ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จีเอ็มเอ็ม 25"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับแอนดรอยด์
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับแอนดรอยด์
บรรทัด 33:
 
'''จีเอ็มเอ็ม 25''' ({{lang-en|GMM 25}}) <ref>[http://issuu.com/ar.grammythai/docs/20150331-grammy-ar2014-th-02/67?e=5969019/13004954 รายงานผลประกอบการบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) หน้า 66 ตารางที่ 1]</ref> เป็นช่อง[[โทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัลในประเทศไทย|โทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล]]ความละเอียดมาตรฐาน บริหารงานโดย บริษัท จีเอ็มเอ็ม แชนแนล จำกัด และมีบอย - [[ถกลเกียรติ วีรวรรณ]] เป็นผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร ถือเป็นช่องโทรทัศน์รองของ[[ช่องวัน 31]] และยังเป็น 1 ใน 2 ช่องโทรทัศน์ในเครือ[[จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่]]
 
== ประวัติ ==
'''จีเอ็มเอ็ม 25''' มีเนื้อหาที่นำเสนอรายการวาไรตี้ ดนตรี กีฬา ข่าวสาร สาระบันเทิง รวมถึงรายการสำหรับเด็กและครอบครัว บริหารงานโดย ฉอด - [[สายทิพย์ มนตรีกุล ณ อยุธยา]] ซึ่งก่อนหน้าจะเริ่มออกอากาศ มีการโฆษณาด้วยชื่อ จี-ทเวนตีไฟว์ (G-25) แต่มิได้นำมาใช้จริง ต่อมาได้เปิดตัวในชื่อ '''ช่องบิ๊ก''' (BiG) เป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ร่วมกับ[[ช่องวัน]] แต่เริ่มทดลองออกอากาศตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม เวลา 11:00 น. พร้อมกับ[[อมรินทร์ทีวี]] นับเป็น 1 ใน 2 ช่องสุดท้ายที่เริ่มการออกอากาศในระบบดิจิทัล จากนั้นเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม ได้มีการเปลี่ยนชื่อครั้งแรกเป็น '''จีเอ็มเอ็ม แชนแนล''' ภายใต้อัตลักษณ์ชั่วคราว และได้มีการเปิดตัวสถานีและอัตลักษณ์อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 1 กันยายน ปีเดียวกัน ก่อนมีการปรับอัตลักษณ์อีกครั้งเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 โดยแสดงหมายเลขช่อง 25 กำกับไว้ทางขวามือ ก่อนตัดคำว่า ''แชนแนล'' เหลือเพียง '''จีเอ็มเอ็ม 25''' ในปัจจุบัน
 
===การลงนามจองซื้อหุ้นสามัญโดยกลุ่มทีซีซี===
 
เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2560 จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ได้ส่งหนังสือแจ้ง[[ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย]]ว่า [[อเดลฟอส|บริษัท อเดลฟอส จำกัด]] ในเครือบริษัท[[กลุ่มทีซีซี]] โดยปณต และฐาปน สิริวัฒนภักดี ได้ร่วมลงนามในสัญญาจองซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนในบริษัท จีเอ็มเอ็ม แชนแนล เทรดดิ้ง จำกัด ในสัดส่วน 50% ของจำนวนหุ้นทั้งหมด พร้อมทั้งปรับโครงสร้างของจีเอ็มเอ็ม แชนแนล เทรดดิ้ง ใหม่ ดังนี้<ref>{{Cite news|url=https://www.prachachat.net/finance/news-27566|title=“กลุ่มเจ้าสัวเจริญ” เตรียมทุ่ม 1 พันล. จ่อฮุบหุ้น 50% ใน “จีเอ็มเอ็ม แชนแนล เทรดดิ้ง”|publisher=[[ประชาชาติธุรกิจ]]|date=24 สิงหาคม 2560|accessdate=28 พฤศจิกายน 2563}}</ref>
 
