ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สถาปัตยกรรมบารอก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Mda (คุย | ส่วนร่วม)
Mda (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 38:
สถาปัตยกรรมบาโรกเริ่มมาจากสถาปัตยกรรมในอิตาลีเช่นบาซิลิกา สิ่งก่อสร้างชิ้นแรกที่แยกตัวมาจากลักษณะ[[แมนเนอริสม์]] คือวัดซานตาซูซานนาซึ่งออกแบบโดย คาร์โล มาเดอร์โน จังหวะการวางโครงสร้างของเสา โถงกลาง และ การตกแต่งภายในทำให้สิ่งก่อสร้างเพิ่มความซับซ้อนขึ้น และการริเริ่มความมีลูกเล่นภายในกฏของโครงสร้างแบบคลาสสิค
 
สถาปัตยกรรมบาโรกจะเน้นความยืดหยุ่น ความต่อเนื่อง และ ความเป็นนาฏกรรมของสิ่งก่อสร้างซึ่งจะเห็นได้จากผลงานวัดซานลูคาและซานตามาร์ทินามาร์ตินา (San Luca e Santa Martina) และวัดซานตามาเรียเดลลาพาเซ[http://commons.wikimedia.org/wiki/image:Santa_Maria_della_Pace_00091.JPG] (Santa Maria della Pace) โดย [[เปียโตร ดา คอร์โตนา]] (Pietro da Cortona) ที่สร้างเมื่อ ปี ค.ศ. 1656 โดยเฉพาะด้านหน้าวัดซานตามาเรียเดลลาพาปาเซซึ่งเป็นโค้งยื่นออกไปสู่จัตุรัสแคบๆหน้าวัด ทำให้เหมือนฉากโรงละคร การผสมผสานลักษณะศิลปะโรมันเข้าไปในสมัยนี้ทำให้มีสิ่งก่อสร้างมีลักษณะสง่าเป็นที่เห็นได้ชัดจาก[[ภูมิทัศน์เมือง]]รอบสิ่งก่อสร้าง
 
ตัวอย่างของสิ่งก่อสร้างตามลักษณะนี้คือลาน/จัตุรัสหน้า[[มหาวิหารเซนต์ปีเตอร์]]ที่กรุงโรม ออกแบบโดย [[จานลอเรนโซ เบร์นินี]] ระหว่างปี ค.ศ. 1656 ถึงปี ค.ศ. 1667 ซึ่งถือกันว่าเป็นงานชิ้นเอกของสถาปัตยกรรมบาโรกที่เพิ่มความเด่นชัดของภูมิทัศน์เมืองโรม ตัวจัตุรัสเป็นซุ้มโค้งสองด้าน (colonnades) รอบลานกลางทรง trapezoidal เพราะความใหญ่โตและรูปทรงของจัตุรัสที่ดึงเข้าไปสู่ด้านหน้ามหาวิหาร ทำให้ผู้ที่เดินเข้ามาในจัตุรัสมีความรู้สึกเกรงขามหรือทึ่ง ผังที่เบร์นินีเองชอบคือวัดรูปไข่ซานอันเดรียอาลควินาลเล (Sant'Andrea al Quirinale) ที่ออกแบบเมื่อปี ค.ศ. 1658 ซึ่งมีแท่นบูชาตระหง่านและโดมสูงเป็นตัวอย่างที่แสดงหัวใจของสถาปัตยกรรมแบบบาโรกได้อย่างกระทัดรัด ตัวอย่างของสถาปัตยกรรมแบบบาโรกสำหรับที่อยู่อาศัยของเบร์นินีก็ได้แก่วังบาร์เบรินี (Palazzo Barberini) ออกแบบเมื่อปี ค.ศ. 1629 และวังชิจิ (Palazzo Chigi-Odescalchi) ออกแบบเมื่อปี ค.ศ. 1664
 
