ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่อาจเป็นการทดลอง หรือก่อกวนด้วยบอต ไม่ควรย้อน? แจ้งที่นี่
Siamgalileo (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 8285780 สร้างโดย JBot (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ
บรรทัด 177:
วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2554 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร และ[[พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ]] โปรดให้ พลอากาศโท [[ภักดี แสงชูโต]] นำผ้าห่มกันหนาว 20,000 ผืน ไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยในเหตุการณ์[[แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในโทโฮะกุ พ.ศ. 2554]] ที่[[ประเทศญี่ปุ่น]] โดยมี[[กษิต ภิรมย์|นายกษิต ภิรมย์]] เป็นผู้รับมอบ<ref>หนังสือพิมพ์สยามรัฐ ปีที่ 61 ฉบับที่ 21143 วันที่ 17 มีนาคม ค.ศ. 2554 หน้า 1, 12</ref>
 
<br />
== ข้อวิจารณ์ ==
=== ครั้งเป็นมกุฎราชกุมาร ===
[[ไฟล์:Ac.vajiralongkorn.jpg|right|325x325px|thumb|พระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ถนนราชดำเนิน ครั้งดำรงพระยศสยามมกุฎราชกุมาร]]
 
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ห้ามวิพากษ์วิจารณ์รัชทายาท ทว่า พระชนมชีพส่วนพระองค์ เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในหมู่ชนอย่างกว้างขวาง <!-- แต่โดยความเงียบ --><ref name="BBC-17Dec">{{cite web
| url = http://www.bbc.co.uk/news/world-asia-pacific-12010706
| title = Wikileaks cable: 'Thai concerns about crown prince'
| author = Mike Wooldridge
| authorlink =
| date = 14 July 2011
| publisher = BBC
| language = English
}}</ref> [[บีบีซีไทย]]อ้างว่า พระองค์มักตกเป็นข่าวโดยเฉพาะในเรื่องสตรี การพนัน และเรื่องผิดกฎหมายจนเป็นที่กังขาเกี่ยวกับความเหมาะสมของพระองค์<ref name="บีบีซีไทย"/> เดือนตุลาคม พ.ศ. 2524 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระราชชนนีของพระองค์ ทรงกล่าวโดยนัยเปรียบเปรยพระราชโอรสผู้นี้ว่าทรงเหมือน[[ดอนฆวน]] ที่โปรดการใช้เวลาว่างสุดสัปดาห์ไปกับหญิงงามมากกว่าการประกอบพระราชกรณียกิจ<ref name="บีบีซีไทย"/><ref name="SSJ_siam_nikorn">{{cite news |first=Julia | last=Swenee |title=Sirikit of Thailand–a dedicated queen |publisher=Dallas Times Herald |location=Neiman marcus orientations fortnight, USA |language=en |date=1981-10-31|accessdate= 1981-11-14}}
ผ่าน {{Cite journal
|author=<!--Staff writer(s); no by-line.-->
|date=14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2524
|title=สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระราชทานสัมภาษณ์ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา
|url=http://www.mediafire.com/file/8ddg37675wjb2qo/Queen%27s+Dallas+Interview+1981.pdf
|magazine=สยามนิกร
|publisher=บริษัท สำนักพิมพ์อาทิตย์ จำกัด
|accessdate=December 3, 2016
}} ผ่าน {{cite web |url=https://www.facebook.com/somsakjeam/posts/1161954243857853 |title="My son, the Crown Prince, is a bit of a Don Juan." |last=Jeamteerasakul |first=Somsak |date=3 ธันวาคม 2016|language=th}}
</ref>
{{คำพูด
|''ฉันจำต้องจริงใจให้มาก ลูกชายของฉัน, มกุฎราชกุมารเป็น[[ดอนฆวน|ดอนฮวน]]บ้างเหมือนกัน เมื่อฉันให้สัมภาษณ์ฉันต้องแสดงความจริงใจ เขา (องค์มกุฎราชกุมาร) เป็นนักเรียนที่ดีเป็นลูกชายที่ดี บรรดาหญิงสาวต่างชื่นชอบในตัวเขา และเขาก็เป็นคนชอบผู้หญิงเสียด้วย ดังนั้นครอบครัวของเขาถึงไม่ราบรื่นนัก''<ref name="SSJ_siam_nikorn" /><ref>แปลจากต้นฉบับ "I have to be very frank. My son, the Crown Prince, is a little bit of Don Juan. If I give an interview I have to be frank. He is a good student, a good boy, but women find him interesting, and he finds women even more interesting. So, his family is not so smooth."</ref>}}
 
วันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2545 นิตยสาร ''ฟาร์อิสเทิร์นอีโคโนมิกรีวิว'' (Far Eastern Economic Review) ลงบทความว่า สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมารทรงมีความสัมพันธ์อย่างแนบแน่นกับพันตำรวจโท [[ทักษิณ ชินวัตร]] [[นายกรัฐมนตรีไทย|อดีตนายกรัฐมนตรี]]<ref>Duncan. McCargo, Media and Politics in Pacific Asia, page 146</ref> อย่างไรก็ดี ใน พ.ศ. 2553 หลังจากที่ พันตำรวจโท ทักษิณพ้นจากตำแหน่งไปโดยการรัฐประหารแล้ว พลเอก [[เปรม ติณสูลานนท์]] องคมนตรี ยอมรับว่า "...แน่นอนว่า เจ้าฟ้าชายยังทรงรักษาสัมพันธภาพบางอย่างกับอดีตนายกฯ ทักษิณเอาไว้ พระองค์ทรงพบกับทักษิณเป็นช่วง ๆ..."<ref>{{cite web
| url = http://www.guardian.co.uk/world/us-embassy-cables-documents/245161
| title = US embassy cables: Thai officials express concerns over crown prince
| date = 14 July 2011
| publisher = The Guardian
| language = English
| quote = Prem acknowledged Crown Prince Vajiralongkorn probably maintained some sort of relationship with fugitive former PM Thaksin, "seeing him from time to time."
}}</ref> วันที่ 12 ธันวาคม ปีเดียวกัน บิลาฮารี เคาสิกัน (Bilahari Kausikan) ข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศสิงคโปร์ แถลงว่า พระองค์ทรงติดการพนัน และมีอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ คอยสนับสนุนการเงินให้พระองค์<ref>{{cite news| url=http://www.smh.com.au/world/top-singapore-officials-trash-the-neighbours-20101211-18thg.html | work=The Sydney Morning Herald | first1=Philip | last1=Dorling | first2=Nick | last2=McKenzie | title=Top Singapore officials trash the neighbours | date=12 December 2010}}</ref> โอกาสเดียวกัน พลเอก เปรม เสริมว่า "...ทักษิณกำลังเสี่ยงที่จะทำลายตัวเอง เขาอาจคิดว่า เจ้าฟ้าชายจะทรงปฏิบัติกับเขาเหมือนดังเขาเป็นพระสหายหรือผู้สนับสนุน เพียงเพราะเขาส่งเสริมการเงินให้แก่พระองค์ แต่เจ้าฟ้าชายไม่ทรงชอบพระทัยความสัมพันธ์แบบนั้นสักเท่าไร"<ref>{{cite web
| url = http://www.guardian.co.uk/world/us-embassy-cables-documents/245161
| title = US embassy cables: Thai officials express concerns over crown prince
| date = 14 July 2011
| publisher = The Guardian
| language = English
| quote = Thaksin ran the risk of self-delusion if he thought that the Crown Prince would act as his friend/supporter in the future merely because of Thaksin's monetary support; "he does not enjoy that sort of relationship."
}}</ref>
 
