ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ไอแซก นิวตัน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1:
{{
 
== ประวัติ ==
 
=== วัยเด็ก ===
ไอแซก นิวตัน เกิดเมื่อวันที่ 4 มกราคม ค.ศ. 1642 <small>(หรือ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2185 ตามปฏิทินจูเลียน)</small>{{fn|1}} ที่วูลส์ธอร์พแมนเนอร์ ท้องถิ่นชนบทแห่งหนึ่งใน[[ลินคอล์นเชียร์]] ตอนที่นิวตันเกิดนั้นประเทศอังกฤษยังไม่ยอมรับ[[ปฏิทินเกรกอเรียน]] ดังนั้นวันเกิดของเขาจึงบันทึกเอาไว้ว่าเป็นวันที่ 25 ธันวาคม ค.ศ. 1642 บิดาของนิวตัน ซึ่งเป็นชาวนาผู้มั่งคั่งเสียชีวิตก่อนเขาเกิด 3 เดือน เมื่อแรกเกิดนิวตันตัวเล็กมาก เขาเป็นทารกคลอดก่อนกำหนดที่ไม่มีผู้ใดคาดว่าจะรอดชีวิตได้ มารดาของเขาคือ นางฮานนาห์ อายสคัฟ บอกว่าเอานิวตันใส่ในเหยือกควอร์ทยังได้ (ขนาดประมาณ 1.1 ลิตร) เมื่อนิวตันอายุได้ 3 ขวบ มารดาของเขาแต่งงานใหม่กับสาธุคุณบาร์นาบัส สมิธ และได้ทิ้งนิวตันไว้ให้มาร์เกรี อายส์คัฟ ยายของนิวตันเลี้ยง นิวตันไม่ชอบพ่อเลี้ยง และเป็นอริกับมารดาไปด้วยฐานแต่งงานกับเขา ความรู้สึกนี้ปรากฏในงานเขียนสารภาพบาปที่เขาเขียนเมื่ออายุ 19: "ขอให้พ่อกับแม่สมิธรวมทั้งบ้านของพวกเขาถูกไฟผลาญ"<ref>Cohen, I.B. (1970). Dictionary of Scientific Biography, Vol. 11, p.43. New York: Charles Scribner's Sons</ref> นิวตันเคยหมั้นครั้งหนึ่งในช่วงปลายวัยรุ่น แต่เขาไม่เคยแต่งงานเลย เพราะอุทิศเวลาทั้งหมดให้กับการศึกษาและการทำงาน<ref name="nomarry">{{cite web|url=http://www.newton.ac.uk/newtlife.html|title=Isaac Newton's Life|year=1998|publisher=Isaac Newton Institute for Mathematical Sciences|accessdate=2010-03-28}}</ref><ref name="bellevue">{{cite web|url=http://scidiv.bellevuecollege.edu/MATH/Newton.html|title=Isaac Newton|publisher=Bellevue College|accessdate=2010-03-28}}</ref><ref name="newtonbook">{{Cite book|last=Newton|first=Isaac|coauthors=Derek Thomas Whiteside|title=The Mathematical Papers of Isaac Newton: 1664-1666 |publisher=Cambridge University Press|location=Cambridge|year=1967|page=8|isbn=9780521058179|url=http://books.google.com/?id=1ZcYsNBptfYC&pg=PA8&lpg=PA8&dq=isaac+newton+miss+storey&q=miss%20storey|accessdate=2010-03-28}}</ref>
 
นับแต่อายุ 12 จนถึง 17 นิวตันเข้าเรียนที่[[คิงส์สกูล แกรนแธม]] ต่อมาในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1659 เขากลับไปบ้านเกิดเมื่อมารดาที่เป็นหม้ายครั้งที่ 2 พยายามบังคับให้เขาเป็นชาวนา แต่เขาเกลียดการทำนา<ref>Westfall 1994, pp 16-19</ref> ครูใหญ่ที่คิงส์สกูล เฮนรี สโตกส์ พยายามโน้มน้าวให้มารดาของเขายอมส่งเขากลับมาเรียนให้จบ จากแรงผลักดันในการแก้แค้นครั้งนี้ นิวตันจึงเป็นนักเรียนที่มีผลการเรียนสูงที่สุด<ref>White 1997, p. 22</ref>
 
