อมาถึงรุ่นหลานคือ พระรามาธิบดีที่๑ ซึ่งนักประวัติศาสตร์สายไทยใต้พยายามจะให้คนรุ่นหลังเรียกว่า พระเจ้าอู่ทอง แต่ความเป็นจริง สายวงศ์ราม ไม่เคยใช้ชื่อตำแหน่งเจ้าอู่ทองในการปกครองเมืองแต่อย่างใด มีแต่ใช้ชื่อ วรมะเทวะ สายพระรามที่นับถือพราหมณ์ฮินดู ต่อมา พระเจ้าชัยฯ๗ เปลี่ยนมานับถือพระพุทธศาสนานิกายมหายาน จากหลักฐานที่ปราสาทหินพิมาย และ พระพุทธรูปนอน เมืองเสมา อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งพ่อขุนขอมผาเมือง เคยปกครองอยู่เมืองราดนี้ มาก่อน นั่นเอง
ผลจากการลดบทบาทอารยธรรมภาษาขอม ซึ่งเคยใช้ควบคู่กันมาตั้งแต่ก่อนยุคพุทธกาล แต่เนื่องจากตัวอักษรของชาวพุทธไทย นิกายเถรวาท ได้ใช้ภาษาบาลี เป็นตัวอักษรที่ประดิษฐ์ขึ้นจาก “ลายสือไทย” แต่ ชาวไทยพุทมหายาน (สายวงศ์ราม) ฝ่ายไทยเหนือ ได้เคยประดิษฐ์ “ขอมสือไทย” (โดย ขอมฟ้าไทย)สำหรับจารึกตัวอักษรทางศาสนาพุทธ นิกายมหายาน จึงมีตัวลายสือขอม ที่แปลกแยกไปใช้ภาษาสันสกฤตเป็นต้นเค้าภาษา นั่นเอง
ในเมื่อเจ้านครอินทร์ ได้ขึ้นปกครองกรุงศรีฯ (รัชกาลที่๔) แล้ว เมื่อประกาศให้ใช้ภาษาไทย หรือ “ลายสือไทย” แทนที่ “ลายสือขอมไทย” นับตั้งแต่นั้นมา อารยธรรมขอม ก็ยังคงหลงเหลืออยู่แต่ในใบลาน ซึ่งเป็นตัวหนังสือธรรม และ ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ชาวกัมพูชาซึ่งคุ้นเคยกับอักษรขอมไทยที่แกะสลักจารึกไว้ในกำแพง และ หลักศิลาตามสถานที่โบราณสถานต่างๆ จึงนำอักษรขอมไทย มาใช้เป็นภาษาประจำส่วนราชการ หรือ ภาษาทางการประจำชาติ ซึ่งเดิมก็คือ “ภาษาขอมไทย” นั่นเอง
 
 
คำว่า ขอม ปรากฏในจารึกวัดศรีชุม สุโขทัย 2 แห่ง ระบุชื่อ ขอมสบาดโขลญลำพง [[จิตร ภูมิศักดิ์]] เป็นนักวิชาการคนแรก ๆ พยายามศึกษาและอธิบายคำคำนี้ใหม่ ได้เสนอว่า ขอม ไม่ได้หมายถึงชนชาติหรือเชื้อชาติ แต่หมายถึงกลุ่มคนกลุ่มหนึ่ง ที่รับวัฒนธรรมฮินดูจากชมพูทวีปแล้วภายหลังเปลี่ยนเป็นพุทธมหายาน (ต่างกับชนชาติไทย-ลาวที่นับถือผีก่อนเปลี่ยนมารับพุทธเถรวาทจากชมพูทวีป) ใช้อักษรขอมในการจดจารึก ซึ่งคนกลุ่มนี้รวมถึงชนชาติเขมรและรัฐเครือญาติทั้งหมด รวมทั้งละโว้ ซึ่งต่อมาได้กลายมาเป็นอโยธยาศรีรามเทพนครด้วย คำว่า "ขอม" ถูกใช้เรียกกลุ่มคนโดยรวม คล้ายกับการใช้คำว่า "แขก" เรียกคนอิสลาม/ซิกข์/ฮินดูโดยรวม โดยไม่แยกว่าเป็นคนอินเดีย มลายู ชวา หรือตะวันออกกลาง
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/ขอม"