# ขายและโอนสิทธิ์การถือหุ้นของบริษัท [[จีเอ็มเอ็มทีวี]] จำกัด จำนวน 100% ให้จีเอ็มเอ็ม แชนแนล เทรดดิ้ง
# ขายและโอนสิทธิ์การถือหุ้นของ[[จีเอ็มเอ็ม มีเดีย|บริษัท จีเอ็มเอ็ม มีเดีย จำกัด (มหาชน)]] จำนวน 99.8% ให้จีเอ็มเอ็ม แชนแนล เทรดดิ้ง ซึ่งบริษัทดังกล่าวถือหุ้น บริษัท เอ-ไทม์ มีเดีย จำกัด จำนวน 100% และ[[เอไทม์มีเดีย]] ถือหุ้นบริษัท เอ-ไทม์ ทราเวลเลอร์ จำกัด 20%
# ขายและโอนสิทธิ์การถือหุ้นของบริษัท [[เอ็กแซ็กท์]] จำกัด จำนวน 100% และ บริษัท [[ซีเนริโอ]] จำกัด จำนวน 25% จากจีเอ็มเอ็ม มีเดีย ให้จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ซึ่งซีเนริโอเป็นผู้ถือหุ้นส่วนหนึ่งของ [[เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์|บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด]] ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของ บริษัท วัน สามสิบเอ็ด จำกัด ผู้รับใบอนุญาตของ[[ช่องวัน|ช่องวัน 31]]
 
เท่ากับว่า จีเอ็มเอ็ม แชนแนล เทรดดิ้ง จะมีบริษัทลูก ดังนี้<ref>{{Cite news|url=https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/770248|title=ตระกูลสิริวัฒนภักดีเข้าถือหุ้นใน GMM Channel Trading|date=25 สิงหาคม 2560|publisher=[[กรุงเทพธุรกิจ]]|accessdate=28 พฤศจิกายน 2563}}</ref>
 
# บริษัท [[จีเอ็มเอ็ม แชนแนล]] จำกัด
# บริษัท [[จีเอ็มเอ็มทีวี]] จำกัด
# บริษัท [[จีเอ็มเอ็ม มีเดีย]] จำกัด (มหาชน)
# บริษัท [[เอ-ไทม์ มีเดีย]] จำกัด
# บริษัท [[เอ-ไทม์ ทราเวลเลอร์]] จำกัด
 
ทั้งนี้ การจองซื้อหุ้นสามัญดังกล่าว มีผลทำให้สัดส่วนการถือหุ้นของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ลดลงจากเดิม 100% ของทุนจดทะเบียน เป็น 50% ของทุนจดทะเบียน และสัญญาดังกล่าวกลุ่มทีซีซีจะยังไม่สามารถเข้ามาปรับโครงสร้างภายในจีเอ็มเอ็ม 25 ได้ภายในเวลา 5 ปี นับจากวันที่ทำสัญญา แต่ในระยะยาวกลุ่มทีซีซีต้องการเปลี่ยนฐานผู้ชมจากเดิมที่เน้นกลุ่มคนรุ่นใหม่และกลุ่มวัยรุ่น มาเป็นกลุ่มคนทั่วไปเพื่อขยายฐานผู้ชมให้กว้างขึ้นจากเดิม<ref>{{Cite web|last=|first=|date=28 สิงหาคม 2560|title=อนาคต “แกรมมี่” หลังขายหุ้นให้ “ลูกเจ้าสัว”|url=https://positioningmag.com/1137645|url-status=live|archive-url=|archive-date=|access-date=28 พฤศจิกายน 2563|website=Positioning Magazine}}</ref>
 
ปัจจุบัน จีเอ็มเอ็ม 25 ได้เสร็จสิ้นขั้นตอนการเพิ่มทุนเรียบร้อยแล้ว โดยอเลฟอสได้จัดตั้ง บริษัท สิริดำรงธรรม จำกัด และ บริษัท ภักดีวัฒนา จำกัด ขึ้นมาถือหุ้นแทน ทั้งนี้ฐาปณถือหุ้นสิริดำรงธรรมทั้งหมด และปณตถือหุ้นภักดีวัฒนาทั้งหมดเช่นกัน<ref>{{Cite web|last=|first=|date=8 ธันวาคม 2560|title=ปิดดีล 2 ทายาท สิริวัฒนภักดี ซื้อหุ้น 50% จีเอ็มเอ็ม ชาแนล (GMM25) ตั้ง 2 บริษัทใหม่ถือหุ้นแทน อเดลฟอส|url=https://positioningmag.com/1149663|url-status=live|archive-url=|archive-date=|access-date=28 พฤศจิกายน 2563|website=Positioning Magazine}}</ref>
 
อย่างไรก็ดี เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2563 ก็มีข่าวลือว่า [[ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม]] ประธาน[[จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่]] กำลังเจรจาขอซื้อหุ้นคืนทั้งหมด ภายหลังจากที่แผนการบริหารของทั้งสองกลุ่มเกิดความขัดแย้งกัน<ref>[https://www.tvdigitalwatch.com/news-gmm25-27-8-63/ ลือสะพัด แกรมมี่ขอซื้อคืนหุ้นช่อง GMM25 ทั้งหมดจากกลุ่มช้าง]</ref>
 
