ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมจินต์ ธรรมทัต"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่อาจเป็นการทดลอง หรือก่อกวนด้วยบอต ไม่ควรย้อน? แจ้งที่นี่
ป้ายระบุ: ย้อนด้วยมือ
สมจินต์ ธรรมทัต
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว
บรรทัด 28:
| thaifilmdb_id = 01399
}}
 
[[ไฟล์:พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานรางวัลดาราทอง สมจินต์ ธรรมทัต.jpg|thumb|พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานรางวัลดาราทองประเภทโทรทัศน์ ให้นาย สมจินต์ ธรรมทัต ณ.เวทีลีลาศสวนอัมพร วันศุกร์ที่ 24 มีนาคม พุทธศักราช 2509]]
 
'''สมจินต์ ธรรมทัต''' เกิดวันเสาร์ที่ [[14 กุมภาพันธ์]] [[พ.ศ. 2473]] ที่จังหวัด[[ธนบุรี]] เป็นนักแสดงชาวไทย นักพากย์ ผู้กำกับการแสดง จบการศึกษาจากโรงเรียนอำนวยศิลปธนบุรี และพานิชยการพระนคร เริ่มเข้าสู่วงการบันเทิงจากการทำงานที่ บริษัท[[ไทยโทรทัศน์]] จำกัด หรือช่อง 4 บางขุนพรหม ยุคบุกเบิก มีหน้าที่ต่างๆ ตามได้รับมอบหมาย กับงานอัดเสียงผู้สมัครเข้าเป็นผู้ประกาศของบริษัท ต่อมาได้บรรจุเป็นพนักงานประจำฝ่ายจัดรายการ แผนกแผนผัง (แผนผังการออกอากาศ) ซึ่งมี [[จำนง รังสิกุล]] ผู้อำนวยการสถานี และ [[อาจินต์ ปัญจพรรค์]] เป็นหัวหน้าฝ่ายและรองหัวหน้าตามลำดับ และเป็นเจ้าของผลงาน 3 รางวัล ได้แก่ '''ดาราทองพระราชทาน''' พ.ศ. 2509 ,รางวัล'''เมขลา''' พ.ศ. 2524 และ รางวัล'''โทรทัศน์ทองคำ''' พ.ศ. 2529
 
== ประวัติ ==
=== 2473–2497: ปฐมวัย ===
 
บุตรชายคนโตของ นายศรี ธรรมทัต และ นางเตียง (แซ่ฉั่ว) ธรรมทัต มีน้องร่วมบิดามารดาอีกสามคน คือ นางสาวสมสอาด ธรรมทัต รับราชการครูสังกัด[[กรมอาชีวศึกษา]] ,นายสมถวิล ธรรมทัต รับราชการตำแหน่งผู้ประกาศข่าว[[กรมประชาสัมพันธ์]] และ นางเพ็ญศรี (ธรรมทัต) วุฒิวัย
 
