ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ไททัน (ดาวบริวาร)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Burst (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Burst (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
ไททัน ( [[Titan]] )
คือ ดวงจันทร์บริวารที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของดาวเสาร์ มีระยะห่างจากดาวเสาร์เป็นลำดับที่ 20 เป็นดวงจันทร์ดวงเดียวที่เป็นที่ทราบกันว่ามีชั้นบรรยากาศที่หนาแน่น และเป็นวัตถุเพียงชนิดเดียวนอกจากโลกที่มีการค้นพบว่ามีร่องรอยของน้ำอยู่บนดาว ไททันมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่กว่า[[ดวงจันทร์]]ของโลกประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ และมีมวลมากกว่าประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ เป็นดวงจันทร์ที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ใน[[ระบบสุริยะ]] รองจากดวงจันทร์[[แกนีมีด]]ของ[[ดาวพฤหัสบดี]] และมีขนาดใหญ่กว่าดาวเคราะห์ที่เล็กที่สุดซึ่งคือ [[ดาวพุธ]] (ถึงแม้ว่าจะมีมวลน้อยกว่าเพียงครึ่งเดียวก็ตาม)
ไททันถูกรู้จักว่าเป็นดวงจันทร์ดวงแรกของดาวเสาร์ โดยถูกค้นพบเมื่อปี พ.ศ.2198 (ค.ศ.1655) โดยนักดาราศาสตร์ชาวเนเธอร์แลนด์ "[[คริสเตียน ออยเกนส์]] ([[Christiaan Huygens]])"
ไททันประกอบด้วยน้ำ น้ำแข็ง และหิน เป็นหลัก ด้วยความหนาแน่นของชั้นบรรยากาศของไททันทำให้เราไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับพื้นผิลของมันมากนักจนกระทั่งการมาถึงของยานอวกาศ "แคสสินี-ออยเกนส์ ([[Cassini–Huygens]])" ในปี พ.ศ.2547(ค.ศ.2004) รวมถึงการต้นพบทะเลสาบไฮโดรคาร์บอนเหลวบริเวณขั้วของดาวโดยดาวเทียม ลักษณะของพื้นผิวนั้นทางธรณีวิทยาถือว่ายังค่อนข้างใหม่ ถึงแม้ว่าจะประกอบด้วยภูเขาและภูเขาไฟน้ำแข็ง([[cryovolcano]])ก็ตาม
ชั้นบรรยากาศของไททันประกอบด้วยไนโตรเจนเป็นส่วนใหญ่ สภาพอากาศจะมีเมฆ[[มีเทน]]และ[[อีเทน]] ลมและฝน ซึ่งทำให้เกิดสภาพพื้นผิวที่มีลักษณะคล้ายกับโลกของเรา เช่น ทะเลทราย และแนวชายฝั่ง