ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นาซา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
AAAERTCM (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขของ 1.46.8.67 (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย MayThe2nd
ป้ายระบุ: ย้อนรวดเดียว
บรรทัด 35:
หลังจาก[[โครงการอวกาศของโซเวียต|สหภาพโซเวียต]] ส่งดาวเทียมดวงแรกของโลก (''[[ดาวเทียมสปุตนิค 1]]'') ขึ้นสู่อวกาศ เมื่อวันที่ [[4 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2500]] (ค.ศ. 1957) สหรัฐฯ เริ่มหันมาใส่ใจกับโครงการอวกาศของตนเองมากขึ้น [[รัฐสภา (สหรัฐ)|สภาคองเกรส]]รู้สึกหวั่นเกรงต่อภัยด้านความมั่นคงและภาวะความเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีของตน ประธานาธิบดี[[ดไวท์ ดี. ไอเซนฮาวร์]] และคณะที่ปรึกษาได้ประชุมหารือกันเป็นเวลานานหลายเดือนจนได้ข้อสรุปว่า สหรัฐฯ จำเป็นต้องก่อตั้งหน่วยงานราชการขึ้นใหม่ ให้ทำหน้าที่เกี่ยวกับกิจกรรมอวกาศทั้งหมดที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทหาร
 
วันที่ [[29 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2501]] (ค.ศ. 1958) ประธานาธิบดีไอเซนฮาวร์ลงนามในกฎหมายการบินและอวกาศแห่งชาติ ค.ศ. 1958 เพื่อก่อตั้งองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (NASA) เริ่มปฏิบัติงานในวันที่ [[1 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2501]] ขณะนั้นนาซาประกอบด้วยห้องปฏิบัติการ 4 แห่จัยแห่ง มีพนักงานประมาณ 8,000 คน ที่โอนมาจาก[[คณะกรรมการที่ปรึกษาด้านการบินแห่งชาติ]] (NACA) ซึ่งเป็นหน่วยงานวิจัยของรัฐที่มีอายุกว่า 46 ปี
 
โครงการในระยะแรกของนาซาเป็นการวิจัยโดยมีเป้าหมายส่งมนุษย์ขึ้นไปกับยานอวกาศ ดำเนินไปพร้อมแรงกดดันจากการแข่งขันกับ[[สหภาพโซเวียต]]ในระหว่าง[[สงครามเย็น]] นาซาเริ่มต้นศึกษาความเป็นไปได้ ในการใช้ชีวิตของมนุษย์ในห้วงอวกาศด้วย[[โครงการเมอร์คิวรี]]ใน [[พ.ศ. 2501]] ต่อมาวันที่ [[5 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2504]] (ค.ศ. 1961) นักบินอวกาศ [[อลัน บี. เชเพิร์ด จูเนียร์]] กลายเป็นชาวอเมริกันคนแรกในอวกาศ เมื่อเขาเดินทางไปกับ[[ยานเมอร์คิวรี 3|''ยานฟรีดอม 7'']] ในภารกิจนาน 15 นาที แบบไม่เต็มวงโคจร หลังจากนั้น[[จอห์น เกล็นน์]] กลายเป็นชาวอเมริกันคนแรกที่โคจรรอบโลกเมื่อวันที่ [[20 กุมภาพันธ์]] [[พ.ศ. 2505]] (ค.ศ. 1962) ในการขึ้นบินนาน 5 ชั่วโมงกับ [[ยานเมอร์คิวรี 6|''ยานเฟรนด์ชิป 7'']]
บรรทัด 53:
[[ไฟล์:Skylab_labeled.jpg‎|right|175px|thumb|สถานีอวกาศสกายแลป]]
 
สกายแลปเป็นสถานีอวกาศแห่งแรกของสหรัฐอเมริกา สถานีนี้มีน้ำหนักกว่า 75 ตัน โคจรรอบโลกเริ่มตั้งแต่ป[[พ.ศ. 2516]] ([[ค.ศ. 1973]]) ถึง [[พ.ศ. 2522]] ([[ค.ศ. 1979]]) สามารถรองรับคนได้ 3 คนต่อภารกิจ สกายแลปเป็นสถานีต้นแบบในการเรียนรู้การใช้ชีวิตใน[[อวกาศ]] และใช้ในการทดลองทางวิทยาศาสตร์บ้าง เดิมทีสกายแลปวางแผนจะใช้ในการเทียบท่าของ[[กระสวยอวกาศ]]ด้วย แต่สกายแลปได้ถูกปลดประจำการก่อนถึงการปล่อยกระสวยอวกาศลำแรก และถูกชั้นบรรยากาศโลกเผาไหม้ทำลายใน [[พ.ศ. 2522]] ([[ค.ศ. 1979]]) หลังจากปล่อยให้ตกลงใน[[มหาสมุทรอินเดีย]]ทางตะวันตกของ[[ออสเตรเลีย]]
 
=== อะพอลโล-โซยุส ===
โครงการทดสอบอะพอลโล-โซยุส ([[Apollo-Soyuz Test Project]]:[[Apollo-Soyuz Test Project|ASTP]]) เป็นการร่วมมือกันระหว่างสหัฐอเมริกาและโครงการอวกาศของโซเวียตในการนำยานอะพอลโลและยานโซยุสมาพบกันใน[[อวกาศ]] (เชื่อมยานกัน) ใน [[พ.ศ. 2518]] ([[ค.ศ. 1975]])
 
=== ยุคกระสวยอวกาศ ===
[[ไฟล์:Columbia.sts-1.01.jpg|right|175px|thumb|กระสวยอวกศโคลัมเบีย ก่อนปล่อยเที่ยวบินแรก]]
 
[[กระสวยอวกาศ]]เป็นโครงการที่นาซาหันมาให้ความสนใจมาตลอดตั้งแต่ช่วงปี 2513 (1970) และ 2523 (1980) กระสวยอวกาศลำแรกที่ปล่อยใช้งานสู่อวกาศคือ[[กระสวยอวกาศโคลัมเบีย]] ในวันที่ [[12 เมษายน]] [[พ.ศ. 2524]] ([[ค.ศ. 1981]])
 
สำหรับนาซาแล้ว กระสวยอวกาศไม่ได้ดีไปหมดทุกอย่าง ยิ่งช่วงเริ่มต้นโครงการมันมีความสิ้นเปลืองมาก และใน [[พ.ศ. 2529]] ([[ค.ศ. 1986]]) กับเหตุการณ์อุบัติเหตุของ[[กระสวยอวกาศชาเลนเจอร์]]เป็นหนึ่งในเรื่องที่ร้ายแรงที่สุดสำหรับการเดินทางสู่อวกาศ
 
== ดูเพิ่ม ==
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/นาซา"