เกิดที่บ้านของบิดา ที่ท่าดินแดง คลองสาน ธนบุรี บิดามารดามีอาชีพค้าขายและทำแป้งข้าวหมาก เนื่องจากบ้านอยู่ใกล้[[วัดอนงคารามวรวิหาร]] เด็กชายสมจินต์จึงเข้าสังกัดเป็นเด็กวัดอนงค์ และได้รับใช้หลวงพ่อทับเกจิอาจารย์ชื่อดังในสมัยนั้น ครั้งหนึ่งหลวงพ่อทับได้สร้างพระปิดตาเนื้อเมฆพัตร ซึ่งมีชื่อเสียงมาก ญาติโยมทั้งหลายจึงมาขออาราธนาไปบูชากันมิได้ขาด บางคราวขณะนั่งนวดขาให้หลวงพ่อที่กำลังจำวัด เขาจะล้วงหยิบกำพระออกจากบาตรที่หลวงพ่อใส่ไว้คราวละหนึ่งองค์สององค์บ้างส่งให้ผู้มารอ โดยไม่เคยเก็บไว้เป็นของตนเองเลย
[[ไฟล์:สมจินต์ ธรรมทัต ในบท ทหารเสา.jpeg|thumb|สมจินต์ ธรรมทัต ในบทตัวประกอบที่เรียกว่าทหารเสา (นั่งคนที่สองจากขวามือของภาพ)]]
[[ไฟล์:สมจินต์ ธรรมทัต ละคร เสือเก่า 1.jpg|thumb|สมจินต์ ธรรมทัต ในละครเรื่องเสือเก่า]]
ภายหลังเมื่อมีโอกาสพบญาติโยมบางคนที่ได้พระปิดตาเมฆพัตรไปและเพิ่งทราบว่าสมจินต์เองยังไม่มีพระที่ตนเองเคยหยิบแจกให้ผู้อื่นเลย จึงได้มอบคืนให้ ซึ่งในครั้งนั้นท่านผู้นั้นได้พระปิดตาจากมือของสมจินต์มาหลายองค์ด้วยกัน
[[ไฟล์:สมจินต์ ธรรมทัต ละคร เสือเก่า 2.jpg|thumb|ละครเรื่องเสือเก่า สมจินต์ ธรรมทัต (ยืน) กัณฑรีย์ นาคประภา (ยืน) อาคม มกรานนท์ (นั่ง)]]
เนื่องจากเป็นคนร่างเล็ก สมัยเรียนที่[[โรงเรียนอำนวยศิลป์]] ธนบุรี เพื่อน ๆ จึงเรียกว่าเตี้ย เมื่อมีเรื่องทะเลาะวิวาทก็จะสู้คนตัวใหญ่กว่าไม่ได้ จึงได้เข้าฝึกมวยไทยและเพาะกาย เล่นกีฬาฟุตบอลล์ อีกทั้งยังเสาะหาเครื่องรางของขลังเพื่อป้องกันตัวตามสมัยนิยม เคยแอบไปสักกับอาจารย์สักยันต์ แต่ด้วยกลัวบิดาซึ่งดุมากจะทราบ จึงได้เลือกสักน้ำมันที่แผ่นหลัง เมื่อกลับถึงบ้านบิดาก็ทราบจนได้ เพราะถึงรอยสักน้ำมันจะมองไม่เห็น แต่เลือดที่ออกเป็นจุด ๆ ตามรอยเข็มสัก ซึมติดหลังเสื้อนักเรียนสีขาวเป็นรอยสักชัดเจน จึงถูกลงโทษด้วยไม้เรียวตามระเบียบ
ครั้งหนึ่งเคยแอบไปเปรียบมวยในงานวัด เพราะต้องการทดลองฝีมือทางหมัดมวย เมื่อได้ขึ้นเวทียังไม่ทันได้ชกก็เห็นบิดาถือไม้เรียวรออยู่ที่ด้านล่างของเวที การชกครั้งนั้นแพ้และเมื่อลงจากเวทียังเจ็บตัวซ้ำสอง แต่การฝึกมวยไทยให้ประโยชน์เมื่อต้องใช้ในการแสดงละครโทรทัศน์
 
=== 2498–2520: บริษัทไทยโทรทัศน์ จำกัด ช่อง 4 บางขุนพรหม ===
หลังจบพณิชยการพระนคร ได้ทำงานที่ [[กรมชลประทาน]] และ [[กรมรถไฟ]] จนกระทั่งทราบว่าจะมีสถานีโทรทัศน์แห่งแรกขึ้น เป็นกิจการใหม่ที่ไม่เคยมีในเมืองไทย จึงสนใจมาสมัครทำงานกับ [[จำนง รังสิกุล]] <ref name="พลอยแกมเพชร">[ นิตยสารพลอยแกมเพชร ปีที่ 3 ฉบับที่ 52 - 31 มีนาคม 2537 ]</ref> ด้วยวุฒิพณิชยการและผลงานชนะการแข่งขันพิมพ์ดีด ได้ทำงานในส่วนกลางของบริษัท[[ไทยโทรทัศน์]]ตั้งแต่อาคารสถานียังสร้างไม่เสร็จ ต้องนั่งทำงานที่กรมประชาสัมพันธ์ไปพลาง ๆ ก่อน โดยมิได้นึกเลยว่าจะมาเป็นนักแสดง
 