คู่แข่งคนสำคัญของเบร์นินีที่โรมคือ [[ฟรานเซสโก บอโรมินิ]] ซึ่งงานของเขาจะแยกแนวไปจากการจัดองค์ประกอบตามสถาปัตยกรรมแบบแผนโบราณและสถาปัตยกรรมฟื้นฟูศิลปวิทยาเป็นอย่างมาก สถาปัตยกรรมของบอโรมินิจะหนักไปทางนาฏกรรมมากกว่าแบบแผนเดิมซึ่งในภายหลังถือว่าเป็นการปฏิวัติทางสถาปัตยกรรมหลังจากที่ถูกโจมตีในคริสต์ศตวรรษที่ 16 บอโรมินินิยมใช้การจัดรูปแบบจากรูปทรงเรขาคณิตต่างๆ อย่างซับซ้อน ช่องว่างภายในของจะขยายออกหรือหดตัวตามที่บอโรมินิจะจัดซึ่งมาเชื่อมต่อกับลักษณะการออกแบบระยะต่อมาโดย[[ไมเคิล แอนมิเกลันเจโล]] ผลงานชิ้นสำคัญที่สุดของบอโรมินิคือวัดซานคาร์โลอัลเลอควอโตรฟอนทาเน (San Carlo alle Quattro Fontane) ซึ่งจะเห็นได้จากผังที่เป็นรูปไข่และการเล่นโค้งเว้าโค้งนูน ผลงานระยะต่อมาที่วัดซานอิโวอัลลาซาพิเอ็นซา[http://en.wikipedia.org/wiki/image:G_r_186.jpg] (Sant'Ivo alla Sapienza) บอโรมินิหลีกเลี่ยงการใช้ผืนผิวเรียบที่ไม่มีการตกแต่งโดยการเติมสิ่งต่างจะเห็นได้จากโดมจุกคอร์กทรงตะเกียงบนหลังคาวัด
 
หลังจากบอโรมินิเสียชีวิตเมื่อปี ค.ศ. 1640 [[คาร์โล ฟอนทาตานา]] (Carlo Fontana) ก็กลายมาเป็นสถาปนิกที่มีอิทธิพลมากที่สุดในกรุงโรม ลักษณะผลงานระยะแรกจะเห็นได้จากฟาซาด (Façade) ที่โค้งเว้าเล็กน้อยด้านหน้าวัดซานมาร์เชลโลอาลคอร์โซ[http://commons.wikimedia.org/wiki/image:San_Marcello_al_Corso.jpg] (San Marcello al Corso) ลักษณะงานของฟอนทานา -- ถึงแม้ว่าจะขาดความแปลกใหม่เหมือนสถาปนิกรุ่นเดียวกัน -- แต่ก็มีอิทธิพลต่อสถาปัตยกรรมแบบบาโรกมากจากงานมากมายที่เขาเขียนและสถาปนิกที่ฟอนทานาฝึก ซึ่งเป็นกลุ่มที่เผยแพร่ลักษณะบาโรกไปทั่วยุโรปตลอดคริสต์ศตวรรษที่ 18
 
คริสต์ศตวรรษที่ 18 เป็นศตวรรษที่เมืองหลวงของสถาปัตยกรรมแบบบาโรกย้ายจากโรมไป[[ปารีส]] สถาปัตยกรรมแบบ[[ศิลปะโรโคโค|โรโคโค]]ที่รุ่งเรืองที่โรมราวปี ค.ศ. 1720 เป็นต้นมาเป็นสถาปัตยกรรมที่มีอิทธิพลอย่างมากมาจากความคิดของบอโรมินิ สถาปนิกที่มีชื่อที่สุดในกรุงโรมสมัยนั้นก็มีฟรานเชสโก เดอ ซองตีส์ (Francesco de Sanctis) ผู้สร้าง[[บันไดสเปน (Spanish Steps)]] เมื่อปี ค.ศ. 1723 และ ฟิลิปโป รากุซซินิ (Filippo Raguzzini) ผู้สร้างจัตุรัสเซ็นต์อิกนาซิโอ เมื่อ ค.ศ. 1727) สถาปนิกสองคนนี้มีอิทธิพลเฉพาะในอิตาลี ไม่เช่นสถาปนิกบาโรกซิซิลีรวมทั้งจิโอวานนี บัททิสตา วัคคารินิ (Giovanni Battista Vaccarini) อันเดรีย พาลมา (Andrea Palma) และจุยเซ็พพี เวนาซิโอ มาร์วูเกลีย (Giuseppe Venanzio Marvuglia) ที่มีอิทธิพลนอกเหนือจากอิตาลี
, อันเดรีย พาลมา (Andrea Palma) และจุยเซ็พพี เวนาซิโอ มาร์วูเกลีย (Giuseppe Venanzio Marvuglia) ที่มีอิทธิพลนอกเหนือจากอิตาลี
 