เดือนมิถุนายน ค.ศ. 1661 นิวตันได้เข้าเรียนที่[[วิทยาลัยทรินิตี้ แห่งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์]] ในฐานะซิซาร์ (sizar; คือทุนชนิดหนึ่งซึ่งนักศึกษาต้องทำงานเพื่อแลกกับที่พัก อาหาร และค่าธรรมเนียม)<ref>Michael White, ''Isaac Newton'' (1999) [http://books.google.com/books?id=l2C3NV38tM0C&pg=PA24&dq=storer+intitle:isaac+intitle:newton&lr=&num=30&as_brr=0&as_pt=ALLTYPES#PPA46,M1 page 46] {{Webarchive|url=https://web.archive.org/web/20160427130013/https://books.google.com/books?id=l2C3NV38tM0C&pg=PA24&dq=storer+intitle:isaac+intitle:newton&lr=&num=30&as_brr=0&as_pt=ALLTYPES#PPA46,M1 |date=2016-04-27 }}</ref> ในยุคนั้นการเรียนการสอนในวิทยาลัยตั้งอยู่บนพื้นฐานแนวคิดของ[[อริสโตเติล]] แต่นิวตันชอบศึกษาแนวคิดของนักปรัชญายุคใหม่คนอื่นๆ ที่ทันสมัยกว่า เช่น [[เรอเน เดส์การ์ตส์|เดส์การ์ตส์]] และ[[นักดาราศาสตร์]] เช่น [[นิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัส|โคเปอร์นิคัส]], [[กาลิเลโอ]] และ[[โจฮันเนส เคปเลอร์|เคปเลอร์]] เป็นต้น ปี ค.ศ. 1665 เขาค้นพบ[[ทฤษฎีบททวินาม]]และเริ่มพัฒนาทฤษฎีทางคณิตศาสตร์ซึ่งต่อมากลายเป็น [[แคลคูลัสกณิกนันต์]] (infinitesimal calculus) นิวตันได้รับปริญญาในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1665 หลังจากนั้นไม่นาน มหาวิทยาลัยต้องปิดลงชั่วคราวเนื่องจาก[[โรคระบาดครั้งใหญ่ในกรุงลอนดอน|เกิดโรคระบาดครั้งใหญ่]] แม้เมื่อศึกษาในเคมบริดจ์เขาจะไม่มีอะไรโดดเด่น<ref>ed. Michael Hoskins (1997). Cambridge Illustrated History of Astronomy, p.&nbsp;159. [[Cambridge University Press]]</ref> แต่การศึกษาด้วยตนเองที่บ้านในวูลส์ธอร์พตลอดช่วง 2 ปีต่อมาได้สร้างพัฒนาการแก่ทฤษฎีเกี่ยวกับแคลคูลัส ธรรมชาติของ[[แสงสว่าง]] และ[[กฎแรงโน้มถ่วง]]ของเขาอย่างมาก นิวตันได้ทำการทดลองเกี่ยวกับแสงอาทิตย์อย่างหลากหลายด้วยแท่งแก้ว[[ปริซึม]]และสรุปว่า[[รังสี]]ต่างๆ ของแสงซึ่งนอกจากจะมีสีแตกต่างกันแล้วยังมีภาวะการหักเหต่างกันด้วย การค้นพบที่เป็นการอธิบายว่าเหตุที่ภาพที่เห็นภายในกล้องโทรทรรศน์ที่ใช้[[เลนส์]]แก้วไม่ชัดเจน ก็เนื่องมาจากมุมในการหักเหของลำแสงที่ผ่านแก้วเลนส์แตกต่างกัน ทำให้ระยะโฟกัสต่างกันด้วย จึงเป็นไม่ได้ที่จะได้ภาพที่ชัดด้วยเลนส์แก้ว การค้นพบนี้กลายเป็นพื้นฐานในการพัฒนา[[กล้องโทรทรรศน์ชนิดสะท้อนแสง|กล้องโทรทรรศน์แบบกระจกเงาสะท้อนแสง]]ที่สมบูรณ์โดย[[วิลเลียม เฮอร์เชล]] และ [[เอิร์ลแห่งโรส]] ในเวลาต่อมา ในเวลาเดียวกับการทดลองเรื่องแสงสว่าง นิวตันก็ได้เริ่มงานเกี่ยวกับแนวคิดในเรื่อง[[การโคจร]]ของ[[ดาวเคราะห์]]
 
