ผลต่างระหว่างรุ่นของ "องค์การเภสัชกรรม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Kkaann (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 113:
ภายหลังการดำเนินงานของโรงงานเภสัชกรรมกว่า 20 ปี โรงงานเภสัชกรรมประสบภาวะขาดทุนในปี พ.ศ. 2503 ต่อเนื่องถึงปี พ.ศ. 2504 [[พระบำราศนราดูร|ฯพณฯ พระบำราศนราดูร]] รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และประธานกรรมการอำนวยการโรงงานเภสัชกรรมในขณะนั้น จึงแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงกิจการด้านการบริหารและวิชาการของโรงงานเภสัชกรรม และคณะกรรมการอำนวยการโรงงานเภสัชกรรมได้แต่งตั้ง นายแพทย์จิตต์ เหมะจุฑา เป็นผู้อำนวยการโรงงานเภสัชกรรม ส่งผลให้กิจการโรงงานเภสัชกรรมดีขึ้นตามลำดับ
 
เนื่องจากการทำงานของโรงงานเภสัชกรรมและกองโอสถศาลามีความซ้ำซ้อนกัน คณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงกิจการด้านบริหารและวิชาการของโรงงานเภสัชกรรมจึงสรุปข้อพิจารณาว่าควรรวมงานของทั้งสององค์กรเข้าด้วยกัน คณะกรรมการอำนวยการโรงงานเภสัชกรรม และกระทรวงสาธารณสุขได้เห็นชอบที่จะรวมโรงงานเภสัชกรรมกับกองโอสถศาลาให้เป็นกิจการเดียวกัน และมีคำสั่งจากคณะรัฐมนตรีให้รวมกิจการตั้งแต่วันที่ [[1 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2506]] เป็นต้นไป และ[[สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี]] ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในพระปรมาภิไธย พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ลงพระนามาภิไธย ตรา พระราชบัญญัติองค์การเภสัชกรรม พุทธศักราช 2509 ให้ไว้ ณ วันที่ [[5 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2509]] และเริ่มดำเนินงานในฐานะองค์การเภสัชกรรมตั้งแต่วันที่ [[1 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2509]] เป็นต้นมา
 
== อ้างอิง ==