สถาปัตยกรรมบาโรกช่วงหลังในอิตาลีจะเห็นได้จากวังคาเซอร์ตา[http://commons.wikimedia.org/wiki/image:Caserta-reggia-15-4-05_112-ritoc.JPG] (Caserta Palace) โดยลุยจิ แวนวิเทลลิ (Luigi Vanvitelli) ซึ่งว่ากันว่าเป็นสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปในคริสต์ศตวรรษที่ 18 เป็นลักษณะที่มีอิทธิพลจากสถาปัตยกรรมบาโรกของฝรั่งเศสและสเปน ตัวอาคารวางเข้ากันกับสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ ลักษณะของสิ่งก่อสร้างของแวนวิเทลลิที่[[เนเปิลส์]]และคาเซอร์ตาเป็นแบบที่ค่อนข้างเรียบแต่ก็รักษาความสวยงามไว้ซึ่งเป็นลักษณะที่เอื้อต่อการวิวัฒนาการไปเป็น[[สถาปัตยกรรมฟื้นฟูคลาสสิค]]ในสมัยต่อมา
เส้น 53 ⟶ 52:
=== ประเทศอิตาลี - ภาคเหนือ ===
[[ภาพ:Museo_del_Risorgimento_italiano.JPG|thumb|250px||ด้านหน้าวังคาริยาโน โดย ฟรานเซสโก บอโรมินิ]]
ทางภาคเหนือของอิตาลีเจ้านาย[[ราชวงศ์ซาวอย]]ทรงนิยมสถาปัตยกรรมบาโรกจึงจ้าง [[กัวริโน กัวรินี]], [[ฟิลิปโป จูวาร์รา]] (Filippo Juvarra) และ [[เบอร์นาร์โด วิทโทเน]] (Bernardo Vittone) ในการสร้างสิ่งก่อสร้างที่แสดงถึงอำนาจทางการเมืองที่ราชวงศ์นี้เพิ่งได้รับมา
 
กัวรินีเดิมเป็นพระใช้ความชำนาญทางสถาปัตยกรรมกอธิคเดิมเป็นพื้นฐานในการสร้างสิ่งก่อสร้างที่รูปทรงไม่สมมาตร โดยการใช้เสารูปใข่หรือการทำ[[ด้านตกแต่ง]] (Façade)<!-- Façade ไม่จำเป็นต้องเป็นด้านหน้าของตัวอาคาร -->ที่ผิดแปลกไปจากจากที่เคยทำกันมา โดยสร้างลักษณะที่เรียกกันว่า “architectura obliqua” ซึ่งนำมาจากลักษณะของ[[ฟรานเซสโก บอโรมินิ]]ทั้งรูปทรงและโครงสร้าง วังคาริยาโน (Palazzo Carignano) ที่กัวรินีสร้างเมือปี ค.ศ. 1679 ถือว่าเป็นสิ่งก่อสร้างที่หรูหราที่สุดในการก่อสร้างอาคารที่อยู่อาศัยในคริสต์ศตวรรษที่ 17
 