ยุคเริ่มแรกของบริษัท[[ไทยโทรทัศน์]] ทำงานทั่วไปตามที่ได้รับมอบหมาย บางครั้งทำหน้าที่ควบคุมการอัดเสียงผู้ที่มาสมัครเป็นผู้ประกาศของสถานีวิทยุ ททท.ซึ่งเปิดดำเนินการก่อนสถานีโทรทัศน์ออกอากาศ ต่อมาได้ทำงานเอกสารในแผนกแผนผังของฝ่ายจัดรายการ ซึ่งนอกจากจะต้องพิมพ์แผนผังการออกอากาศประจำวันแล้ว บางครั้งยังต้องพิมพ์บทละครโทรทัศน์ด้วย และได้เข้าร่วมแสดงเป็น'''ตัวประกอบที่ไม่มีบทพูด''' เช่น ทหารตัวประกอบซึ่งเรียกกันว่า "ทหารเสาหรือเสนา 50" เพราะได้รับค่าตัว 50 บาท ต่อมาจึงได้รับบทที่ต้องมีบทสนทนาในละครหลายเรื่อง จนมาถึงเรื่อง ''เสือเก่า'' ส่งให้มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของผู้ชม ในเรื่องนี้รับบทนักมวยเก่าที่แขวนนวมไปแล้ว มีภรรยา (กัณฑรีย์ นาคประภา สิมะเสถียร ) และต้องกลับมาขึ้นชกกับลูกชายของตัวเอง [[อาคม มกรานนท์]] ซึ่งมีโอกาสได้ใช้ประสบการณ์ที่เคยฝึกชกมวยในการแสดงละครครั้งนี้ด้วย
 
พ.ศ. 2502 - 2504 แสดงละครหลายตอนจบเรื่อง ''[[ขุนศึก]]'' บทประพันธ์ของ [[ไม้ เมืองเดิม]] เป็นละครฟอร์มใหญ่เรื่องยาวของสถานี ที่ใช้ผู้แสดงจำนวนมากและออกอากาศนานถึงสองปี บทโทรทัศน์โดย สุมทุม บุญเกื้อ ซึ่งเป็นการขอยืมชื่อน้องชายของ ไม้ เมืองเดิม มาเป็นผู้เขียนบทโทรทัศน์ แต่ความจริงแล้วเขียนโดย [[รพีพร]] (สุวัฒน์ วรดิลก) ซึ่งขณะนั้นถูกจำคุกอยู่ด้วยคดีกบฐเสรีภาพ<ref name="อารีย์">[ โลกมายาของอารีย์ โดย อารีย์ นักดนตรี - มีนาคม 2546 - ISBN 974-91018-4-7 ]</ref>
 
รับบทเป็น หมู่ขัน ตัวร้ายของเรื่อง ทำให้มีชื่อเสียงในฐานะ '''ดาวร้ายจอแก้ว'''
 
พ.ศ. 2509 [[สมาคมผู้สื่อข่าวบันเทิงแห่งประเทศไทย]]<ref name="ข่าวสยาม">หนังสือพิมพ์ ข่าวสยาม ปีที่ 9 ฉบับที่ 2322 วันเสาร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2509</ref><ref name="ไทยรัฐ">หนังสือพิมพ์ ไทยรัฐ ปีที่ 9 ฉบับที่ 3376 วันอาทิตย์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2509</ref> ได้พิจารณาให้เป็นหนึ่งในรายชื่อเพื่อขอรับพระราชทานรางวัลจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช สำหรับผู้มีผลงานในทุกสาขา ทั้งภาพยนตร์ โทรทัศน์ วิทยุ และ นักร้อง โดยมีชื่อรางวัลว่า "'''ดาราทองพระราชทาน'''" พิธีพระราชทานรางวัล จัดขึ้น ณ เวทีลีลาศสวนอัมพร ในวันศุกร์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2509
 
