ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ขุนช้างขุนแผน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
อัตตะสันติ (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
อัตตะสันติ (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 113:
 
ในปี พ.ศ.2507 มีการเล่าเรื่องซ้ำอย่างน้อยเจ็ดเรื่องในสำนวนร้อยแก้วแบบสมัยใหม่ ครั้งแรกและสมบูรณ์ที่สุดคือเขียนโดย [[เปรมเสรี]]
 
== ในวัฒนธรรมร่วมสมัย ==
 
อนึ่ง เรื่องขุนช้างขุนแผน ยังเป็นที่มาของคำพูดแบบสมัยใหม่ เช่นชื่อ ขุนแผน ที่มีความหมายแบบแสลงว่า "คาสโนว่า"
นอกจากนี้ยังเป็นชื่อของเครื่องรางที่มีชื่อเสียงซึ่งขึ้นชื่อเรื่องความสำเร็จในความรัก และเป็นคำแสลงสำหรับนักซิ่งมอเตอร์ไซค์อย่างคำว่า "ชอปเปอร์" เป็นต้น
 
ใน[[จังหวัดสุพรรณบุรี]]และ[[พิจิตร]]เมืองที่มีความโดดเด่นในเนื่อเรื่อง ยังมีชื่อถนนสายหลักที่ได้รับการตั้งชื่อตามตัวละครในเรื่องด้วย
 
ในสถานที่ต่างๆ ที่ปรากฏในเรื่อง ปัจจุบันนี้ยังมีศาลเจ้าที่มีภาพของตัวละครปรากฎอยู่ สถานที่ดังกล่าว ได้แก่ เนินเขาชนไก่ในจังหวัดกาญจนบุรีเก่า มีภาพขุนแผนและขุนไกรผู้เป็นบิดา
เมืองพิจิตรเก่าของนางศรีมาลาและบ้านถ้ำในจังหวัดกาญจนบุรีของนางบัวคลี เป็นต้น
 
ในพระนครศรีอยุธยา ปัจจุบันมีการสร้างบ้านทรงไทยแบบเก่าแล้วตั้งอยู่ในบริเวณคุกที่เชื่อกันว่าขุนแผนถูกจองจำ บ้านหลังนี้ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "คุ้มขุนแผน" และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญในจังหวัด บ้านที่คล้ายกันนี้ก็เพิ่งสร้างขึ้นที่วัดแคในจังหวัดสุพรรณบุรีเช่นกัน วัดนี้ยังมีต้นมะขามเก่าแก่ที่มีตำนานเล่าขานกันว่าเป็นที่เณรแก้วลองวิชาเสกใบมะขามให้เป็นตัวต่อได้
 
ที่[[วัดป่าเลไลยก์]]จังหวัดสุพรรณบุรีก็ได้สร้างแบบจำลองเรือนของขุนช้างขึ้น ให้ตรงกับที่พรรณาในเสภาให้มากที่สุด และได้เริ่มงานการเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องขุนช้างขุนแผนรอบๆวิหารของหลวงพ่อโต โดย อาจารย์[[เมืองสิงห์ จันทร์ฉาย]]
 
==ตัวละคร==