ในปี ค.ศ. 1667 เขากลับไปเคมบริดจ์อีกครั้งหนึ่งในฐานะภาคีสมาชิกของทรินิตี้<ref>{{Venn|id=RY644J|name=Newton, Isaac}}</ref> ซึ่งมีกฎเกณฑ์อยู่ว่าผู้เป็นภาคีสมาชิกต้องอุทิศตนถือบวช อันเป็นสิ่งที่ นิวตันพยายามหลีกเลี่ยงเนื่องจากมุมมองของเขาที่ไม่เห็นด้วยกับศาสนา โชคดีที่ไม่มีกำหนดเวลาที่แน่นอนว่าภาคีสมาชิกต้องบวชเมื่อไร จึงอาจเลื่อนไปตลอดกาลก็ได้ แต่ก็เกิดปัญหาขึ้นในเวลาต่อมาเมื่อนิวตันได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่ง[[เมธีลูเคเชียน]]อันทรงเกียรติ ซึ่งไม่อาจหลบเลี่ยงการบวชไปได้อีก ถึงกระนั้นนิวตันก็ยังหาทางหลบหลีกได้โดยอาศัยพระบรมราชานุญาตจาก[[สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ|พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2]]
 
=== ชีวิตการงาน ===
[[ไฟล์:Newton-Principia-Mathematica 1-500x700.jpg|thumbnail|145px|left|''Philosophiæ Naturalis Principia Mathematica'' งานตีพิมพ์สำคัญชิ้นแรกของไอแซก นิวตัน]]
 
การหล่นของ[[แอปเปิล]]ทำให้เกิดคำถามอยู่ในใจของนิวตันว่าแรงของโลกที่ทำให้ผลแอปเปิลหล่นน่าจะเป็นแรงเดียวกันกับแรงที่ “ดึง” ดวงจันทร์เอาไว้ไม่ไปที่อื่นและทำให้เกิดโคจรรอบโลกเป็นวงรี ผลการคำนวณเป็นสิ่งยืนยันความคิดนี้แต่ก็ยังไม่แน่ชัดจนกระทั่งการการเขียนจดหมายโต้ตอบระหว่างนิวตันและ[[โรเบิร์ต ฮุก]] ที่ทำให้นิวตันมีความมั่นใจและยืนยันหลักการ[[กลศาสตร์]]เกี่ยวกับการเคลื่อนที่ได้เต็มที่ ในปีเดียวกันนั้น [[เอ็ดมันด์ ฮัลเลย์]]ได้มาเยี่ยมนิวตันเพื่อถกเถียงเกี่ยวกับคำถามเรื่องดาวเคราะห์ ฮัลลเลย์ต้องประหลาดใจที่นิวตันกล่าวว่าแรงกระทำระหว่างดวงอาทิตย์กับดาวเคราะห์ที่ทำให้การวงโคจรรูปวงรีได้นั้นเป็นไปตามกฎกำลังสองที่นิวตันได้พิสูจน์ไว้แล้วนั่นเอง ซึ่งนิวตันได้ส่งเอกสารในเรื่องนี้ไปให้ฮัลเลย์ดูในภายหลังและฮัลเลย์ก็ได้ชักชวนขอให้นิวตันเขียนหนังสือเล่มนี้ขึ้น และหลังการเป็นศัตรูคู่ปรปักษ์ระหว่างนิวตันและฮุกมาเป็นเวลานานเกี่ยวกับการอ้างสิทธิ์ในการเป็นผู้ค้นพบ “กฎกำลังสอง” แห่งการดึงดูด หนังสือเรื่อง "หลักการคณิตศาสตร์ว่าด้วยปรัชญาธรรมชาติ” (''Philosophiae naturalist principia mathematica'' หรือ ''The Mathematical Principles of Natural Philosophy'') ก็ได้รับการตีพิมพ์ เนื้อหาในเล่มอธิบายเรื่อง[[ความโน้มถ่วงสากล]] และเป็นการวางรากฐานของ[[กลศาสตร์ดั้งเดิม]] (กลศาสตร์คลาสสิก) ผ่าน[[กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน|กฎการเคลื่อนที่]] ซึ่งนิวตันตั้งขึ้น นอกจากนี้ นิวตันยังมีชื่อเสียงร่วมกับ [[กอทท์ฟรีด วิลเฮล์ม ไลบ์นิซ]] ในฐานะที่ต่างเป็นผู้พัฒนา[[แคลคูลัส]]เชิง[[อนุพันธ์]]อีกด้วย
 