=== ข่าวลือเรื่องการปลดตัวฉอด ===
เมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2561 ต๊ะ - [[นารากร ติยายน]] ได้โพสต์ข้อความลงบนเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า "ได้ยินมาว่า ฟ้าผ่าที่ GMM25" และอีกสองชั่วโมงต่อมาก็ได้โพสต์ข้อความต่อเนื่องว่า "ได้ยินมาว่า ไม่ใช่แค่ GMM25 A-Time ก็โดนด้วย" จึงทำให้เกิดความสงสัยในสังคมออนไลน์ว่ามีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างผู้บริหารที่เกี่ยวข้องกับ ฉอด - สายทิพย์ มนตรีกุล ณ อยุธยา หรือไม่ เพราะปกตินักข่าวจะใช้คำว่า "ฟ้าผ่า" ก็ต่อเมื่อมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างผู้บริหารแบบฉับพลัน หรือตำแหน่งระดับสูง<ref>{{Cite news|url=https://mgronline.com/entertainment/detail/9610000029416|title=“ต๊ะ นารากร” โพสต์ปริศนา ฟ้าผ่าฝั่งอโศก ตอกย้ำข่าวช็อก ปลด “ฉอด สายทิพย์”|date=25 มีนาคม 2561|accessdate=28 พฤศจิกายน 2563|publisher=[[ผู้จัดการออนไลน์]]}}</ref> ซึ่งต่อมาฉอดได้โพสต์ข้อความอธิบายลงในอินสตราแกรมส่วนตัวว่าข่าวดังกล่าวเป็นความจริงเพียงครึ่งเดียว เพราะตัวเองไม่ได้ออกจากการเป็นบอร์ดบริหารของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่, [[จีเอ็มเอ็ม มีเดีย]] และจีเอ็มเอ็ม 25 แต่ขยับขึ้นไปดูแล จีเอ็มเอ็ม แชนแนล เทรดดิ้ง ซึ่งเป็นบริษัทที่ดูแลภาพรวมของหน่วยธุรกิจจีเอ็มเอ็ม 25 แทน<ref name=":0">{{Cite news|url=https://www.thairath.co.th/entertain/news/1239099|title=พี่ฉอด ควง เอส พูดแล้ว! ความจริงคืออะไร? เรื่องโดนปลดจาก GMM25-เอไทม์|publisher=[[ไทยรัฐ]]|date=26 มีนาคม 2561|accessdate=28 พฤศจิกายน 2563}}</ref>
 
===การปรับโครงสร้างบริษัทและกลุ่มเป้าหมาย===
เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 หลังจากที่มีข่าวลือเรื่องการปลดตัวฉอดในไม่กี่เดือนก่อนหน้า ซึ่งแท้จริงแล้วเป็นเพียงการย้ายไปควบคุมในตำแหน่งที่สูงกว่าในจีเอ็มเอ็ม แชนแนล เทรดดิ้ง ซึ่งเป็นบริษัทแม่ที่ดูแลจีเอ็มเอ็ม 25 และบริษัทอื่น ๆ ในเครือแกรมมี่ อีกทั้งฉอดยังได้ก่อตั้งบริษัทใหม่ของตนเองขึ้นคือ [[เช้นจ์ 2561]]<ref>[https://www.dailynews.co.th/entertainment/644657 'พี่ฉอด-เอส'เคลียร์ชัด! เปิดบริษัทใต้หลังคา 'แกรมมี่']</ref><ref>[https://www.thairath.co.th/content/1283719 ฟังชัดๆ!! พี่ฉอด-เอส เคลียร์! หลังถูกลือออกจากแกรมมี่]</ref> ซึ่งทั้ง 2 บริษัทมีเป้าหมายเดียวกันคือเพื่อผลิตเนื้อหาสำหรับทุกช่องทางทุกช่องทีวีดิจิทัล และเพื่อให้สามารถบริหารงานได้อย่างคล่องตัว เล็ก - [[บุษบา ดาวเรือง]] ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จึงเข้ามารักษาการผู้อำนวยการของช่องจีเอ็มเอ็ม 25 แทน<ref name=":0" />
 