ผู้ที่ได้รับรางวัลดาราทองพระราชทานมีรายชื่อดังต่อไปนี้
 
'''ภาพยนตร์''' [[มิตร ชัยบัญชา]] (พันจ่าอากาศโท พิเชษฐ์ พุ่มเหม) ,[[พิศมัย วิไลศักดิ์]]
 
'''โทรทัศน์''' สมจินต์ ธรรมทัต, [[สุพรรณ บูรณพิมพ์]]
 
'''วิทยุ''' [[วิเชียร นีลิกานนท์]], [[จีราภา ปัญจศีล]]
 
'''นักร้อง''' [[ชรินทร์ นันทนาคร]] ,[[ลินจง บุญนากริน]]
 
'''รางวัลชมเชยพิเศษ''' ศิริ ศิริจินดา, ไพบูลย์ ลีสุวัฒน์, [[เพ็ญศรี พุ่มชูศรี]], จีรนันท์ เศวตนันทน์
 
มีผลงานทางโทรทัศน์ ทั้งแสดงละคร กำกับละคร พากย์ภาพยนตร์ต่างประเทศ บรรยายสารคดี อ่านข่าว และงานอื่น ๆ อีกมากมาย ตามสถานีโทรทัศน์ช่องต่าง ๆ เป็นจำนวนมากจนตลอดชีวิต และเคยได้รับรางวัลต่าง ๆ เช่น
 
[[รางวัลเมขลา]] ครั้งที่ 2 (2524) ผู้แสดงประกอบชายดีเด่น จาก ''[[เขาชื่อกานต์]]'' (ช่อง 3)
 
[[รางวัลโทรทัศน์ทองคำ]] ครั้งที่ 1 (2529) ผู้พากย์ภาพยนตร์ดีเด่นชาย จาก ''พั้งค์กี้จอมแก่น'' และ ''หนูน้อยคอมพิวเตอร์'' (ช่อง 9)
 
วันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520 รัฐบาลเผด็จการที่มาจากการรัฐประหารในขณะนั้นโดย นายธานินทร์ กรัยวิเชียร นายกรัฐมนตรี และนายดุสิต ศิริวรรณ เป็น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้มีมติให้เลิกกิจการบริษัทไทยโทรทัศน์ จำกัด กับเลิกจ้างพนักงานทั้งหมด และได้ตั้ง[[องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย]] ขึ้นเพื่อรับช่วงการดำเนินงานต่อโดยให้พนักงานของบริษัทไทยโทรทัศน์ สมัครเข้าทำงานในหน่วยงานใหม่
 
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ร่วมกับผู้บริหารองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทยในยุคก่อตั้ง ปฏิเสธที่จะรับอดีตพนักงานของบริษัทไทยโทรทัศน์จำกัดจำนวนหนึ่งเข้าทำงาน ซึ่งรวมถึง สมจินต์ ธรรมทัต ด้วย นับตั้งแต่นั้นมาจึงเป็นนักแสดงอิสระไม่มีสังกัด
 
[[ไฟล์:ละคร ขุนศึก ช่องสี่บางขุนพรหม.jpg|thumb|ละครเรื่องขุนศึก จากซ้ายไปขวา
กำธร สุวรรณปิยะศิริ - จำรูญ หนวดจิ๋ม - ไม่ทราบชื่อ - ทัต เอกทัต (ประวัติ ผิวเผือก) - สมจินต์ ธรรมทัต - ไม่ทราบชื่อ - เสริมพันธ์ สุทธิเนตร]]
 