ลักษณะสิ่งก่อสร้างของฟิลิปโป จูวาร์ราจะดูเบาเหมือนลอยได้ซึ่งเป็นลักษณะที่พบใน[[ศิลปะแบบโรโคโค]] งานออกแบบชิ้นที่สำคัญที่สุดเป็นงานที่ทำให้กับวิคทอร์ อามาเดอุสที่ 2 แห่งซาร์ดิเนีย ทัศน์ศิลป์ของบาซิลิกาซุเพอร์กาที่จูวาร์ราสร้างเมื่อปี ค.ศ. 1717 มีอิทธิพลมาจากตึกเด่นๆ และเนินเขาบริเวณตูริน ตัวบาซิลิกาเองตั้งเด่นอยู่บนเขาเหนือตัวเมืองซึ่งเป็นลักษณะที่มีอิทธิพลต่อการสร้างบ้านพักล่าสัตวฺ์ สำหรับวังสตูปินยิ (Palazzina di Stupinigi) เมื่อปี ค.ศ. 1729 งานของจูวาร์รามีอิทธิพลนอกเหนือไปจากบริเวณ[[ตูริน]] ซึ่งจะเห็นได้จากงานสุดท้ายที่ทำคือพระราชวังลากรานฮา[http://commons.wikimedia.org/wiki/image:La_Granja_Palacio.jpg] (La Granja) ที่[[มาดริด]] [[ประเทศสเปน]] สำหรับพระเจ้าฟิลลิปที่ 5 แห่งสเปน และพระราชวังอรานฮูซ[http://commons.wikimedia.org/wiki/image:Aranjuez_PalacioReal_cadena.jpg] (Palacio Real de Aranjuez)
แต่ผู้ที่ได้รับอิทธิพลจากกัวรินี และจูวาร์รามากที่สุดเห็นจะเป็นเบอร์นาร์โด วิทโทเน สถาปนิกชาว[[พีดมอนท์]]ผู้สร้างวัดแบบโรโคโคไว้มาก ผังจะเป็นสี่กลีบและใช้รายละเอียดมากในการตกแต่ง แบบของวิทโทเนจะซับซ้อนเป็น[[เพดานโค้ง]]ซ้อนกันหลายชั้น โครงสร้างซ้อนโครงสร้าง และโดมซ้อนโดม
เส้น 68 ⟶ 67:
ศูนย์กลางของ[[สถาปัตยกรรมบาโรก]]สำหรับที่อยู่อาศัยก็เห็นจะต้องเป็น[[ประเทศฝรั่งเศส]] การออกแบบวังมักเป็นผังแบบสามปีกรูปเกือกม้าที่เริ่มทำกันมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 แต่สิ่งก่อสร้างที่มีอิทธิพลต่อสถาปัตยกรรมบาโรกที่แท้จริงคือ วังลักเซมเบิร์กซึ่งออกแบบโดย [[ซาโลมอน เดอ โบร]] (Salomon de Brosse) ที่เป็นลักษณะไปทางคลาสสิคซึ่งเป็นลักษณะบาโรกของฝรั่งเศส หลักการจัดองค์ประกอบของสิ่งก่อสร้างก็จะให้ความสำคัญกับบริเวณหลักเช่นห้องรับรอง เป็นบริเวณสำคัญที่สุด ([[:en:corps de logis|corps de logis]]) การจัดลักษณะนี้เริ่มทำกันเป็นครั้งแรกในประเทศฝรั่งเศส ขณะที่ห้องทางปีกที่ใกลออกไปจากห้องหลักจะค่อยลดความสำคัญลงไปตามลำดับ หอแบบ[[ยุคกลาง]]มาแทนที่ด้วยมุขที่ยื่นออกมาตรงกลางสิ่งก่อสร้างซึ่งอาจจะเป็นประตูมหึมาสามชั้นเป็นต้น
 
งานของเดอ โบรเป็นงานผสมระหว่างลักษณะแบบฝรั่งเศส (สูงลอย หลังคาแมนซารด์[http://commons.wikimedia.org/wiki/image:Mansard.jpg] (Mansard) และหลังคาที่ซับซ้อน) กับลักษณะแบบอิตาลีที่คล้ายกับ[[วังพิตติ]][http://commons.wikimedia.org/wiki/image:Palazzo_Pitti_Gartenfassade_Florenz.jpg]ที่[[ฟลอเรนซ์]]ทำให้กลายมาเป็นลักษณะที่เรียกว่า “ลักษณะหลุยส์ที่ 13” ผู้ที่ใช้ลักษณะนี้ได้ดีที่สุดก็เห็นจะเป็น[[ฟรองซัว มองซาร์|ฟรองซัวส์ มองซาร์]]ผู้ที่ถือกันว่าเป็นผู้นำสถาปัตยกรรมบาโรกเข้ามาในฝรั่งเศส เมื่อออกแบบวังไมซองส์ (Château de Maisons) เมื่อปี ค.ศ. 1642 มองซาร์สามารถนำทฤษฎีการก่อสร้างทั่วไปและแบบบาโรกมาปรับให้เข้ากับลักษณะกอธิคที่ยังหลงเหลือภายในการก่อสร้างแบบฝรั่งเศสได้เป็นอย่างดี
 