ต่อมาในวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 [[บุษบา ดาวเรือง]] ก็ได้ออกมาให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับนโยบาย กลุ่มผู้ชม เป้าหมาย และประเภทของเนื้อหาของช่องในอนาคต ที่จะมีการเปลี่ยนแปลงเป็น "กลุ่ม Premium Mass" โดยหวังเจาะกลุ่มตลาดคนดูทั่วประเทศ แต่เน้นกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูง แทนที่กลุ่มวัยรุ่น-วัยทำงานที่เป็นฐานผู้ชมเดิม เนื่องจากต้องการสร้างทั้งเรตติ้งและรายได้ให้กับช่องมากขึ้น โดยเนื้อหาของจีเอ็มเอ็ม 25 ในยุคนี้ยังคงมาจากทั้งละครและรายการวาไรตี้ที่ผลิตโดยตัวช่องเอง, [[จีเอ็มเอ็มทีวี]] ที่ผลิตรายการและละครซีรีส์วัยรุ่นให้กับช่องมาโดยตลอด และบริษัทอื่น ๆ ในเครือจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ หรือพันธมิตรทางธุรกิจ<ref>[https://positioningmag.com/1171264 GMM25 ปรับทัพใหม่ เจาะกลุ่ม Premium Mass ดึง “ปุ๊ก-พันธุ์ธัมม์ ทองสังข์” ผู้กำกับมือดี เข้าคุมละครของช่อง]</ref><ref>[https://mgronline.com/entertainment/detail/9610000050874 เปิดใจ “เล็ก บุษบา” ผู้ยิ่งใหญ่ใต้ชายคาแกรมมี่ ปาด “ฉอด” คุม GMM25 มีปัญหากันมั้ย?]</ref><ref>[http://www.komchadluek.net/news/ent/327048 'เล็ก-บุษบา' รู้กุมบังเหียน'GMM25'คือความหวังคนทั้งวงการ]</ref>
 
ในวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 จีเอ็มเอ็ม 25 ได้ประกาศชื่อผู้บริหารใหม่อย่างไม่เป็นทางการใน[[รายการภาคเช้า]]ของช่องว่า ถา - [[สถาพร พานิชรักษาพงศ์]] กรรมการผู้จัดการใหญ่ของจีเอ็มเอ็มทีวี จะขึ้นมาเป็นผู้อำนวยการฝ่ายบริหารของช่องแทนเล็กที่รักษาการ และชนิดา วงศ์ธนาภักดี ผู้จัดการฝ่ายขายของจีเอ็มเอ็มทีวี ก็ขึ้นมาเป็นผู้จัดการฝ่ายขายของจีเอ็มเอ็ม 25 เช่นกัน<ref>{{Cite web|last=|first=|date=30 กรกฎาคม 2561|title=ไม่พลิกโผ!! "พี่ถา-สถาพร" ผู้บริหาร GMMTV เจ้าของซีรีส์วัยรุ่นชื่อดัง กุมบังเหียนช่อง GMM25 เต็มรูปแบบแทน "พี่ฉอด"|url=https://pantip.com/topic/37911199|url-status=live|archive-url=|archive-date=|access-date=28 พฤศจิกายน 2563|website=[[พันทิป]]}}</ref> ทั้งนี้ถายังคงดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ของจีเอ็มเอ็มทีวีตามปกติ<ref>{{Cite web|last=|first=|date=27 กันยายน 2561|title='สถาพร' ควบ 'จีเอ็มเอ็มทีวี-จีเอ็มเอ็ม25'|url=https://www.komchadluek.net/news/ent/345443|url-status=live|archive-url=|archive-date=|access-date=28 พฤศจิกายน 2563|website=[[คมชัดลึก]]}}</ref>
 
===โอนถ่ายกิจการให้[[ช่องวัน|ช่องวัน 31]]===
เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 [[ผู้จัดการออนไลน์]]เผยแพร่บทวิเคราะห์ว่า [[จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่]] มีมติด่วนให้ บอย - [[ถกลเกียรติ วีรวรรณ]] ขึ้นมาเป็นผู้อำนวยการฝ่ายบริหารของจีเอ็มเอ็ม 25 แทนถาที่ตัดสินใจกลับไปบริหาร[[จีเอ็มเอ็มทีวี]]อย่างเต็มตัว และให้ [[เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์]] มีอำนาจในการบริหารช่องร่วมกัน เพื่อเป็นการสร้างชื่อให้จีเอ็มเอ็ม 25 มีเรตติ้งกลับขึ้นมาติด 10 อันดับแรกของสถานีโทรทัศน์ระบบดิจิทัล เนื่องจาก[[จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่]] ไว้ใจที่บอยสามารถทำให้[[ช่องวัน|ช่องวัน 31]] ขึ้นมาติด 5 อันดับแรกได้ภายในระยะเวลาไม่กี่ปี<ref>[https://mgronline.com/entertainment/detail/9630000119878 จับตาละคร “ฉอด” ที่ช่อง GMM25 เมื่อ “บอย-ถกลเกียรติ” นั่งเก้าอี้บริหารควบ One 31]</ref> ถัดจากนั้นไม่กี่วัน คือวันที่ 25 พฤศจิกายน จีเอ็มเอ็ม 25 มีแถลงการณ์ภายในระบุว่า[[จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่]] ได้ปรับเปลี่ยนนโบายของ บริษัท จีเอ็มเอ็ม แชนแนล จำกัด โดยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 จีเอ็มเอ็ม แชนแนล จะเลิกกิจการถาวร เหลือสถานะเพียงถือใบอนุญาตประกอบกิจการทีวีดิจิทัลช่อง 25 จนกว่าใบอนุญาตหมดอายุ และให้บริษัทในเครือเช่าเวลาของสถานีเพื่อผลิตรายการ โดยที่ทีมข่าวจะเป็นทีมข่าวจาก[[ช่องวัน 31]] ที่จะมาผลิตแทน หรือก็คือการควบรวมทีมข่าวกันนั่นเอง<ref name=":1">{{Cite news|url=https://www.dailynews.co.th/regional/809116|title=อำลา!GMM25ขาดทุน-ยุบฝ่ายข่าว หยุดดำเนินกิจการสิ้นปี|publisher=[[เดลินิวส์]]|date=26 พฤศจิกายน 2563|accessdate=28 พฤศจิกายน 2563}}</ref>
 