ในปี พ.ศ. 2551 [[ราล์ฟ แอล.บอยซ์]] (Ralph L. Boyce) นักการทูตชาวสหรัฐอเมริกา รายงานต่อรัฐบาลสหรัฐอเมริกาว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูรเมื่อครั้งยังเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ เคยตรัสปฏิเสธกับเขา เกี่ยวกับข่าวที่พระองค์ทรงมีความสัมพันธ์กับ พันตำรวจโท ทักษิณ บอยซ์กล่าวว่า<ref>{{cite journal
|author=ธนาพล อิ่วสกุล; ชัยธวัช ตุลาฑล
|date=มกราคม-มีนาคม 2554
|title=การ "เปลี่ยนผ่าน" รัชสมัยในสถานการณ์เปลี่ยนผ่านการเมืองไทย
|journal=ฟ้าเดียวกัน
|issue=ปีที่ 9, ฉบับที่ 1
|pages=67
}}</ref>
 
<blockquote>"...[สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ทรง] เห็นเป็นเรื่องตลกร้าย ที่นายกรัฐมนตรีทักษิณสามารถทำตัวเป็นเผด็จการได้ ทั้งที่มาจากการเลือกตั้ง...ในช่วงแรก ๆ ของรัฐบาลทักษิณ ดูเหมือนเขาจะลงทุนอย่างหนักเพื่อสร้างความใกล้ชิดกับมกุฎราชกุมาร ทั้งสองมีเรื่องผิดใจกันอย่างสังเกตเห็นได้ในเวลาต่อมา เป็นเหตุให้มกุฎราชกุมารละทิ้งพระตำหนักนนทบุรี ที่ทักษิณซื้อและตกแต่งถวายให้ แล้วย้ายมาประทับ ณ วังศุโขทัยซึ่งตั้งอยู่ในย่านกลางเมือง</blockquote><blockquote>"มีเรื่องเล่ากันไปต่าง ๆ นานา เกี่ยวกับการพบปะระหว่างทักษิณกับมกุฎราชกุมาร เกี่ยวกับการพบปะระหว่างทักษิณกับมกุฎราชกุมาร ที่ลอนดอนเมื่อช่วงต้นปีนี้ [พ.ศ. 2551] ซึ่งเรื่องที่เราพิจารณาว่า น่าจะเป็นไปได้มากที่สุดคือ ทักษิณเข้าเฝ้ามกุฎราชกุมาร และเมื่อไม่ได้รับอนุญาต เขาจึงไปร่วมเข้าแถวรับเสด็จ ณ โรงแรมที่มกุฎราชกุมารประทับ และได้สนทนาอย่างไม่มีสาระสำคัญอะไร เพียงสี่สิบห้าวินาที"</blockquote>
 
อย่างไรก็ดี ผู้แปลโทรเลขดังกล่าวเป็นภาษาไทยในนิตยสาร ''ฟ้าเดียวกัน'' ระบุไว้ว่า “ความสำคัญของโทรเลขทูตที่เผยแพร่จากวิกิลีกส์จึงอาจจะไม่ใช่ข้อเท็จจริง ที่ส่งไปยังสหรัฐอเมริกา"<ref>{{cite journal
|author=ธนาพล อิ่วสกุล; ชัยธวัช ตุลาฑล
|date=มกราคม-มีนาคม 2554
|title=การ "เปลี่ยนผ่าน" รัชสมัยในสถานการณ์เปลี่ยนผ่านการเมืองไทย
|journal=ฟ้าเดียวกัน
|issue=ปีที่ 9, ฉบับที่ 1
|pages=57
}}</ref>
 