[[ไฟล์:เอเรียน่า สตูทเซล สมจินต์ ธรรมทัต ละครโทรทัศน์ฮวนนั้ง.jpg|thumb|เอเรียน่า สตูทเซล - สมจินต์ ธรรมทัต ในละครเรื่อง ฮวนนั้ง บทประพันธ์โดย ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช สถานีไทยโทรทัศน์ช่อง 4 บางขุนพรหม]]
 
[[ไฟล์:ละครวิทยุของ ททท.jpg|thumb|ละครวิทยุของสถานีไทยโทรทัศน์ (ททท.) จากซ้ายไปขวา ชาติ (สักกะ) จารุจินดา, กำธร สุวรรณปิยะศิริ, รัก รักพงษ์ (สมณะ โพธิรักษ์) , สุภางค์ (พิจิตรคุรุการ) ชูโต, อนุวัตร สุวรรณโสรช, สินีนาฏ โพธิเวส, ศุภมิตร ศาตะจันทร์, นงลักษณ์ โรจนพรรณ, สมจินต์ ธรรมทัต]]
 
=== 2512–2546: วงการภาพยนตร์ ===
 
ช่วงที่ทำงานฝ่ายจัดรายการ ของบริษัทไทยโทรทัศน์ จำกัด มีระเบียบห้ามนักแสดงสังกัดฝ่ายรายการรับงานแสดงนอกเหนือจากงานของทางสถานี
 
จนกระทั่งปี พ.ศ. 2512 เมื่อ จำนง รังสิกุล หัวหน้าฝ่ายรายการ ย้ายกลับกรมประชาสัมพันธ์ต้นสังกัดเดิม และมีการยกเลิกระเบียบดังกล่าว จึงรับงานแสดงภาพยนตร์ ''[[สวรรค์วันเพ็ญ]]'' เรื่องแรกของ [[ชรินทร์ นันทนาคร]] และมีโอกาสได้ร่วมงานกับ [[มิตร ชัยบัญชา]] ,[[เพชรา เชาวราษฎร์]] ,[[แมน ธีระพล]] ,[[น้ำเงิน บุญหนัก]] ,[[ล้อต๊อก]] ,[[สมพล กงสุวรรณ]] ,[[อดินันท์ สิงห์หิรัญ]] ฯลฯ
 
หลังจากนั้นได้ร่วมแสดงภาพยนตร์อีกหลายเรื่อง มักได้รับบทเป็นดาวร้ายที่ถนัดและเป็นที่นิยมของประชาชนจนกระทั่งบั้นปลายของชีวิต เรื่องสุดท้ายคือ ''เยาวราช''
 
[[ไฟล์:ภาพยนตร์ สวรรค์วันเพ็ญ.jpg|thumb|ภาพจากภาพยนตร์เรื่อง สวรรค์วันเพ็ญ พุทธศักราช 2512]]
 
=== 2500–2546: งานให้เสียงภาพยนตร์และสารคดี ===
 
เริ่มงานพากย์ภาพยนตร์ต่างประเทศของสถานีตามของสถานีที่มุ่งให้ให้พนักงานในฝ่ายรายการสามารถทำงานทั้งการแสดงละคร การกำกับละคร การพากย์ภาพยนตร์ต่างประเทศ เรื่องแรกที่ได้พากย์อย่างจริงจังคือ ''[[เดอะ โลน เรนเจอร์]] (The Lone Ranger)'' และได้รับความนิยมจากผู้ชมเรื่อยมาทั้งบทพระเอก พระรอง และตัวโกง รวมทั้งแนวตลก '''เป็นหนึ่งในทีมพากย์แนวหน้าของสถานี''' ให้เสียงได้หลากหลายบุคลิก เช่น ผู้พันหนุ่มดอน เวส และ หมอสมิธตัวแสบ ใน ''โลกพิศวง ([[Lost in Space]])'' ,ผู้จัดการคู่ปรับเลขาสาวจอมเปิ่น ใน ''ยอดตลกหญิงของโลก (Lucy Show)'' ,คุณตาแดร็กคูล่าจอมเพี้ยน ใน ''คนผี (The Munsters)'' และ บทต่าง ๆ ใน ''[[มนุษย์ค้างคาว]] (Batman)'' เป็นต้น นักพากย์ที่ร่วมงานประจำคือ [[สะอาด เปี่ยมพงศ์สานต์]] ,[[ดาเรศร์ ศาตะจันทร์]] ,[[อนุวัตร สุวรรณสโรช]] ฯลฯ
 