ต่อมาในวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 [[จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่]] ได้แจ้งต่อ[[ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย]]ว่า [[เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์|บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด]] ได้เข้าซื้อกิจการในบริษัท จีเอ็มเอ็ม แชนแนล โฮลดิ้ง จำกัด ทั้งหมดจากจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ และกลุ่มทีซีซี คิดเป็นมูลค่า 2,200,000,000 บาท โดยหลังเสร็จสิ้นกระบวนการ เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จะถือหุ้นในจีเอ็มเอ็ม แชนแนล โฮลดิ้ง ทั้งหมด แต่ก่อนการขายกิจการ [[จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่]] โดย บริษัท จีเอ็มเอ็ม โฮลดิ้ง จำกัด จะเข้าซื้อหุ้นบริษัทดังต่อไปนี้จาก จีเอ็มเอ็ม แชนแนล โฮลดิ้ง ไปถือหุ้นเองเพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงข้อกฎหมายของ [[กสทช.]] และประเด็นเรื่องการเปลี่ยนเจ้าของบริษัท อันได้แก่
 
* บริษัท จีเอ็มเอ็ม แชนแนล จำกัด
* บริษัท [[คอนเทนต์ แอนด์ อาร์ตติสท์ เน็ตเวิร์ค]] จำกัด
* บริษัท [[เอไทม์ ทราเวลเลอร์]] จำกัด
 
หลังจากกระบวนการทั้งหมดแล้วเสร็จ เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ รวมถึงจีเอ็มเอ็ม แชนแนล โฮลดิ้ง ได้เข้าทำสัญญาแต่งตั้งจากจีเอ็มเอ็ม โฮลดิ้ง เพื่อเป็นตัวแทนทางการตลาดและร่วมผลิตรายการให้ช่องจีเอ็มเอ็ม 25 จากกระบวนการดังกล่าวจึงทำให้ เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของกลุ่มธุรกิจจีเอ็มเอ็ม 25 ยกเว้นตัวช่องจีเอ็มเอ็ม 25 ที่จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ยังคงถือหุ้นเองในทางอ้อม และทำให้จีเอ็มเอ็ม 25 กลายเป็นสถานีโทรทัศน์รองของ[[ช่องวัน 31]] โดยมีการแถลงรายละเอียดต่อสื่อมวลชนเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2563 และเริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564<ref>{{Cite news|url=https://www.prachachat.net/finance/news-563176|title=“แกรมมี่” ปรับโครงสร้างกลุ่มบริษัท “GMMCH” ก่อนโอนหุ้นให้ “ONE”|publisher=[[ประชาชาติธุรกิจ]]|date=27 พฤศจิกายน 2563|accessdate=28 พฤศจิกายน 2563}}</ref>
 
การเข้าซื้อกิจการในครั้งนี้ถือเป็นการเตรียมตัวในการนำเดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ เข้าสู่การเป็น[[บริษัทมหาชน]]และ[[การเสนอขายหุ้นใหม่แก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก|เสนอขายหุ้นใหม่แก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก]] ซึ่งจะทำให้มูลค่าของบริษัทเพิ่มมากขึ้นจากทรัพย์สินและความเป็นผู้นำด้านคอนเทนต์แบบครบวงจร
 
== อ้างอิง ==