ปัญหาการสืบราชสันตติวงศ์ หลังจากรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ก็เป็นที่กล่าวถึงมากในสังคม นักวิชาการตั้งข้อสังเกตว่า ตัวแปรสำคัญในเรื่องนี้มีอยู่สามสิ่ง คือ องคมนตรี, กองทัพ และความเหมาะสมของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ<ref>{{cite journal
|author=ธนาพล อิ่วสกุล; ชัยธวัช ตุลาฑล
|date=มกราคม-มีนาคม 2554
|title=การ "เปลี่ยนผ่าน" รัชสมัยในสถานการณ์เปลี่ยนผ่านการเมืองไทย
|journal=ฟ้าเดียวกัน
|issue=ปีที่ 9, ฉบับที่ 1
|pages=54
}}</ref> ใน พ.ศ. 2545 นิตยสาร ''ดิอีโคโนมิสต์'' (The Economist) ลงข้อความว่า "ผู้คนเคารพเจ้าฟ้าชายวชิราลงกรณ์น้อยมาก (กว่ากษัตริย์ภูมิพล) ชาวกรุงเทพมหานครพากันร่ำลือเรื่องชีวิตส่วนพระองค์อันมัวหมอง...ไม่มีผู้สืบราชบัลลังก์พระองค์ใด จะประสบความสำเร็จอย่างที่กษัตริย์ภูมิพลทรงได้รับมา ในช่วงเวลาทรงราชย์หกสิบสี่ปี..." และรัฐบาลไทยได้สั่งห้ามจำหน่ายนิตยสารฉบับดังกล่าว ใน พ.ศ. 2553 ''ดิอีโคโนมิสต์'' ลงบทความว่า สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ นั้น "ทรงเป็นที่เดียดฉันท์และหวั่นเกรงอย่างกว้างขวาง" และ "ทรงผิดแปลกอย่างคาดไม่ถึง" และฉบับนี้ก็มิได้จำหน่ายในประเทศไทยเช่นกัน<ref>{{cite news| url=http://www.economist.com/opinion/displayStory.cfm?story_id=15718981&source=hptextfeature | work=The Economist | title=As father fades, his children fight | date=18 March 2010}}</ref> ครั้นวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2553 นิตยสารออนไลน์ ''เอเชียเซนทิเนล'' (Asia Sentinel) ลงว่า พระองค์ "ถือว่าทรงเอาแน่นอนไม่ได้ และทรงไม่สามารถปกครองได้โดยแท้"<ref>[http://www.asiasentinel.com/index.php?option=com_content&task=view&id=2377&Itemid=185 More Lèse majesté Charges in Thailand] Asia Sentinel, April 1, 2010</ref> เว็บไซต์นี้ถูกสกัดกั้นในประเทศไทยอย่างรวดเร็ว<ref>{{cite web |url=http://fromtheold.com/thailand-grenade-attacks-and-online-censorship-amid-mounting-political-tension-2010033017483.html |title=Thailand - Grenade attacks and online censorship amid mounting political tension |author=Fromtheold | archive-url=https://archive.fo/5EfyW |dead-url=yes |access-date=2017-05-17 |date=2010-03-30}}</ref> พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ และองคมนตรีคนอื่น ๆ มีความเห็นค่อนข้างลบ เกี่ยวกับสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ส่วน ราล์ฟ แอล.บอยซ์ นักการทูตชาวสหรัฐอเมริกา เคยรายงานต่อรัฐบาลของตนว่า "...[พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ] ดูอึดอัดพระทัยอย่างเห็นได้ชัด ต่อคำถามธรรมดา ๆ เกี่ยวกับเจ้าฟ้าสิรินธร ซึ่งถูกมองว่าเป็นคู่แข่งของมกุฎราชกุมาร..."<ref>{{cite journal
|author=ธนาพล อิ่วสกุล; ชัยธวัช ตุลาฑล
|date=มกราคม-มีนาคม 2554
|title=การ "เปลี่ยนผ่าน" รัชสมัยในสถานการณ์เปลี่ยนผ่านการเมืองไทย
|journal=ฟ้าเดียวกัน
|issue=ปีที่ 9, ฉบับที่ 1
|pages=56-57
}}</ref> ทั้งนี้ทั้งนั้น ตามกฎหมายไทยขณะนี้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ทรงไว้ซึ่งสิทธิที่จะสืบราชบัลลังก์โดยชอบ นับแต่ทรงได้รับสถาปนาเป็นมกุฎราชกุมาร เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2515 แล้ว<ref>{{cite journal
|author=ธนาพล อิ่วสกุล; ชัยธวัช ตุลาฑล
|date=มกราคม-มีนาคม 2554
|title=การ "เปลี่ยนผ่าน" รัชสมัยในสถานการณ์เปลี่ยนผ่านการเมืองไทย
|journal=ฟ้าเดียวกัน
|issue=ปีที่ 9, ฉบับที่ 1
|pages=59
}}</ref>
 
วันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2552 [[แฮร์รี นิโคไลดส์]] (Harry Nicolaides) ชาวออสเตรเลีย ถูกศาลไทยจำคุกสามปี เพราะเผยแพร่หนังสือวิพากษ์วิจารณ์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมารความตอนหนึ่งว่า "ถ้าเจ้าฟ้าชายทรงรักใคร่ชอบพออนุภรรยานางใด และต่อมาเธอทรยศพระองค์ เมื่อนั้นเธอและครอบครัวก็จะหายไปจากโลกนี้ สาบสูญไปทั้งชื่อเสียงเรียงนาม เทือกเถาเหล่ากอ และบรรดาเงื่อนเค้าร่องรอย เกี่ยวกับชีวิตของพวกเขาตลอดกาล" และต่อมา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานอภัยโทษให้เขา ต่อมาเขาให้สัมภาษณ์''ฮัฟฟิงตันโพสต์'' ว่าหนังสือดังกล่าวเป็นนวนิยายทั้งสิ้น<ref>{{cite web
| url = https://www.huffingtonpost.com/pauldailing/australianwriter-whoins_b_160153.html
| title = Australian Writer Who Insulted Thai Monarchy Shares Prison Cell With Child Molester, Weapons Dealer
| author = Paul Dailing
| authorlink =
| date = 22 Feb 2009
| publisher = huffpost
| language = English
}}</ref> <ref name=australian>[http://archive.is/4qSIy Thais detain Aussie writer], [[The Australian]], September 05, 2008</ref><ref name=scotsman>[http://news.scotsman.com/world/Thai-court-jails--Australian.4892023.jp Thai court jails Australian novelist for three years over royal 'insult'], [[The Scotsman]], January 19, 2009</ref><ref>[http://www.cnn.com/2009/WORLD/asiapcf/01/19/thai.jail/index.html?iref=topnews Author jailed for insulting Thai king], [[CNN]].com, January 19, 2009</ref>
 
พระองค์ทรงทราบปัญหา และข่าวที่กล่าวมาแล้วเป็นเบื้องต้น เป็นอย่างดี<ref>{{cite journal
|author=ธนาพล อิ่วสกุล; ชัยธวัช ตุลาฑล
|date=มกราคม-มีนาคม 2554
|title=การ "เปลี่ยนผ่าน" รัชสมัยในสถานการณ์เปลี่ยนผ่านการเมืองไทย
|journal=ฟ้าเดียวกัน
|issue=ปีที่ 9, ฉบับที่ 1
|pages=59-60
}}</ref> และเคยพระราชทานสัมภาษณ์ ในนิตยสาร ''[[ดิฉัน]]'' แก่ [[ปีย์ มาลากุล ณ อยุธยา]] ผู้ใกล้ชิดพระองค์ว่า<ref>{{cite journal
|author=ธนาพล อิ่วสกุล; ชัยธวัช ตุลาฑล
|date=15 สิงหาคม 2529
|journal=ดิฉัน
|pages=227
}}</ref>
 