งานสำคัญชิ้นนี้ซึ่งถูกหยุดไม่ได้พิมพ์อยู่หลายปีได้ทำให้นิวตันได้รับการยอมรับว่าเป็นนักฟิสิกส์กายภาพที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ผลกระทบมีสูงมาก นิวตันได้เปลี่ยนโฉมวิทยาศาสตร์ว่าด้วยการเคลื่อนที่ของ[[เทห์วัตถุ]]ที่มีมาแต่เดิมโดยสิ้นเชิง นิวตันได้ทำให้งานที่เริ่มมาตั้งแต่สมัยกลางและได้รับการเสริมต่อโดยความพยายามของ[[กาลิเลโอ]]เป็นผลสำเร็จลง และ “กฎการเคลื่อนที่” นี้ได้กลายเป็นพื้นฐานของงานสำคัญทั้งหมดในสมัยต่อๆ มา
 
ในขณะเดียวกัน การมีส่วนในการต่อสู้การบุกรุกพื้นที่ของมหาวิทยาลัยอย่างผิดกฎหมายจาก[[สมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ|พระเจ้าเจมส์ที่ 2]] ทำให้นิวตันได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกรัฐสภาในปี พ.ศ. 2232-33 ต่อมาปี พ.ศ. 2239 นิวตันได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ดูแลโรงผลิต[[กษาปณ์|เหรียญกษาปณ์]]เนื่องจากรัฐบาลต้องการบุคคลที่ซื่อสัตย์สุจริตและมีความเฉลียวฉลาดเพื่อต่อสู้กับการปลอมแปลงที่ดาษดื่นมากขึ้นในขณะนั้นซึ่งต่อมา นิวตันก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการในปี พ.ศ. 2242 หลังจากได้แสดงความสามารถเป็นที่ประจักษ์ว่าเป็นผู้บริหารที่ยอดเยี่ยม และในปี พ.ศ. 2244 นิวตันได้รับเลือกเข้าสู้รัฐสภาอีกครั้งหนึ่งในฐานะผู้แทนของมหาวิทยาลัย และในปี พ.ศ. 2247 นิวตันได้ตีพิมพ์หนังสือเรื่อง “ทัศนศาสตร์” หรือ ''Optics'' ฉบับภาษาอังกฤษ (สมัยนั้นตำรามักพิมพ์เป็นภาษาละติน) ซึ่งนิวตันไม่ยอมตีพิมพ์จนกระทั่งฮุก คู่ปรับเก่าถึงแก่กรรมไปแล้ว
 
