ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แม่เจ้าศรีโสภา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
PickOil (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับไอโอเอส
PickOil (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับไอโอเอส
บรรทัด 26:
 
ต่อมาเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2449 แม่เจ้าศรีโสภาอัครชายา ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้น จตุตถจุลจอมเกล้า (จ.จ.) (ฝ่ายใน) วิสามัญสมาชิกาจตุตถจุลจอมเกล้า
 
แม่เจ้าศรีโสภาอัครชายา ได้ถึงแก่อนิจกรรม เมื่อปี พ.ศ. 2467 (นับปีใหม่วันที่ ๑ เมษายน) ในบันทึกความทรงจำสำราญ จรุงจิตรประชารมย์ มหาดเล็กในเจ้ามหาพรหมสุรธาดาฯ กล่าวถึงงานศพแม่เจ้าศรีโสภาว่า ...“ศพของแม่เจ้าศรีโสภา ปลงศพตั้งปราสาท 3 ยอด สวยงามมาก บำเพ็ญกุศล 3 วัน 3 คืน ณ ท้องข่วง มี “การตี๋มวย (ชกมวย)” “ผุยมะนาว (โปรยทาน)” ในการปลงศพ การชกมวย ผุยมะนาวในงานศพจะทำได้เฉพาะงานพระศพของเจ้าผู้ครองนครและเจ้านายชั้นสูงเท่านั้น คนสามัญห้ามทำเด็ดขาด เป็นอาณาสิทธิของเจ้าผู้ครองนคร เว้นพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ให้ทำได้โดยอนุโลม”
 
“พระศพแม่เจ้าศรีโสภา ตั้งบำเพ็ญพระกุศล 3 วัน 3 คืนนั้น จึงพระราชทานเพลิง ในระหว่างตั้งปลงพระศพแม่เจ้าศรีโสภา ในการออกบำเพ็ญพระกุศล 3 วัน 3 คืนนั้น นอกจากมีการตีมวย (ชกมวย) และผุยมะนาวแล้ว ยังมีการจุดพลุญี่ปุ่นและอุ่มงัน (สมโภช) ด้วยระนาดปาดก้อง (ฆ้อง) (ปี่พาทย์) วงใหญ่ การบรรเลงเป็นเพลงล้านนาไทยโบราณ เท่าที่ผมจำได้มีเพลงม้าย่อง เพลงม้าตึ๊บคอก (กระทืบ) เพลงปราสาทไหว เพลงกราวนอก เพลงแม่ม่ายก้อม (สั้น) เพลงน้ำตกตาด (เหว) เป็นต้น”
 
== ราชโอรส/ธิดา ==