ผลงานร่วมในทีมพากย์เรื่องอื่นๆ ที่สร้างชื่อเสียงจำนวนมาก เช่น ''คุณอัศว์ (Mister Ed) ,สายลับลูกทุ่ง (The Wild Wild West) <ref name="THE WILD WILD WEST"> http://www.imdb.com/title/tt0080132/ </ref>,แดนสนธยา (The Twilight Zone) ,ขบวนการพยัคฆ์ร้าย (Mission Impossible)'' <ref name="Mission Impossible"> http://www.imdb.com/title/tt0060009/</ref> '',ตลุยจักรวาล (Star Trek)'' <ref name="Star Trek"> http://www.imdb.com/title/tt0060028/ </ref>,''สิงห์สำอางค์ (The Saint)''<ref name="The Saint"> http://www.imdb.com/title/tt0055701/ </ref>,''โบนันซ่า (Bonanza)''<ref name="Bonanza"> http://www.imdb.com/title/tt0052451/ </ref>,''แม่มดเจ้าเสน่ห์ (Bewitched)'' <ref name="Bewitched"> http://www.imdb.com/title/tt0057733/ </ref>,''ทรามวัยกายสิทธิ์ (I Dream of Jeannie) ,ผจญภัยใต้ทะเลลึก (voyage to the bottom) ฯลฯ''
 
 
พ.ศ. 2518 [[วันชัย อรรถเวทย์วรวุฒิ]] ซึ่งเป็นเพื่อนสนิท ได้ซื้อภาพยนตร์เรื่องยาวจากต่างประเทศพ่วงสารคดีชีวิตสัตว์เรื่อง ''Animals Are Beautiful People'' <ref name="สัตว์โลกผู้น่ารัก"> http://www.imdb.com/title/tt0071143/ </ref>มาด้วย เนื่องจากไม่เป็นที่นิยมของตลาดภาพยนตร์ในเมืองไทย จึงขอให้ สมจินต์ เป็นผู้บรรยาย เมื่ออัดเสียง (ตามบทแปล) เสร็จเรียบร้อย ทั้งสองก็สรุปร่วมกันว่าคงไม่ประสบความสำเร็จ จึงลองบรรยายใหม่อีกครั้ง '''คราวนี้ไม่อ่านตามบทแปลทั้งหมดแต่ใส่ลีลาการพากษ์แบบการ์ตูนเข้าไป ตั้งชื่อภาษาไทยว่า "''สัตว์โลกผู้น่ารัก'' " ผลปรากฏว่าพลิกความคาดหมายของทุกคน สารคดีเรื่องนี้ได้รับความนิยมสูงสุดถึงกับต้องยืดเวลาฉายและเพิ่มโรงภาพยนตร์ ส่งผลให้มีชื่อเสียงทางการบรรยายสารคดีที่เกี่ยวกับสัตว์จนได้รับงานพากย์หนังแนวนี้อีกมาก'''
 
นอกจากนี้ยังมี ผลงานสารคดีทั่วไปส่วนใหญ่ ของบริษัท[[รัชฟิล์มทีวี]] ,[[พาโนรามาดอกคิวเมนทารี่]] รวมถึงงานพากษ์หนังต่างประเทศนับพันเรื่องในยุควิดีโอเทปกำลังเฟื่องฟูช่วงทศวรรษ 2520 กับบริษัท[[คิววิดีโอ]] จำกัด
 