<blockquote>''"บางทีในชาติปางก่อน เราอาจไม่ได้ทำบุญมากพอ หรือบางทีในบางครั้ง เราทำอะไรที่น่าตำหนิ เรายอมรับ...ถ้าหากสวรรค์คิดว่าเราไม่เหมาะสม หรือไม่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ ในการทำหน้าที่ของเรา ก็หยุดและจบ ถ้าท่านคิดได้อย่างนี้ ท่านก็จะสบายใจ ท่านไม่ได้คิดเป็นอะไร หากสวรรค์ให้ท่านมีภารกิจต่อแผ่นดิน ก็ยอมรับ ถ้าเขาไม่ต้องการให้ทำงาน ก็โอเค"''</blockquote>
วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2553 [[อีริก จี.จอห์น]] (Eric G. John) เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย รายงานไปยังรัฐบาลสหรัฐอเมริกาว่า เขาได้เปรยกับพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ว่า "เวลานี้ เจ้าฟ้าชายทรงอยู่ที่ใด" พลเอก เปรม ตอบว่า "คุณก็รู้ว่าทรงใช้ชีวิตส่วนพระองค์แบบไหน...เจ้าฟ้าชายพอพระทัยใช้เวลาลอบเสด็จไปยัง[[มิวนิก]] เพื่อประทับอยู่กับภรรยาเก็บของพระองค์ มากกว่าจะประทับอยู่ในประเทศไทย กับพระวรชายาและพระโอรส"<ref>{{cite web
| url = http://www.guardian.co.uk/world/us-embassy-cables-documents/245161
| title = US embassy cables: Thai officials express concerns over crown prince
| date = 15 December 2010
| publisher = The Guardian
| language = English
| date = 14 July 2011
| quote = Vajiralongkorn's preference to spend time based out of Munich with his main mistress, rather than in Thailand with his wife and son
}}</ref> พลอากาศเอก [[สิทธิ เศวตศิลา]] องคมนตรีที่ร่วมวงสนทนา กล่าวเสริมว่า "...ข่าวเรื่องเมียน้อยของพระองค์ที่เป็นแอร์โฮสเตส มีอยู่เต็มเว็บไซต์ไปหมด...น่าเศร้าที่เดี๋ยวนี้ ท่านทูตไทยที่เยอรมนี ต้องออกจากเบอร์ลินไปมิวนิก เพื่อไปเข้าเฝ้าพระองค์เป็นประจำ..."<ref>{{cite web
| url = http://www.guardian.co.uk/world/us-embassy-cables-documents/245161
| title = US embassy cables: Thai officials express concerns over crown prince
| date = 15 December 2010
| publisher = The Guardian
| language = English
| date = 14 July 2011
| quote = Information about his air hostess mistresses was widely available on websites; he lamented how his former aide, now Thai Ambassador to Germany, was forced to leave Berlin for Munich often to receive Vajiralongkorn.
}}</ref>
[[ไฟล์:Tutzing Villa Graf Stolberg.JPG|thumb|right|250px|พระตำหนัก “วิลล่า กราฟ ชโตลแบร์ก” ในเทศบาล[[ทุทซิง]] ประเทศเยอรมนี]]
 
=== การแอบอ้างพระนาม ===
ในปี พ.ศ. 2557 มีพระราชบัณฑูรให้มีการจับกุมและดำเนินคดีกับพลตำรวจเอก [[พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์]] ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ซึ่งมีศักดิ์เป็นญาติของท่านผู้หญิง [[ศรีรัศมิ์ สุวะดี]] อดีตพระวรชายาในพระองค์ ฐานแอบอ้างสถาบันเบื้องสูงเพื่อแสวงหาผลประโยชน์<ref>[https://www.bbc.com/thai/thailand-39176428 จากฟ้าสู่เหว ย้อนชีวิต “คนทำผิด” ใกล้ชิดเบื้องสูง] บีบีซีไทย. 6 มีนาคม 2017</ref> รวมไปถึงกฎหมายฟอกเงิน
 
=== หลังขึ้นทรงราชย์ ===
พระองค์มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศใช้พระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2560<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/075/1.PDF พระราชโองการ พระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2560] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔ ตอน ๗๕ ก หน้า ๑ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๖๐ </ref>
 
== ประสบการณ์ทางทหาร ==