วังไมซองส์แสดงให้เราเห็นถึงการค่อยๆ แปลงจากสถาปัตยกรรมหลังยุคกลางของวังในคริสต์ศตวรรษที่ 16 มาเป็นลักษณะแบบคฤหาสน์ชนบทในคริสต์ศตวรรษที่ 18 โครงสร้างเป็นสัดส่วนแบบสมมาตรและใช้เสาตกแต่งทุกชั้นอย่างเป็นระเบียบ ส่วนใหญ่จะเป็นเสาอิง ด้านหน้าตกแต่งด้วย[[ชายคา]]ที่ดูราวกับว่ามีความยืดหยุ่น ทำให้สิ่งก่อสร้างทั้งหมดดูเหมือนสามมิติ แต่โครงสร้างของมองซาร์จะ “ปอก” สิ่งตกแต่งที่ “รก” ที่มักจะใช้ในสถาปัตยกรรมบาโรกแบบโรมออก
เส้น 78 ⟶ 77:
การขยายครั้งสุดท้ายของพระราชวังแวร์ซายทำโดย [[จุลส์ อาร์ดวง มองซาร์]] (Jules Hardouin-Mansart) ผู้เป็นคนสำคัญในการออกแบบ โดมเดออินแวลีด (Les Invalides) ซึ่งถือกันว่าเป็นวัดที่สำคัญที่สุดในศตวรรษนั้นของฝรั่งเศส อาร์ดวง มองซาร์ ได้รับประโยชน์จากคำสอนของฟรองซัว มองซาร์ผู้เป็นลุง ซึ่งเป็นการสร้างสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ที่ไม่เคยเห็นกันมาก่อนในประเทศทางตอนเหนือของอิตาลี และการใช้โดมครึ่งวงกลมบนโครงสร้างที่มั่นคงที่ดูแล้วมิได้แสดงสัดส่วนที่ถูกต้องตามความเป็นจริงของสิ่งก่อสร้าง จุลส์ อาร์ดวงมิได้แต่ปรับปรุงทฤษฎีของลุงเท่านั้นแต่ยังวางรากฐานการก่อสร้างแบบบาโรกลักษณะฝรั่งเศสด้วย
 
ในสมัย[[พระเจ้าหลุยส์ที่ 15 แห่งฝรั่งเศส|พระเจ้าหลุยส์ที่ 15]] ก็เริ่มปฏิกิริยาต่อลักษณะสถาปัตยกรรมแบบ[[พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส|พระเจ้าหลุยส์ที่ 14]] โดยเปลี่ยนมาเป็นรูปลักษณะที่ละเอียดอ่อนช้อยและเป็นกันเองกว่าเดิมที่เรียกกันว่า “[[ศิลปะโรโคโค]]” ผู้ริเริ่มการใช้ลักษณะนี้คือนิโคลัส พินเนอ (Nicholas Pineau) ผู้ร่วมมือกับจุลส์ อาร์ดวง มองซาร์ตกแต่งภายในวังมาร์ลี[http://en.wikipedia.org/wiki/image:Marly_1724.jpg] (Château de Marly) ศิลปินอื่นที่สร้างงานแบบโรโคโคคือปิแอร์ เลอ โพเทรอโปเตรอ (Pierre Le Pautre) และ จุสต์ โอเรย์ เมซองนิเยร์ (Juste-Aurèle Meissonier) ผู้สร้าง “genre pittoresque” ภายในวังชองทิลลีติลลี (Château de Chantilly) เมื่อปี ค.ศ. 1722 และโอเต็ลเดอซูบีส์ (Hôtel de Soubise) เมื่อปี ค.ศ. 1732 ซึ่งการตกแต่งที่ใช้เครื่องตกแต่งและลวดอย่างมากมายและหรูหราจนเกินเลยไป ซึ่งทำให้ลดความสำคัญทางโครงร่างของสถาปัตยกรรมการแบ่งส่วนภายในลงไปมาก
 