=== ชีวิตครอบครัว ===
นิวตันไม่เคยแต่งงาน และไม่มีหลักฐานใดที่บ่งบอกว่าเขาเคยมีความสัมพันธ์เชิงชู้สาวกับผู้ใด{{citation needed|date=September 2011}} แม้จะไม่สามารถระบุได้แน่ชัด แต่ก็เชื่อกันโดยทั่วไปว่าเขาถึงแก่กรรมไปโดยที่ยังบริสุทธิ์ ดังที่บุคคลสำคัญหลายคนกล่าวถึง เช่นนักคณิตศาสตร์ [[ชาลส์ ฮัตตัน]]<ref>{{cite book |title=A Philosophical and Mathematical Dictionary Containing... Memoirs of the Lives and Writings of the Most Eminent Authors, Volume 2 |last=Hutton |first=Charles |authorlink=Charles Hutton |year=1815 |page=100 |url=http://books.google.ca/books?id=_xk2AAAAQAAJ&pg=PA100&lpg=PA100&dq=Charles+Hutton+Isaac+Newton+constitutional+indifference&source=bl&ots=gxI1T-5UzL&sig=NJHnmCqkPwNalnOSrUXZZgkfODs&hl=en#v=onepage&q=Charles%20Hutton%20Isaac%20Newton%20constitutional%20indifference&f=false |accessdate=September 11, 2012}}</ref> นักเศรษฐศาสตร์ [[จอห์น เมย์นาร์ด เคนส์]]<ref>{{cite web |url=http://www-history.mcs.st-and.ac.uk/Extras/Keynes_Newton.html |title=Newton: the Man |author=John Maynard Keynes |publisher=[[University of St Andrews]] School of Mathematics and Statistics |accessdate=September 11, 2012}}</ref> และนักฟิสิกส์ [[คาร์ล เซแกน]]<ref>{{cite book |title=Cosmos |last=Carl |first=Sagan |authorlink=Carl Sagan |year=1980 |publisher=Random House |location=New York |isbn=0394502949 |page= |url=http://books.google.ca/books?id=_-XhL6_xsVkC&pg=PA55&lpg=PA55&dq=Isaac+Newton+virgin&source=bl&ots=pfxDt6lG8I&sig=u4GtOW8G0jCFdrppKL2o0j9ZAKU&hl=en&sa=X&ei=jrJJULeTIYnDigLs14Fo&ved=0CEMQ6AEwAzge#v=onepage&q=Isaac%20Newton%20virgin&f=false |accessdate=September 11, 2012}}</ref>
 
[[วอลแตร์]] นักเขียนและนักปรัชญาชาวฝรั่งเศสซึ่งพำนักในลอนดอนในช่วงเวลาที่ฝังศพของนิวตัน อ้างว่าเขาได้ค้นพบข้อเท็จจริงนี้ เขาเขียนไว้ว่า "ผมได้รับการยืนยันจากหมอและศัลยแพทย์ที่อยู่กับเขาตอนที่เขาตาย"<ref>''Letters on England'', 14, pp. 68-70, as referenced in the footnote for the quote in p. 6 of James Gleick's biography, ''Isaac Newton''</ref> (เรื่องที่อ้างกล่าวว่า ขณะที่เขานอนบนเตียงและกำลังจะตาย ก็สารภาพออกมาว่าเขายังบริสุทธิ์อยู่<ref>{{cite book |title=Isaac Newton |last=Stokes |first=Mitch |year=2010 |publisher=Thomas Nelson |isbn=1595553037 |page=154 |url=http://books.google.ca/books?id=zpsoSXCeg5gC&pg=PA154&lpg=PA154&dq=Isaac+Newton+virgin+confess&source=bl&ots=jL4JIVcIJe&sig=JYyHgrFXKVc_fQrc_Xr3FXjJYkw&hl=en#v=onepage&q=Isaac%20Newton%20virgin%20confess&f=false |accessdate=September 11, 2012}}</ref><ref>{{cite journal |last=Foster |first=Jacob |year=2005 |title=Everybody Loves Einstein |journal=[[The Oxonian Review]] |volume=5 |issue=1 |url=http://www.oxonianreview.org/issues/5-1/5-1foster.html |doi= |access-date=2012-09-17 |archive-date=2012-05-15 |archive-url=https://web.archive.org/web/20120515221800/http://www.oxonianreview.org/issues/5-1/5-1foster.html |url-status=dead }}</ref>) ในปี 1733 วอลแตร์ระบุโดยเปิดเผยว่านิวตัน "ไม่มีทั้งความหลงใหลหรือความอ่อนแอ เขาไม่เคยเข้าใกล้หญิงใดเลย"<ref>{{cite book |title=The Newton Handbook |last=Gjertsen |first=Derek |year=1986 |publisher=Taylor & Francis |isbn=0710202792 |page=105 |url=http://books.google.ca/books?id=cqIOAAAAQAAJ&pg=PA105&lpg=PA105&dq=Isaac+Newton+virgin&source=bl&ots=Sf2QL1yV2J&sig=0m7VW3Ca0_jKFl-k-P8FNAATuaY&hl=en#v=onepage&q=Isaac%20Newton%20virgin&f=false |accessdate=September 11, 2012}}</ref><ref>{{cite book |title=Newton: The Making of Genius |last=Fara |first=Patricia |authorlink=Patricia Fara |year=2011 |publisher=Pan Macmillan |isbn=1447204530 |page= |url= |accessdate=September 11, 2012}}</ref>
 