[[ไฟล์:ใบปิดภาพยนตร์ สัตว์โลกผู้น่ารัก.jpg|thumb|ใบปิดภาพยนตร์เรื่อง สัตว์โลกผู้น่ารัก]]
 
=== โหราศาสตร์ ===
 
ในช่วงวัยรุ่นค่อนข้างเป็นเด็กเกเร บิดามารดาเป็นห่วงจึงพาไปหาพระภิกษุผู้มีความรู้ทางโหราศาสตร์ตรวจดวงชะตา และ'''ได้รับคำพยากรณ์ว่าเด็กคนนี้จะได้เข้าสู่วงการการแสดง'''<ref name="พลอยแกมเพชร">[ นิตยสารพลอยแกมเพชร ปีที่ 3 ฉบับที่ 52 - 31 มีนาคม 2537 ]</ref>แต่เขาไม่ได้ใส่ใจกับคำพยากรณ์จนเริ่มมีชื่อเสียง จึงสนใจหันมาศึกษาวิชาโหราศาสตร์ด้วยตนเองโดยซื้อตำรามาอ่าน และเสาะแสวงหาอาจารย์ทางโหราศาสตร์เพื่อขอเรียนซึ่งก็ไม่สามารถหาผู้ให้ความรู้ได้ จึงมุมานะเรียนด้วยตนเองจากตำราและทดสอบด้วยตัวเอง จนมีความรู้ความชำนาญในการพยากรณ์ดวงชะตาบุคคล
 
ชีวิตช่วงหลังได้ใช้วิชาโหราศาสตร์เพื่อสงเคราะห์เพื่อนมนุษย์โดยไม่รับอามิสสินจ้าง ,ทำรายการวิทยุดูดวงชะตา โดยบริษัทสหพัฒนพิบูลย์ (ผู้อุปถัมภ์) ได้รับความสนใจจากผู้ฟังโดยส่งวันเดือนปีเวลาเกิดมาให้พยากรณ์ดวงชะตาเป็นจำนวนมาก รวมทั้งเขียนบทความการพยากรณ์ดวงชะตาบุคคลในวงการบันเทิงลงหนังสือพิมพ์อินไซด์ทีวี <ref name="อินไซด์ทีวี">[ หนังสือพิมพ์อินไซด์ทีวี ปีที่ 7 ฉบับที่ 317 - มีนาคม 2535 ]</ref>ต่อเนื่องกันเป็นเวลาหลายปี
 
[[ไฟล์:สมจินต์ ธรรมทัต ดูดวงชะตา ธงไชย แมคอินไตย์ อินด์ไซด์ทีวี.jpg|thumb|สมจินต์ ธรรมทัต ดูดวงชะตา ธงไชย แมคอินไตย์ หนังสือพิมพ์อินไซด์ทีวี]]
 
=== อื่น ๆ ===
เส้น 121 ⟶ 41:
บริษัทประชาช่าง จัดพิมพ์หนังสือแบบเรียน กอไก่ สำหรับเด็กอนุบาล<ref name="ฅ.ฅน ขึงขัง"> หนังสือแบบเรียน ก.ไก่ ชั้นอนุบาล บริษัทประชาช่างจำกัด </ref>และได้ใช้ภาพของ สมจินต์ ธรรมทัต เป็นแบบสำหรับตัวอักษร ฅ.ฅน ขึงขัง ซึ่งยังคงพิมพ์จำหน่ายจนถึงปัจจุบัน (พ.ศ. 2555)
 
[[ไฟล์:หนังสือแบบเรียนชั้นอนุบาล บริษัทประชาช่าง.jpg|thumb|สมจินต์ ธรรมทัต เป็นผู้แสดงแบบตัวอักษร ฅ.ฅน ขึงขัง ในหนังสือแบบเรียนชั้นอนุบาล ของบริษัทประชาช่างจำกัด]]
 
== ผลงาน ==