===มอลตา===
[[ภาพ:Valetta1589-cleaned.jpg|thumb|250px|right|ผังเมืองหลวง[[วัลเลตตา]] มอลตา]]
[[ภาพ:800px-Koninlijk Paleis DSCN2407.jpg|thumb|250px|ตึกเทศบาลเมืองอัมสเตอร์ดัม โดยเจคอป แวน แค็มเพ็น ค.ศ. 1646]]
[[ผังเมือง]]วาลเลททาซึ่งเป็นเมืองหลวงของ [[ประเทศมอลตา]]วางเมื่อปี ค.ศ. 1566 เพื่อเป็นเมืองรับศึกของ “[[Knights of Malta]]” เดิมคือ “[[Knights of Rhodes]]” ผู้มายึดเกาะมอลตาหลังจากถูกขับจาก[[โรดส์]]โดยกองทัพทหาร[[อิสลาม]] ตัวเมืองออกแบบโดยฟรานเชสโก ลาพาปาเรลลี (Francesco Laparelli) เป็น[[ผังเมือง]]แบบตารางและใช้เวลาสร้างราวร้อยปี อันเป็นตัวอย่างที่แสดงให้เราเห็นถึงการวางผังเมืองแบบบาโรก หอมหึมาที่เมื่อสร้างเป็นหอที่ทันสมัยที่สุดก็ยังอยู่อย่างครบถ้วน เพราะความสมบูรณ์แบบทางสถาปัตยกรรมที่หาดูได้ยากเมืองวาลเลททาจึงได้รับเลือกโดยองค์การ[[ยูเนสโก]]ให้ขึ้นทะเบียนเป็น[[มรดกโลก]]เมื่อปี ค.ศ. 1980
 
=== เนเธอร์แลนด์ ===
ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 สถาปัตยกรรมแบบบาโรกเกือบไม่มีอิทธิพลใน[[ประเทศเนเธอร์แลนด์]] สถาปัตยกรรมของสาธารณะรัฐทางตอนเหนือของยุโรปเป็นสถาปัตยกรรมที่สร้างขึ้นเพื่อแสดงคุณค่าของประชาธิปไตยของประชาชนมิใช่เพื่อเป็นการแสดงอำนาจของเจ้าของผู้สร้าง สถาปัตยกรรมก็จะสร้างเลียนแบบ[[สถาปัตยกรรมคลาสสิค]] ซึ่งคล้ายกับการวิวัฒนาการในอังกฤษสถาปัตยกรรมแบบพาเลเดียนของเนเธอร์แลนด์จะดูทะมึนและรัดตัว สถาปนิกที่สำคัญสองคน เจคอป แวน แค็มเพ็น (Jacob van Campen) และ เปียร์เตอร์ โพสต์ (Pieter Post) ใช้การผสมผสานของเสาใหญ่, หน้าจั่วแหลม, การตกแต่ง[[หน้าบัน]], และยอดแหลมในสิ่งก่อสร้าง ซึ่งเป็นลักษณะที่มีลักษณะแบบเดียวกับของ[[คริสโตเฟอร์ เร็น]]สถาปนิกอังกฤษ
 
งานที่ใหญ่ๆ ในสมัยนั้นก็ได้แก่ตึกเทศบาลเมืองอัมสเตอร์ดัม ออกแบบเมื่อ ค.ศ. 1646 โดยแค็มเพ็นและ มาสตริชท์ (Maastricht) สร้างเมื่อค.ศ. 1658 วังต่างๆ ของราชวงศ์ออเร็นจ์ (House of Orange) จะละม้ายคฤหาสน์ของผู้มีอันจะกินมากกว่าจะเป็นวัง เช่นวัง Huis ten Bosch และ Mauritshuis เป็นทรงบล็อกสมดุลประกอบด้วยหน้าต่างใหญ่, ไม่มีการตกแต่งหรูหราแบบบาโรก ความขึงขังแบบเรขาคณิตนี้ก็ใช้ที่วังฤดูร้อน Het Loo
 