นิวตันมีมิตรภาพอันสนิทสนมกับนักคณิตศาสตร์ชาวสวิส [[Nicolas Fatio de Duillier]] ซึ่งเขาพบในลอนดอนราวปี 1690<ref>{{cite web |url=http://web.clas.ufl.edu/users/ufhatch/pages/13-NDFE/newton/05-newton-timeline-m.htm |title=Newton Timeline |author=Professor Robert A. Hatch, University of Florida |accessdate=August 13}}</ref> แต่มิตรภาพนี้กลับสิ้นสุดลงเสียเฉยๆ ในปี 1693 จดหมายติดต่อระหว่างคนทั้งคู่บางส่วนยังคงเหลือรอดมาถึงปัจจุบัน
 
[[ไฟล์:Sir Isaac Newton by Sir Godfrey Kneller, Bt.jpg|thumb|upright|ภาพวาดนิวตันในปี [[ค.ศ. 1702]] โดย [[Godfrey Kneller|ก็อดฟรีย์ เนลเลอร์]]]]
 
=== บั้นปลายของชีวิต ===
ชีวิตส่วนใหญ่ของนิวตันอยู่กับความขัดแย้งกับบรรดานักวิทยาศาสตร์คนอื่นๆ โดยเฉพาะฮุก, [[กอทท์ฟรีด วิลเฮล์ม ไลบ์นิซ|ไลบ์นิซ]] และ[[จอห์น เฟลมสตีด|เฟลมสตีด]] ซึ่งนิวตันแก้เผ็ดโดยวิธีลบเรื่องหรือข้อความที่เป็นจินตนาการหรือไม่ค่อยเป็นจริงที่ได้อ้างอิงว่าเป็นการช่วยเหลือของพวกเหล่านั้นออกจากงานของนิวตันเอง นิวตันตอบโต้การวิพากษ์วิจารณ์งานของตนอย่างดุเดือดเสมอ และมักมีความปริวิตกอยู่เป็นนิจจนเชื่อกันว่าเกิดจากการถูกมารดาทอดทิ้งในสมัยที่เป็นเด็ก และความบ้าคลั่งดังกล่าวแสดงนี้มีให้เห็นตลอดการมีชีวิต อาการสติแตกของนิวตันในปี พ.ศ. 2236 ถือเป็นการป่าวประกาศยุติการทำงานด้านวิทยาศาสตร์ของนิวตัน หลังได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นขุนนางระดับเซอร์ในปี พ.ศ. 2248 นิวตันใช้ชีวิตในบั้นปลายภายใต้การดูแลของหลานสาว นิวตันไม่ได้แต่งงาน แต่ก็มีความสุขเป็นอย่างมากในการอุปการะนักวิทยาศาสตร์รุ่นหลัง ๆ และนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2246 เป็นต้นมาจนถึงวาระสุดท้ายแห่งชีวิต นิวตันดำรงตำแหน่งเป็นนายก[[ราชสมาคมแห่งลอนดอน]]ที่ได้รับสมญา “นายกสภาผู้กดขี่”
 
เมื่อนิวตันเสียชีวิตลง พิธีศพของเขาจัดอย่างยิ่งใหญ่เทียบเท่า[[กษัตริย์อังกฤษ|กษัตริย์]] ศพของเขาฝังอยู่ที่[[แอบบีเวสต์มินสเตอร์|มหาวิหารเวสต์มินสเตอร์]] เช่นเดียวกับกษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูงของอังกฤษ
 
'''เซอร์ไอแซก นิวตัน'''มีชีวิตอยู่ตรงกับรัชสมัยของ[[สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง]] และ[[สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9]] หรือพระเจ้าท้ายสระแห่งสมัย[[กรุงศรีอยุธยา]]
 
== ผลงาน ==