ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เอชทีทีพี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 10:
 
บรรทัดคำสั่งที่มีเพียงเส้นทางไดเรกทอรี (ไม่มีชื่อแฟ้ม) ก็เป็นที่ยอมรับโดยเครื่องแม่ข่าย เพื่อรักษาความเข้ากันได้กับโปรแกรมตัวแทนรุ่นเก่าก่อนที่จะมีข้อกำหนดของ HTTP/1.0 ใน RFC 1945 <ref name="apacheweek_com-http11">{{cite web|title=Apache Week. HTTP/1.1|url=http://www.apacheweek.com/features/http11}} 090502 apacheweek.com</ref> ส่วน HTTP/1.1 ได้กำหนดไว้ใน RFC 2068 <ref name="apacheweek_com-http11" />
 
== คำสั่งร้องขอ ==
[[ไฟล์:Http request telnet ubuntu.png|thumb|300px|right|ตัวอย่างข้อความร้องขอเอชทีทีพีที่สร้างใน[[เทลเน็ต]] เน้นสีส่วนหัวและส่วนเนื้อหาของทั้งข้อความร้องขอและข้อความตอบรับ]]
เอชทีทีพีได้กำหนดคำสั่งร้องขอไว้แปดคำสั่ง (หรือเรียกว่าวิธีการร้องขอ บางครั้งอาจเรียกว่าเป็น "กริยา") แสดงการกระทำที่ต้องการ เพื่อที่จะดำเนินการกับทรัพยากรที่ถูกระบุ สิ่งที่ทรัพยากรนั้นนำเสนอ ไม่ว่าเป็นข้อมูลที่มีอยู่ก่อนหรือสร้างขึ้นมาแบบพลวัตก็ตาม จะขึ้นอยู่กับการนำไปใช้ของเครื่องแม่ข่าย ซึ่งบ่อยครั้งทรัพยากรมักจะสอดคล้องกับ[[ไฟล์]] หรือผลลัพธ์ส่งออกจากโปรแกรมข้างเคียงในเครื่องแม่ข่ายนั้น เครื่องให้บริการเอชทีทีพีจะต้องสามารถใช้คำสั่ง GET และ HEAD ได้เป็นอย่างน้อย <ref>[http://tools.ietf.org/html/rfc2616#section-5.1.1 HTTP 1.1 Section 5.1.1]</ref>
 
;HEAD
:ร้องขอการตอบรับจากทรัพยากรที่ระบุ คล้ายกับ GET แต่จะไม่มีส่วนเนื้อหาที่ร้องขอกลับมา คำสั่งนี้ใช้ประโยชน์ในการตรวจสอบข้อมูลส่วนหัวของการตอบรับ โดยไม่จำเป็นต้องส่งเนื้อหาเต็มมาทั้งหมด
;GET
:ร้องขอการนำเสนอจากทรัพยากรที่ระบุ คำสั่งนี้ไม่ควรใช้กับการดำเนินการที่อาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่นการจัดการใน[[เว็บแอปพลิเคชัน]] เหตุผลหนึ่งคือคำสั่ง GET มักจะถูกใช้อย่างไม่มีกฎเกณฑ์โดย[[อินเทอร์เน็ตบอต]]และ[[เว็บครอว์เลอร์]] ซึ่งไม่ควรพิจารณาให้การร้องขอของบอตและครอว์เลอร์ส่งผลกระทบต่อทรัพยากรในเว็บ (ดูเพิ่มที่หัวข้อ [[#คำสั่งที่ปลอดภัย|คำสั่งที่ปลอดภัย]])
;POST
:ส่งข้อมูลไปยังทรัพยากรที่ระบุเพื่อให้นำไปประมวลผล โดยเฉพาะข้อมูลที่ส่งมาจาก[[ฟอร์มเอชทีเอ็มแอล]] ข้อมูลที่ส่งจะถูกบรรจุอยู่ในเนื้อหาของการร้องขอด้วย สิ่งนี้อาจทำให้เกิดการสร้างทรัพยากรใหม่ หรือการปรับปรุงทรัพยากรที่มีอยู่ หรือทั้งสองกรณี
;PUT
:อัปโหลดการนำเสนอของทรัพยากรที่ระบุ
;DELETE
:ลบทรัพยากรที่ระบุ
;TRACE
:ส่งข้อมูลร้องขอกลับมา เครื่องลูกข่ายจะเห็นว่ามีข้อมูลอะไรบ้างที่สื่อกลางเพิ่มหรือเปลี่ยนแปลงข้อความร้องขอก่อนไปถึงทรัพยากรปลายทาง
;OPTIONS
:คืนค่าเป็นรายชื่อคำสั่งเอชทีทีพีที่เครื่องแม่ข่ายนั้นรองรับสำหรับทรัพยากรที่ระบุ สิ่งนี้สามารถใช้ตรวจสอบฟังก์ชันการทำงานของเว็บเซิร์ฟเวอร์ได้โดยใส่ "*" แทนที่การระบุทรัพยากร
;CONNECT
:แปลงการเชื่อมต่อของการร้องขอไปเป็นทุนเนล TCP/IP แบบโปร่งใส มักใช้สำหรับแปลงการเชื่อมต่อที่เข้ารหัสแบบ [[SSL]] ให้เดินทางผ่านพร็อกซีที่ไม่มีการเข้ารหัสได้ง่ายขึ้น <ref>{{cite web|url=http://www.kb.cert.org/vuls/id/150227|accessdate=2007-05-10|date=2002-05-17|title=Vulnerability Note VU#150227: HTTP proxy default configurations allow arbitrary TCP connections|publisher=US-CERT}}</ref>
 
=== คำสั่งที่ปลอดภัย ===
คำสั่งของเอชทีทีพีบางคำสั่งมีการกำหนดว่าเป็นคำสั่งที่ปลอดภัย เช่น HEAD, GET, OPTIONS, TRACE ซึ่งหมายความว่าคำสั่งเหล่านี้มีขึ้นเพื่อการรับข้อมูลเพียงอย่างเดียวและไม่ควรเปลี่ยนสถานะของเครื่องแม่ข่าย หรืออีกนัยหนึ่งคือคำสั่งเหล่านี้ไม่ควรทำให้เกิดผลกระทบข้างเคียง เว้นแต่ผลกระทบนั้นไม่สร้างความเสียหายอาทิ [[การบันทึกไฟล์ล็อก]] [[การเก็บแคช]] การบริการ[[เว็บแบนเนอร์]] หรือการเพิ่ม[[ตัวนับผู้เข้าชม]] การร้องขอแบบ GET แบบไม่มีกฎเกณฑ์โดยอินเทอร์เน็ตบอตและเว็บครอว์เลอร์ จึงยังคงถือว่าปลอดภัยอยู่
 
ในทางตรงข้าม คำสั่ง POST, PUT, DELETE เป็นการกระทำเพื่อให้เกิดผลกระทบต่อเครื่องแม่ข่าย หรือเกิดผลกระทบภายนอกเช่นทำให้เกิดธุรกรรมทางการเงิน หรือการส่ง[[อีเมล]]เป็นต้น จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ปลอดภัย คำสั่งเช่นนี้ปกติจะไม่ถูกใช้โดยอินเทอร์เน็ตบอตและเว็บครอว์เลอร์ ซึ่งทำงานโดยไม่พิจารณาสถานะของเครื่องแม่ข่าย เพราะอาจทำให้ทรัพยากรเสียหายได้