รัฐเนเธอร์แลนด์เป็นรัฐหนึ่งที่มีอำนาจมากในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ในยุโรปฉะนั้นอิทธิพลทางสถาปัตยกรรมของเนเธอร์แลนด์จึงมีความสำคัญต่อยุโรปตอนเหนือ สถาปนิกจากเนเธอร์แลนด์ถูกจ้างให้สร้างโครงการใหญ่ๆ ทางตอนเหนือของประเทศเยอรมนี, [[สแกนดิเนเวีย]], และ[[ประเทศรัสเซีย]]โดยใช้ลักษณะการก่อสร้างบาโรกแบบเนเธอร์แลนด์ นอกจากนั้นสถาปัตยกรรมอาณานิคมของเนเธอร์แลนด์ก็ยังไปรุ่งเรืองที่ลุ่มแม่น้ำฮัดสันใน[[สหรัฐอเมริกา]] สังเกตได้จากบ้านอิฐแดงหน้าจั่วแหลมซึ่งยังคงพบเห็นได้ที่ Willemstad ที่ Netherlands Antilles
 
=== ประเทศเบลเยียม ===
เส้น 118 ⟶ 117:
เทสซิน ผู้พ่อเกิดที่ประเทศเยอรมนีเป็นผู้สร้างลักษณะสถาปัตยกรรมแบบที่เป็นเอกลักษณ์ของสวีเดนซึ่งผสมระหว่างสถาปัตยกรรมฝรั่งเศสร่วมสมัยและลักษณะบอลติกยุคกลาง การออกแบบวังโดรทนิงโฮล์ม (Drottningholm Palace) เป็นการใช้ลักษณะฝรั่งเศสและอิตาลีแต่ในขณะเดียวกันก็ยังมีลักษณะของสแกนดิเนเวียเช่นหลังคาเป็นแบบ “hipped roof”
 
เทสซิน ผู้ลูกรักษาลักษณะเดียวกับพ่อ ที่จะทำด้านหน้าสิ่งก่อสร้างที่ค่อนข้างเรียบ การออกแบบวังสตอกโฮล์มเป็นอิทธิพลโดยตรงของผัง[[พิพิธภัณฑ์ลูฟร์]]ของ[[จานลอเรนโซ เบร์นินี]]ที่มิได้สร้างตามแผนของเบร์นินี ซึ่งทำให้นึกภาพวังสตอกโฮล์มตั้งอยู่อย่างเหมาะสมที่[[เนเปิลส์]], [[เวียนนา]] หรือเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กได้ไม่ยาก อีกตัวอย่างหนึ่งของเทสซิน ผู้ลูกที่เรียกกันว่าบาโรกนานาชาติซึ่งมาจากรูปแบบสิ่งก่อสร้างโรมันแต่มีส่วนผสมของลักษณะท้องถิ่นเช่นในการสร้างพระราชวังมาดริด[http://commons.wikimedia.org/wiki/image:PalacioReal1.jpg] อีกตัวอย่างหนึ่งของเทสซิน ผู้ลูกคือมหาวิหารคาลมาร์ (Kalmar cathedral) ซึ่งเป็นแบบบาโรกอิตาลีสมัยต้นรัดรอบด้วยเสาอิงไอโอนิค
 
บาโรกสวีเดนมีอิทธิพลจนมาถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 จนเมื่อสถาปัตยกรรมแบบเดนมาร์กและรัสเซียเข้ามามิอิทธิพลแทนที่ งานชิ้นที่เห็นได้ชัดคืองานของนิโคไล เอทเวด (Nicolai Eigtved) เช่นบริเวณอามาเลียนบอร์ก (Amalienborg) กลางเมืองโคเปนเฮเกน ปราสาทประกอบด้วยอาคารสี่เหลี่ยมสี่หลังสำหรับผู้ปกครองที่มีอำนาจสี่กลุ่มใน[[ประเทศเดนมาร์ก]] จัดรอบจัตุรัสแปดเหลี่ยม ด้านหน้าตกแต่งแบบเรียบแต่ภายในเป็นแบบโรโคโคที่ดีที่สุดของทวีปยุโรปตอนเหนือ